วงกตโบราณ ของ ลายวงกต

ใน “สารานุกรมธรรมชาติวิทยา” (Naturalis Historia) พลินิกล่าวถึงวงกตสี่ประเภท: วงกตครีต, วงกตอียิปต์, วงกตเล็มนอส และ วงกตอิตาลี

“Labyrinth” เป็นคำที่มาก่อนภาษากรีก (ภาษาพาลาสเจียน) ที่นำเข้ามาใช้ในภาษากรีกคลาสสิกที่อาจจะมีความสัมพันธ์กับคำจากภาษาลิเดียว่า ว่า “Labrys” (“ขวานลาบริส” หรือขวานสองคมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจซึ่งตรงกับทฤษฎีที่ว่าวงกตเดิมเป็นพระราชวังมิโนอันบนเกาะครีต และ แปลว่า “พระราชวังแห่งขวานสองคม”) สมาสกับคำว่า “-inthos” ที่แปลว่า “สถานที่” (เช่น “โครินธ์”) กลุ่มพระราชวังแห่งคนอสซอสบนเกาะครีตมักจะได้รับการกล่าวถึง แต่ลานเต้นรำที่เป็นลวดลายวงกตจริงยังไม่พบ แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ผู้ที่ไปเยี่ยมชมก็จะได้รับการชี้ให้ดูสิ่งที่กล่าวกันว่าเป็นวงกตแห่งคนอสซอส (ฟิลอสทราทอส, Apollonii Tyanei iv.34).[6]

ตามตำนานเทพเจ้ากรีกมิได้กล่าวถึงสตรีที่พำนักอยู่ในวงกตในครีต แต่ศิลาที่จารึกเป็นอักษรไลเนียร์บีที่พบที่คนอสซอสบันทึกถึงของขวัญ “แด่ทวยเทพถวายน้ำผึ้ง; แต่เทพีแห่งวงกตถวายน้ำผึ้ง” ซึ่งก็หมายความว่าเทพทั้งหมดรวมกันแล้วก็ได้รับน้ำผึ้งเท่ากับเทพีแห่งแห่งวงกตเพียงองค์เดียว นักเทพวิทยาเคโรลี เคอเรนยี (Károly Kerényi) ตั้งข้อสังเกตว่า “เทพีแห่งวงกตน้ำผึ้งคงจะต้องเป็นเทพผู้มีความสำคัญเป็นอันมาก”[7]

วงกตของกรีกเป็นลวดลายวกวนอันไม่มีที่สิ้นสุดของลวดลายที่กันในปัจจุบันว่า “ลายกุญแจกรีก[8] (Meander) ในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช เหรียญกษาปณ์จากคนอสซอสก็ยังคงใช้ลวดลายวงกตบนเหรียญ ลวดลายวงกตที่นิยมใช้ตั้งแต่ช่วงเวลานี้เป็นลายวงกตเจ็ดชั้นที่กันว่า “วงกตคลาสสิก”

ต่อมาคำว่า “Labyrinth” นำมาใช้ในการเรียกวงกตวกวนทางเดี่ยวไม่ว่าจะเป็นทรงกลมหรือทรงสี่เหลี่ยม เมื่อถึงศูนย์กลางทางที่เส้นทางนำเข้าไปแล้วก็จะเป็นเส้นทางที่นำออกมาจากวงอีก ในบทสนทนาโสกราตีสที่เพลโตเขียนใน “บทสนทนายูธีเดมัส” (Euthydemus) โสกราตีส บรรยายการโต้แย้งตรรกศาสตร์เส้นวงกตว่า:

และแล้วก็ดูเหมือนว่าเราตกอยู่ภายในวงกต: เราคิดว่าเราถึงจุดจบ, แต่เส้นทางของเราหันโค้งและเราพบว่าตนเองกลับไปตั้งต้นที่จุดเริ่มต้นใหม่, และไกลจากจุดที่เราพยายามหาหนทางที่จะไปให้ถึงตั้งแต่แรก

... ฉะนั้นความคิดเกี่ยวกับวงกตในปัจจุบันว่าเป็นสถานที่ที่เราสามารถหลงทางได้ก็ตัองพักเอาไว้ทางหนึ่ง [วงกต]คือเส้นทางที่ทำให้สับสน, ตามได้ยากโดยไม่มีสายด้าย, แต่ถ้า[ผู้เดินทาง]ไม่เสียทีไปเสียก่อนกลางทาง, ก็จะแน่นอนว่าแม้ว่าจะเป็นเส้นทางวกวนเวียน, ก็จะนำไปสู่จุดที่เริ่มต้นได้[9]

