ลักษณะการวางท่าของนก ของ ลักษณะการวางท่า

ท่า “นกกระทุงเสียสละ”

ลักษณะการวางท่าบางท่าก็ใช้สำหรับนก นกอินทรีมักจะเป็นท่า “กางปีก” (displayed) ในตราอาร์มรุ่นเก่าซึ่งทำให้กลายเป็นท่ามาตรฐานโดยไม่ต้องนิยาม ถ้าวางท่าอื่นจึงจะนิยาม ลักษณะการวางท่าหนึ่งที่แปลกและใช้เฉพาะนกนกเพลิแกนคือท่าที่เรียกว่า “นกกระทุงเสียสละ” (pelican in her piety) ซึ่งเป็นท่าที่ยกปีกและจิกอกตนเองเพื่อเลี้ยงลูกในรัง ท่านี้มีความหมายทางคริสต์ศาสนาและเป็นที่นิยมใช้กันเป็นสัญลักษณ์ในตราอาร์ม และแทบจะเป็นท่าเดียวที่ใช้สำหรับนกกระทุง[10] ในบางท่าจะมีแต่เพียงนกกระทุงเท่านั้นที่จิกอกตนเองโดยไม่มีลูก ท่านี้เรียกว่า “นกกระทุงจิกอก” (vulning herself) และ “นกกระทุงเลี้ยงลูก” (in her piety) ซึ่งเป็นท่านกกระทุงล้อมรอบด้วยลูกนกขณะที่กำลังเลี้ยงลูก[11]

คำที่ใช้บรรยายท่าของปีกนกก็มีด้วยกันหลายคำ แทนที่จะเป็นลักษณะการวางท่าของนกทั้งตัว นกส่วนใหญ่แล้วจะใช้ท่าต่างๆ ที่ได้แก่

  • “กางปีก” (wings displayed) เป็นท่าที่กางปีกออกไปจนสุดบริเวณตรา ปีกขวาจะกางไปข้างหน้า ปีกซ้ายจะกางไปข้างหลัง เพื่อให้เห็นใต้ปีกทั้งสองปีกได้อย่างชัดเจน
  • “กระพือปีก” (Wings addorsed) เป็นท่าที่ยกปีกขึ้นพร้อมที่จะบิน ฉะนั้นจึงเห็นตอนบนของปีกขวาของนกหลังปีกซ้ายที่กางเต็มที่
  • “ยกปีกขึ้น” (wings elevated) ยกปีกให้ปลายปีกชี้ขึ้น
  • “ยกปีกลง” (wings inverted) ยกปีกให้ปลายปีกชี้ลง
กางปีกยกขึ้นกางปีกยกลง

กางปีก

ท่า “กางปีก” (Displayed) เป็นท่าด้านตรง หัวหันไปทางขวาและปีกกางออกไปทั้งสองข้างจนเต็มผืนตรา เป็นที่มาตรฐานสำหรับนกอินทรี การใช้นกอินทรีท่านี้ใช้กันมาตั้งแต่โบราณตั้งแต่สมัยชาร์เลอมาญก่อนที่จะมีการจะใช้ตราอาร์ม[12]

ยกปีก

ท่า “ยกปีก” (Rising หรือ rousant) เป็นท่าที่หันไปทางขวา หัวยกขึ้นและยกปีกราวกับพร้อมที่จะบิน ปีกอาจจะนิยามว่า “กาง” (displayed) หรือ “กระพือ” (addorsed) และอาจจบรรยายต่อไปว่าขึ้น (elevated) หรือลง (inverted)

บิน

ท่า “บิน” (volant) เป็นท่าที่หันไปทางซ้ายกางปีกขณะที่บิน

พัก

ท่า “เกาะคอน” (trussed หรือ close หรือ perched) เป็นท่าพักหุบปีก

ยืนยาม

ท่า “ยืนยาม” (vigilant) เป็นท่ายืนขาเดียวที่ใช้กับนกกระสาหรือนกที่คล้ายกัน

  • นกอินทรี “กางปีกยกขึ้น”
  • ฟีนิกซ์ “ยกปีกขึ้น”
  • นกพิราบ “บิน”
  • นกกระสา “ยืนยาม”