เดือนกันยายน ของ ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง_(1939)

  • 1: การบุกครองโปแลนด์โดยนาซีเยอรมนี เริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา 4.45 น. ลุฟท์วัฟเฟอโจมตีเป้าหมายหลายแห่งในโปแลนด์ ลุฟท์วัฟเฟอเปิดฉากโจมตีทางอากาศต่อการ์กุฟ วูชและกรุงวอร์ซอ ภายในห้านาทีของการโจมตี กองทัพเรือเยอรมัน (ครีกซมารีเนอ) สั่งการให้เรือประจัญบานชเลซวิก-โฮลสไทน์อันเก่าแก่เปิดฉากยิงคลังพัสดุขนส่งทางทหารของโปแลนด์ที่เวสเทอร์เพลท (Westerplatte) ในนครเสรีดันซิก แต่การเข้าตีนี้ถูกขับกลับไป เมื่อถึงเวลา 8.00 น. กองทัพบกเยอรมัน (เวร์มัคท์เฮร์) เปิดฉากโจมตีใกล้กับเมืองม็อกรา (Mokra) ของโปแลนด์ ขณะที่ยังไม่มีการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ
  • 1: เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์และฟินแลนด์ประกาศวางตัวเป็นกลางในสงคราม
  • 1: รัฐบาลอังกฤษประกาศระดมพล และเริ่มแผนอพยพเตรียมรับมือการเข้าตีทางอากาศของเยอรมนี
  • 2: สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสยื่นคำขาดร่วมต่อเยอรมนี ให้ส่งทหารกลับจากดินแดนโปแลนด์; ผู้เผด็จการอิตาลี เบนิโต มุสโสลินีประกาศว่าวางตัวเป็นกลาง ฝ่ายสาธารณรัฐไอร์แลนด์ก็ประกาศว่าตนเป็นกลางเช่นกัน; รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ประกาศระดมพล
  • 2: นครเสรีดันซิกถูกผนวกรวมกับเยอรมนี
  • 2: พระราชบัญญัติรับราชการทหาร ค.ศ. 1939 มีผลใช้บังคับทันที และเกณฑ์ชายทุกคนซึ่งมีอายุระหว่าง 18-41 ปี และพำนักอยู่ในสหราชอาณาจักร
  • 3: เมื่อเวลา 11.15 น. ตามเวลามาตรฐานอังกฤษ เนวิลล์ เชมเบอร์แลนด์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ประกาศทางสถานีวิทยุบีบีซีว่าเส้นตายที่กำหนดให้เยอรมนีถอนตัวออกจากโปแลนด์ได้สิ้นสุดลงเมื่อ 11.00 น. และกล่าวว่า "เพราะฉะนั้น ชาตินี้จึงอยู่ในภาวะสงครามกับเยอรมนี" ออสเตรเลีย อินเดียและนิวซีแลนด์ก็ประกาศสงครามกับเยอรมนีในไม่กี่ชั่วโมงหลังการประกาศสงครามของอังกฤษ
  • 3: เมื่อเวลา 12.30 น. ตามเวลามาตรฐานอังกฤษ รัฐบาลฝรั่งเศสยื่นคำขาดสุดท้ายคล้ายกัน ซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อเวลา 15.00 น. ตามเวลามาตรฐานอังกฤษ
  • 3: เรือเดินสมุทร แอดเบนเนีย (Atbenia) ถูกเรือดำน้ำ อู-30 ของเยอรมนีจม เพราะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเรือช่วยตรวจการของอังกฤษ มีผู้เสียชีวิต 112 ราย
  • 4: เมื่อเวลา 8.00 น. ตามเวลามาตรฐานนิวฟันด์แลนด์ ประเทศในเครือจักรภพนิวฟันแลนด์ (Dominion of Newfoundland) ประกาศสงครามกับเยอรมนี
  • 4: ในการปฏิบัติเชิงรุกครั้งแรกของอังกฤษในสงคราม กองทัพอากาศเปิดฉากตีโฉบฉวยกองเรือเยอรมันในอ่าวเฮลิโกแลนด์ โดยมุ่งเป้าไปยังเรือประจัญบานขนาดเล็ก (pocket-battleship) อัดมีรัลเชร์ ที่ทอดสมออยู่นอกวิลเฮล์มชาเวนที่ตะวันตกสุดของคลองคีล อากาศยานหลายลำสูญหายไปในการเข้าตีนี้ และ แม้เรือจะถูกยิงสามครั้ง แต่ระเบิดทุกลูกไม่ระเบิด
