ลักษณะการวางท่าอื่นๆ ของ ลักษณะการวางท่า

นอกจากคำต่างๆ ที่กล่าวข้างต้นแล้วก็ยังมีคำอื่นๆ ที่ใช้ในการบรรยายลักษณะการวางท่าอื่นๆ สำหรับสัตว์อื่นด้วย เช่นคำว่า “glissant” หรือ “nowed” ที่ใช้สำหรับ serpent

กางปีกผงาด

ท่า “กางปีกผงาด” (segreant) จะเป็นท่าที่ขาหน้าสองขายกขึ้นในท่า “ยืนผงาด” โดยยกปีกขึ้น คำนี้ใช้เฉพาะสัตว์สี่ขาที่มีปีกเช่นกริฟฟิน และมังกร

ต่อสู้

ท่า “ต่อสู้” (Combatant) เป็นท่าด้านข้างของสัตว์สองตัวหันหน้าเข้าหากันในท่า “ยืนผงาด” หรือ “กางปีกผงาด” ท่านี้ใช้ได้สำหรับสัตว์ทุกชนิด แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้กับสัตว์ที่ดุร้ายหรือสัตว์ในวรรณคดี จะเป็นท่าที่ไม่ใช้กับสัตว์ที่มีเพียงตัวเดียว

หันออกจากกัน

ท่า “หันออกจากกัน” (addorsed หรือ endorsed) เป็นสัตว์สองตัวหันหลังจากกัน เช่นเดียวกับท่า “ต่อสู้” จะเป็นท่าที่ไม่ใช้กับสัตว์ที่มีเพียงตัวเดียว ท่านี้มักจะใช้กับปลา แต่ก็อาจจะใช้กับสัตว์ใดก็ได้ที่หันหลังจากกัน หรือบางครั้งก็อาจจะเป็นกุญแจในท่า “หันออกจากกัน”

ว่ายน้ำ

ท่า “ว่ายน้ำ” (Naiant) ท่านี้มักจะใช้กับปลาในท่าราบ (ไม่ใช่ “ปลายืน”) แต่อาจจะใช้กับสัตว์ทะเล หรือบางครั้งก็อาจจะใช้กับนกน้ำเช่น หงส์ เป็ด หรือห่านก็ได้

ปลายืน

ท่า “ปลายืน” (Hauriant) เป็นท่าตั้งของปลา, โลมา หรือสัตว์ทะเลอื่นๆ

เลื้อย

ท่า “เลื้อย” (Glissant) เป็นท่าที่ใช้กับงู (serpent)

  • กริฟฟิน “กางปีกผงาด”
  • สิงโต “ต่อสู้”
  • ปลาบาร์เบล “หันออกจากกัน”
  • โลมา “ว่ายน้ำ”

ลักษณะหาง

หางของสัตว์เช่นสิงโต มังกร หรือสัตว์อื่นๆ มีหลายลักษณะที่รวมทั้ง

  • “หางปม” (Nowed)
  • “หางแฉก” (forked tail)
  • “หางไขว้” (Crossed tail)
  • “หางบิด” (Crossed tail reverse)

ท่า “หางปม” (Nowed) Serpents, and often the tail of a lion, dragon, or other beast, is often nowed, or knotted, usually into a figure 8 pattern.

  • สิงโต “หางปม”
  • สิงโต “หางแฉก”
  • สิงโต “หางไขว้”
  • สิงโต “หางบิด”