วงกตครีตที่คนอสซอส

วงกตครีตที่คนอสซอสเป็นสิ่งที่สานพันอย่างลึกล้ำในตำนาน แต่ก็ปรากฏอย่างแจ่มแจ้งในหลักฐานทางโบราณคดีในรูปแบบของวงกตยุคสัมริดขนาดใหญ่ที่คนอสซอส การสร้างวงกตเป็นลานเต้นรำและสำหรับอารีอัดเนไม่ไช่สำหรับไมนอสได้รับการบรรยายโดยโฮเมอร์ใน “อีเลียด” xviii.590–593 ในรูปของลวดลายที่เฮเฟียทัสจารึกบนเกราะของอคิลลีส ที่เป็นภาพของลานเต้นรำ “เช่นเดียวกับลานที่เดดาลัสออกแบบในเมืองอันกว้างใหญ่แห่งคนอสซอสสำหรับอารีอัดเน...” และบรรยายต่อไปถึงการเต้นรำวงกตบนเกราะว่าเมื่อ “หนุ่มสาวเมื่อถึงวัยสมรสจะเต้นรำกันบนลานนี้โดยการจับข้อมือต่อๆ กัน...เต้นเวียนประสานจังหวะกับเท้าเหมือนกับเต้นรอบแป้นหมุนสำหรับปั้นหม้อ...และจะเต้นจนกระทั่งแถวต่างๆ ที่เต้นเข้าไปหากันและกัน”

วงกตอียิปต์ของเฮโรโดทัส

วงกตอาจจะใช้กับลักษณะสิ่งที่ซับซ้อนที่คล้ายกับโครงสร้างของวงกตปริศนาได้ เฮโรโดทัสใน “ประวัติศาสตร์” (Histories) เล่มสองบรรยายกลุ่มสิ่งก่อสร้างวงกตในอียิปต์ไว้ว่า “ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองที่เรียกว่าโครโคดิโบโพลิส (เมืองจระเข้)” ที่เฮโรโดทัสมีความเห็นว่ามีความซับซ้อนยิ่งไปกว่าการสร้างพีระมิดเสียอีก:

[วงกต]มีลานคลุมสิบสองลาน — หกลานเป็นแถวที่หันไปทางเหนือ, หกลานไปทางใต้ — ประตูของลานหนึ่งตั้งตรงกับประตูของลานถัดไป ภายในเป็นสิ่งก่อสร้างสองชั้นที่มีห้องหับสามพันห้อง, ครึ่งหนึ่งอยู่ใต้ดิน, และอีกครึ่งหนึ่งตั้งอยู่เหนือชั้นใต้ดินโดยตรง ข้าพเจ้าถูกนำเดินทะลุไปตามห้องชั้นบน, ฉะนั้นสิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงเป็นสิ่งที่ได้ทำการสังเกตด้วยตนเอง, แต่สำหรับห้องใต้ดินนั้นข้าพเจ้าบรรยายได้แต่จากรายงานเพราะเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลชาวอียิปต์ไม่ยอมอนุญาตให้ข้าพเจ้าได้เข้าชม, เพราะเป็นสถานที่ที่ใช้ในการบรรจุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงสร้างวงกต, และเป็นที่เก็บศพของจระเข้อันศักดิ์สิทธิ์ แต่ห้องชั้นบนข้าพเจ้าได้มีโอกาสเห็นด้วยตนเองจริง, และเป็นการยากที่จะเชื่อว่าเป็นงานที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์; ทางผ่านอันละเอียดและน่าตลึงงันจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่ง และจากลานหนึ่งไปยังอีกลานหนึ่งเป็นทางที่ไม่จบไม่สิ้นอันน่าทึ่งสำหรับข้าพเจ้า เมื่อเราผ่านจากลานเข้าไปยังห้อง, จากห้องเข้าไปยังระเบียง, จากระเบียงเข้าไปยังห้องอีก และ ต่อไปเรื่อยๆ ยังลานอีก ผนังที่ผ่านก็เต็มไปด้วยรูปสลัก, และแต่ละลานก็สร้างอย่างวิจิตรด้วยหินอ่อนขาวเรียงรายล้อมรอบด้วยแนวเสา[10]

ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็มีการขุดพบวงกตที่ยังคงเหลืออยู่ที่ยาว 11.5 ไมล์ตั้งแต่พีระมิดฮาวาราในจังหวัดไฟยุม[11] วงกตคงจะได้รับการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมในสมัยต่อมา ภายในก็มีพระนามของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ พระนามที่เก่าที่สุดเป็นของฟาโรห์อเมเนมฮัตที่ 3[11] “เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นที่จะต้องกล่าวว่าไม่แต่จะเป็นงานชิ้นใหญ่อันสำคัญ แต่ยังเป็นงานที่เป็นอนุสรณ์แก่พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ของอียิปต์ด้วย”[11]