  • 4: ญี่ปุ่นประกาศวางตัวเป็นกลางต่อสถานการณ์ในทวีปยุโรป ฝ่ายกระทรวงกองทัพเรืออังกฤษประกาศเริ่มต้นการปิดล้อมทางทะเลต่อเยอรมนี เป็นหนึ่งในหลายมาตรการที่อังกฤษดำเนินการสงครามเศรษฐกิจต่อฝ่ายอักษะ
  • 4: สหรัฐอเมริกาเริ่มการลาดตระเวนความเป็นกลาง
  • 5: นายกรัฐมนตรีแอฟริกาใต้ แบร์รี่ เฮอร์ซอก ล้มเหลวในการหาเสียงสนับสุนในการประกาศวางตัวเป็นกลาง และถูกปลดโดยการประชุมลับของพรรคการเมือง และแทนที่ด้วยรองนายกรัฐมนตรีแจน สมุทส์
  • 5: สหรัฐอเมริกาประกาศวางตัวเป็นกลางต่อสาธารณะ
  • 6: แอฟริกาใต้ประกาศสงครามกับเยอรมนี
  • 6: กองทัพเยอรมนียึดเมืองการ์กุฟ ทางตอนใต้ของโปแลนด์ กองทัพโปแลนด์ล่าถอยครั้งใหญ่
  • 7: ฝรั่งเศสเริ่มการรุกพอเป็นพิธี โดยเคลื่อนเข้าไปในดินแดนของเยอรมนีใกล้กับซาร์บรือเคน
  • 7: สหราชอาณาจักรผ่านพระราชบัญญัติว่าด้วยการขึ้นทะเบียนแห่งชาติ เริ่มใช้บัตรประชาชน รัฐบาลมีอำนาจในการควบคุมแรงงาน
  • 8: สหราชอาณาจักรนำระบบขบวนเรือในความคุ้มกัน (convoy) กลับมาใช้ใหม่กับเรือพาณิชย์ และปิดล้อมการเดินเรือของเยอรมนีเต็มขั้น
  • 8: รัฐบาลสหราชอาณาจักรประกาศระบบคุ้มกันเรือพาณิชย์อีกครั้ง และกีดกันเรือสินค้าของเยอรมนีอย่างเต็มที่
  • 8: กองพลที่ 10 แห่งเยอรมนี ภายใต้การนำของนายพลวอลเทอร์ วอน ไรเชนนาว รุกคืบถึงขอบกรุงวอร์ซอว์ของโปแลนด์ กองพลที่ 14 โดยนายพลวิลเฮล์ม ลิสท์รุกถึงแม่น้ำซาน และกองพันแพนเซอร์ของนายพลไฮนส์ กูเดอเรี่ยน รุกถึงแม่น้ำบั๊ก ทางตะวันออกของกรุงวอร์ซอว์
  • 9: การรุกซาร์ลันท์ของฝรั่งเศสหยุดชะงักที่ป่าวาร์นดท์ที่มีการวางทุ่นระเบิดหนาแน่น หลังรุกเข้าไปในดินแดนเยอรมนีที่มีการป้องกันเบาบาง 8 ไมล์
  • 10: แคนาดาประกาศสงครามกับเยอรมนี
  • 10: กองทัพหลักของอังกฤษยกพลขึ้นบกที่ฝรั่งเศสเพื่อช่วยรบต่อต้านเยอรมนี นำโดย นายพล ลอร์ด โกร์ท มีจำนวนทหาร 160,000 นาย พร้อมยานพาหนะ 24,000 คัน
  • 11: ผู้สำเร็จราชการอินเดีย ลอร์ดลินลิธโกว์ ประกาศต่อสภานิติบัญญัติทั้งสองของอินเดีย (สภาแห่งรัฐและสภานิติบัญญัติ) ว่าเนื่องจากการเข้าร่วมสงคราม การวางแผนการจัดตั้งสหพันธรัฐอินเดียจึงถูกเลื่อนออกไป
  • 12: พลเอกเกมลินสั่งหยุดการรุกเข้าไปในเยอรมนี
  • 15: กองทัพโปแลนด์ได้รับคำสั่งให้ต้านทานที่พรมแดนโรมาเนียกระทั่งฝ่ายสัมพันธมิตรมาถึง
  • 16: กองทัพเยอรมนีล้อมกรุงวอร์ซอ เมืองหลวงของโปแลนด์ สมบูรณ์
  • 16: ฝรั่งเศสเสร็จสิ้นการร่นถอยออกจากเยอรมนี สิ้นสุดการรุกซาร์
  • 17: สหภาพโซเวียตบุกครองโปแลนด์จากทิศตะวันออก ยึดครองดินแดนทางตะวันออกของแนวคูร์ซอน เช่นเดียวกับเบียลีสตอกและกาลีเซียตะวันออก
  • 17: เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือหลวง คะเรเจิส ถูกเรืออู-29 จมระหว่างการลาดตระเวนนอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของไอร์แลนด์
  • 17: กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเปิดฉากโจมตีนครฉางชาของจีน เมื่อกำลังญี่ปุ่นทางเหนือของมณฑลเจียงซีเข้าตีไปทางตะวันตกสู่มณฑลเหอหนาน
