ลักษณะการวางท่าของสัตว์ ของ ลักษณะการวางท่า

ลักษณะการวางท่าบางลักษณะก็เหมาะกับท่าทางของสัตว์ล่าเหยื่อและบางท่าก็จะเป็นท่าสำหรับสัตว์ที่เชื่อง สิ่งที่น่าสังเกตคือนอกจากการวางท่าทั้งตัวของสัตว์เช่นสิงโตหรือสัตว์ที่ดุร้ายชนิดอื่นแล้วก็อาจจะระบุการวางท่าของหัวสัตว์ สีของส่วนต่างของร่างกายหรืออวัยวะ (เช่นฟัน, เขี้ยว, ลิ้น และอื่นๆ) หรือลักษณะและท่าของหางด้วย สัตว์อาจจะมี “มีเขี้ยวเล็บ” (armed เช่นมีเขา, ฟัน และกรงเล็บ) หรือมี “มีลิ้น” (langued) ที่เป็นสีที่แตกต่างจากสีตัว ขณะที่กวางอาจจะ “มีเขา” (attired) หรือ “มีกีบ” (hooves) ที่เป็นสีที่แตกต่างจากสีตัว สิงโตหรือสัตว์ที่ดุร้าย “ท่าขลาด” (coward) ก็จะเป็นท่าที่เอาหางซ่อนไว้ระหว่างขาหลัง[1] หรือบางครั้งหางก็อาจจะเป็น “หางปม” (nowed), “หางแฉก” (queue fourchée) หรือ “สองหาง” (double-queued) เช่นตราของราชอาณาจักรโบฮีเมียที่ใช้สิงห์หางแฉก

ยืนผงาด

“ยืนผงาด” (Rampant) มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่าว่า “ยกขึ้น” ) เป็นท่าที่พบบ่อยที่สุด เป็นท่ายืนตรงหันข้างยกขาหน้า[2] ตำแหน่งของขาหลังของท่านี้ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่น บางท่าก็จะยืนกางขาห่างกันบนสองเท้าหลัง หรือยืนบนขาเดียว อีกขาหนึ่งยกขึ้นพร้อมที่จะตะปบ คำว่า “rampant” บางครั้งก็อาจจะไม่ใช้ โดยเฉพาะในนิยามของตราในสมัยต้นๆ เพราะเป็นท่าที่ใช้กันเป็นปกติ
ข้อสังเกต: บางครั้งท่านี้ก็เรียกว่า “segreant” แต่เป็นท่าเดียวกับที่ใช้สำหรับกริฟฟินและมังกร[3] เพราะความที่ท่ายืนผงาดเป็นท่าที่ใช้บ่อยที่สุด ประคองข้างแทบทั้งหมดจึงเป็นท่าที่ว่านี้

  • สิงห์ยืนผงาด
  • สิงห์ยืนผงาดหันหน้า
  • สิงห์ยืนผงาดเอี้ยวคอ

ยืนยกเท้าหน้า หรือ ยุรยาตรยกเท้าหน้า

“ยืนยกเท้าหน้า” หรือ “ยุรยาตรยกเท้าหน้า” (Passant) มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่าว่า “striding” หรือ “ยุรยาตร” ท่านี้จะเป็นท่าที่สัตว์เดินหันข้างไปทางขวาของผู้ชมตรา โดยยกขาขวา อีกสามขาอยู่บนพื้น[4] “สิงโตของอังกฤษ” เป็นสิงโตที่มีคำนิยามว่า “สิงห์ยืนยกเท้าหน้าสีทอง” (lion passant guardant Or) ที่เป็นสัญลักษณ์ที่มาเพิ่มเติมเพื่อเกียรติยศ (Augmentation of honour) [4] ถ้าเป็นกวางและสัตว์คล้ายกวางที่วางท่าเดียวกันนี้ก็จะใช้คำว่า “trippant” แทนที่คำว่า “Passant” สิ่งที่น่าสนใจคือสิงโตที่เดินในท่านี้ของฝรั่งเศสจะเรียกว่า “เสือดาว” แต่ก็เป็นการเรียกที่ทำให้เกิดข้อขัดแย้ง[5]

  • สิงโตยุรยาตรยกเท้าหน้า
  • สิงโตยุรยาตรยกเท้าหน้าหันหน้า
  • สิงโตยุรยาตรยกเท้าหน้าเอี้ยวคอ

นั่ง

“นั่ง” (sejant หรือ sejeant) มาจากภาษาฝรั่งเศสสมัยกลางว่า “seant” หรือ “นั่ง” จะเป็นท่านั่งหรือหมอบโดยขาหน้าสองขาอยู่บนพื้น[6]

ถ้าสัตว์ “นั่งยกเท้าหน้า” (Sejant erect) ก็จะเป็นท่านั่งหรือหมอบแต่ร่างจะตรงและขาหน้าสองขาจะยกในท่าเดียวกับท่า “ผงาด” ที่ทำให้บางครั้งก็เรียกว่า “นั่งยกเท้าหน้าผงาด” (sejant-rampant)[6]

  • สิงโตนั่ง
  • สิงโตนั่งยกเท้าหน้า

ตีลังกา

ถ้าสัตว์ “ตีลังกา” (cadent) (ภาษาลาติน: cadēns, "ล้ม") ก็จะเป็นท่าคว่ำโดยเฉพาะเมื่อใช้ในการประคองโล่ ท่านี้มักจะใช้กับวาฬ, โลมา และปลาอื่นๆ ถ้าสัตว์หันไปทางซ้ายก็จะเรียกว่า “ตีลังกาขวา” (cadent dexter) ถ้าสัตว์หันไปทางขวาก็จะเรียกว่า “ตีลังกาซ้าย” (cadent sinister)

นอนสง่า

“นอนสง่า” (couchant) มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่าว่า “นอน” เป็นท่านอนหมอบแต่ยกหัว[7] แต่ถ้าเป็นสัตว์ที่ไม่ดุร้ายก็จะใช้คำว่า “Lodged” แทนคำว่า “couchant”

วิ่ง

“วิ่ง” หรือ “วิ่งไล่” (courant หรือ at speed หรือ in full chase) เป็นท่าวิ่งอย่างเต็มที่โดยที่ขาทั้งสี่ลอยจากพื้น

  • สิงโตตีลังกา
  • สิงโตนอนสง่า
  • สิงโตวิ่ง

หลับ

ถ้าสัตว์ “หลับ” (salient) (ภาษาฝรั่งเศสเก่า: หลับ") ก็จะเป็นท่านอนตาหลับและซบหัวบนอุ้งเท้าหน้าเหมือนกับนอนหลับ[7] “Dormant erect” มีความหมายเดียวกับ “นอนสง่า”

กระโจน

ถ้าสัตว์ “กระโจน” (Salient หรือ springing) (ภาษาลาติน: saliēns, "กระโจน") ก็จะเป็นท่ากระโดดโดยที่ขาสองขาหลังยังอยู่บนพื้น และขาหน้ายกขึ้น[8] เป็นท่าที่ไม่ค่อยใช้กับสิงโต[8] แต่จะใช้กับสัตว์อื่นๆ ถ้าเป็นกวางและสัตว์ที่ไม่ดุร้ายก็จะใช้คำว่า “springing” แทนที่

  • สิงโตหลับ
  • สิงโตกระโจน

ยืน / ยุรยาตร

“ยืน” / “ยุรยาตร” (statant) (ภาษาฝรั่งเศสเก่า: "ยืน") เป็นท่ายืนด้านข้างหันไปทางขวา ขาทั้งสี่อยู่บนพื้น และขาหน้าสองขามักจะชิดกัน[9] ท่านี้มักจะใช้กับเครื่องยอดมากกว่าที่จะเป็นเครื่องหมายบนโล่[8] สำหรับสัตว์บางชนิดเช่นหมี ก็จะเป็นที่ยืนเต็มตัวด้วยขาหลังสองขาที่อาจจะเรียกว่า “ยืนตรง” (statant erect) ถ้าเป็นสัตว์ที่ไม่ดุร้ายก็จะใช้คำว่า “at bay” แทนที่ แต่ถ้าเป็นท่า “ยืนตรงหันหน้า” (statant guardant) ก็จะใช้คำว่า “at gaze”

  • ยืน / ยุรยาตร
  • ยืนตรงหันหน้า