ในปี ค.ศ. 1898 “พจนานุกรมฮาร์เพอร์คลาสสิกโบราณ” (Harpers Dictionary of Classical Antiquities) บรรยายวงกตอียิปต์ว่าเป็น “ศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาศาสนสถานต่างๆ ในอียิปต์, ที่เรียกกันว่า “วงกต”, ซึ่งยังคงเหลือแต่ฐานที่ได้การอนุรักษ์อยู่”[12]

วงกตเล็มนอสของพลินิ

หนังสือ “สารานุกรมธรรมชาติวิทยา” (Naturalis Historia) (36.90) กล่าวถึงประติมากรกรีกสมิลิสว่าเป็นผู้มีชีวิตอยู่ในสมัยเดียวกันกับเดดาลัส และ กับสถาปนิกและประติมากรรอยคอส (Rhoikos) และ ธีโอโดรอส (Theodoros) สองคนที่กล่าวกันว่าเป็นผู้สร้างวงกตเล็มนอส (Lemnian labyrinth) ซึ่งแอนดรูว์ สจวต[13] กล่าวว่าเป็น “สาเหตุของความเข้าใจผิดของที่ตั้งของศาสนสถานเซเมียน en limnais (ในเชิงเลน)”

วงกตอิตาลีของพลินิ

ตามบทเขียนของพลินิ ที่บรรจุศพของขุนพบอีทรัสคันลาร์ส พอร์เซนาประกอบด้วยวงกตปริศนาใต้ดิน คำบรรยายของพลินิของส่วนที่เข้าไปได้ของที่บรรจุศพเป็นที่ที่หาทางเข้าไม่ได้ พลินิดูเหมือนจะไม่ได้ตรวจสอบโครงสร้างด้วยตนเอง แต่บรรยายจากบทเขียนของนักประวัติศาสตร์โรมันมาร์คัส เทเรนเชียส วาร์โร

วงกตโบราณนอกยุโรป

งานแกะสลักเป็นภาพนักรบ Abhimanyu เข้า chakravyuha – Hoysaleswara temple ที่ Halebidu ในอินเดีย

ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่มีวงกตกรีก ลวดลายวงกตก็ปรากฏในวัฒนธรรมของกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐอเมริกา, ในวงกตของโทโฮโน อูแดมที่เป็นลวดลายของ “ลิตอย” (I'itoi) หรือ “คนในวงกต” วงกตของโทโฮโน อูแดมมีลักษณะสองอย่างที่แตกต่างจากวงกตกรีก ตรงที่เป็นลายที่กระจายออกจากศูนย์กลางเป็นลักษณะรัศมี และทางเข้าจะอยู่ตอนบน ซึ่งของกรีกจะอยู่ตอนล่าง

ลายสลักหิน (Petroglyph) จากสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ปรากฏตามริมฝั่งแม่น้ำที่กัวก็มีลวดลายที่สร้างมาตั้งแต่ราว 2500 ก่อนคริสต์ศักราช ตัวอย่างอื่นที่พบก็ได้แก่ศิลปะในถ้ำทางตอนเหนือของอินเดีย และเพิงหินในบริเวณเทือกเขานิลคีรีที่ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่นอนว่าสร้างขึ้นเมื่อใด วงกตสมัยแรกในอินเดียมีลักษณะเดียวกับ “วงกตคลาสสิก” บางวงกตก็ได้รับการบรรยายว่าเป็นผังสำหรับป้อม หรือ เมือง. ปัทมยุทธวงกตปรากฏในงานบันทึกลายลักษณ์อักษรและในวัชรยานตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ที่มักจะเรียกว่า “จักรยุทธ” (Chakravyuha) ที่หมายถึงการจัดกองทัพให้ฝ่ายศัตรูไม่สามารถฝ่าเข้ามาได้ในมหากาพย์มหาภารตะ ลงกาซึ่งเป็นเมืองในรามเกียรติ์ก็ได้รับการบรรยายว่ามีลักษณะเป็นวงกตในฉบับที่แปลในปี ค.ศ. 1910 ใน “อินเดีย” โดยอบู เรย์ฮัน บิรูนี[14]

นอกจากนั้นที่หมู่เกาะโซโลเวทสกีในทะเลขาวก็มีวงกตหินกว่า 30 วงที่ได้รับการอนุรักษ์เอาไว้ ที่เด่นที่สุดคือวงกตหินบนเกาะบอลชอยซายัทสกี ซึ่งเป็นกลุ่มวงกตสิบสามสิบสี่วงกตในบริเวณ .4 ตารางกิโลเมตรบนเกาะเล็กๆ เกาะหนึ่ง ที่เชื่อกันว่ามีอายุเก่าแก่ราว 2,000 ถึง 3,000 ปีมาแล้ว[15]

ใกล้เคียง