  • 18: ประธานาธิบดีโปแลนด์ Ignacy Mościcki และผู้บัญชาการทหาร Edward Rydz-Śmigły หลบหนีจากโปแลนด์ไปยังโรมาเนีย ที่ซึ่งถูกกักตัวทั้งคู่ กำลังรัสเซียไปถึงวิลนีอุสและเบรสต์-ลีตอฟสค์ เรือดำน้ำโปแลนด์หลบหนีจากกรุงทาลลินน์ ทำให้ความเป็นกลางของเอสโตเนียถูกสหภาพโซเวียตและเยอรมนีตั้งคำถาม
  • 19: กองทัพเยอรมนีและโซเวียตบรรจบกันใกล้เมืองเบรสต์-ลีตอฟสค์
  • 19: กองทัพโซเวียตปิดล้อมท่าทาลลินน์ เมืองหลวงของเอสโตเนีย
  • 19: สหภาพโซเวียตและมองโกเลีย พันธมิตร ชนะยุทธการคาลคินโกล เหนือญี่ปุ่น ยุติสงครามชายแดนโซเวียต-ญี่ปุ่น
  • 19: กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเข้าตีกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนตามแม่น้ำซินเชียงโดยใช้แก๊สพิษระหว่างยุทธการฉางชา
  • 20: เรือดำน้ำ อู-27 ของเยอรมนี ถูกจมโดยระเบิดน้ำลึกจากเรือประจัญบานอังกฤษ
  • 21: นายกรัฐมนตรีโรมาเนีย Armand Calinescu ถูกพวกคลั่งชาติในพื้นที่นาม "ผู้พิทักษ์เหล็ก" (Iron Guard) ลอบสังหาร
  • 24: กองทัพอากาศโซเวียตละเมิดน่านฟ้าของเอสโตเนีย ผู้แทนเอสโตเนียเดินทางไปเจรจากับโมโลตอฟที่กรุงมอสโก โมโลตอฟขู่ว่าสหภาพโซเวียตจะดำเนินการอย่างรุนแรงหากเอสโตเนียไม่ยอมให้มีการตั้งฐานทัพโซเวียตในดินแดนเอสโตเนีย
  • 25: ประเทศเยอรมนีเริ่มการปันส่วนอาหาร
  • 25: สหภาพโซเวียตได้เตรียมกำลังพล 160,000นาย รถถัง 600 คัน และเครื่องบินรบ600ลำ ตามแนวชายแดนเอสโตเนีย
  • 26: หลังจากการระดมยิงปืนใหญ่ ทหารเยอรมนีเข้าตีกรุงวอร์ซอว์
  • 26: เครื่องบินทิ้งระเบิดของโซเวียตบินเหนือน่านฟ้าเมืองทาลลินน์
  • 27: ปืนใหญ่แห่งแนวซิกฟรีดเปิดฉากระดมยิงหมู่บ้านในประเทศฝรั่งเศสเบื้องหลังแนวมากิโนต์
  • 28: กองทัพส่วนที่เหลือและทหารชาวบ้านของโปแลนด์ยอมแพ้ที่กรุงวอร์ซอว์
  • 28: กองทัพโซเวียตประชิดชายแดนลัตเวีย น่านฟ้าลัตเวียถูกละเมิด
  • 28: สนธิสัญญามิตรภาพและพรมแดนระหว่างเยอรมนี-โซเวียตได้รับการลงนามโดยโมโลตอฟและริบเบนทรอพ โดยมีภาคผนวกลับที่เปลี่ยนแปลงการปักปันดินแดนที่เคยตกลงกันไว้ในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ โดยยกลิทัวเนียให้แก่สหภาพโซเวียต แต่เยอรมนีจะได้รับดินแดนในโปแลนด์มากขึ้น
  • 29: เอสโตเนียยอมเซ็นสัญญาความช่วยเหลือร่วมกันกับสหภาพโซเวียตเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งอนุญาตให้มีทหารโซเวียตประจำในแลตเวียจำนวน 30,000 นาย ซึ่งเป็นของตอบแทนสตาลินที่ให้คำมั่นว่าจะธำรงเอกราชของเอสโตเนีย
  • 29: โซเวียตเริ่มแผ่กำลังเข้าควบคุมคาบสมุทรบอลติกเพื่อระวังการรุกรานของนาซี
  • 30: ราชนาวีเยอรมีนจมเรือพาณิชย์อังกฤษนอกชายฝั่งของประเทศบราซิล

ใกล้เคียง

ลำดับ ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร ลำดับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ลำดับเหตุการณ์สำคัญในอาณาจักรอยุธยา ลำดับเวลารัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ลำดับชั้นของทูตสวรรค์ในศาสนาคริสต์ ลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทย ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91) ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดา