ลิงซิลเวอร์สปริงส์
ลิงซิลเวอร์สปริงส์

ลิงซิลเวอร์สปริงส์

ลิงแห่งซิลเวอร์สปริงส์ (อังกฤษ: Silver Spring monkeys) คือ ลิงแม็กแคก 17 ตัวจากประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งถูกเก็บไว้ ณ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ที่เมืองซิลเวอร์สปริงส์ ในรัฐแมริแลนด์[2] ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2534 นักเขียนผู้หนึ่งกล่าวถึงพวกมันว่าเป็นสัตว์ทดลองซึ่งโด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ จากการปะทะกันระหว่างนักวิจัยสัตว์ ผู้สนับสนุนสิทธิสัตว์ นักการเมือง และศาล ในการตัดสินว่าจะใช้พวกมันในงานวิจัย หรือปล่อยพวกมันไปยังศูนย์อนุรักษ์สัตว์ เหล่าลิงเป็นที่รู้จักในวงการวิทยาศาสตร์จากการทดลองด้านความยืดหยุ่นของสมอง (neuroplasticity) หรือความสามารถในการจัดเรียงใหม่ของสมองของไพรเมตซึ่งโตเต็มวัย[3]เหล่าลิงถูกนักจิตวิทยาชื่อว่า เอ็ดเวิร์ด ทับ (Edward Taub) ใช้เป็นสัตว์ทดลอง เขาได้ตัดปมประสาทรากหลัง ซึ่งเป็นตัวส่งความรู้สึกต่อการสัมผัสจากแขนหรือขาไปยังสมองของของลิงเหล่านั้น จากนั้นจึงใช้อุปกรณ์พยุงแขนเพื่อยึดแขนที่ใช้การได้ หรือแขนที่ถูกทำให้ไรความรู้สึก[4] เพื่อฝึกให้พวกมันใช้แขนซึ่งไม่มีความรู้สึก ในเดือนพฤภาคม พ.ศ. 2524 อเล็กซ์ ปาเชโก (Alex Pacheco) จากพีตา (PETA) ได้เริ่มแฝงตัวเข้าทำงานในห้องทดลอง และแจ้งตำรวจด้วยสภาพความเป็นอยู่ของเหล่าลิงที่ไม่ได้มาตราฐาน[5] ในการบุกเข้าจับกุมครั้งแรกของตำรวจ ลิงทั้ง 17 ตัวได้ถูกยึด และทับได้ถูกจับในข้อหาทารุณกรรมสัตว์และการเพิกเฉยต่อการรักษาสัตว์ เขาตกอยู่ภายใต้ 6 ข้อหา โดย 5 ข้อหาถูกยกฟ้องในการพิจารณาคดีครั้งที่สองในศาล ส่วนการพิพากษาครั้งสุดทายถูกยกฟ้องในการอุทธรณ์เมื่อ พ.ศ. 2526 เมื่อศาลตัดสินว่ากฎหมายเกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์ไม่สามารถนำไปใช้กับห้องทดลองซึ่งได้รับทุนจากรัฐบาลกลางได้[2]การต่อสู้ในศาลเพื่ออำนาจปกครองเหล่าลิงทำให้เกิด ทั้งการรณรงค์เพื่อให้ปล่อยพวกมันโดยบุคคลผู้มีชื่อเสียงและนักการเมือง การแปรญัตติของการคุ้มครองสวัสดิภาพของสัตว์ใน พ.ศ. 2528 การเปลี่ยนแปลงของพีตาจากเพียงกลุ่มเพื่อนเป็นขบวนการระดับชาติ การสร้างกรงขังของหน่วย North American Animal Liberation Front และยังเป็นคดีเกี่ยวกับงานวิจัยสัตว์คดีแรกที่ได้ไปถึงศาลสูงสุดของสหรัฐ[6] ในกรกฎาคม พ.ศ. 2534 คำร้องของพีตาเพื่ออำนาจปกครองเหล่าลิงถูกศาลสูงสุดปฏิเสธ จากนั้นไม่กี่วันลิงตัวสุดท้ายก็ถูกสังหาร หลังเหล่าลิงถูกชำแหละ นักวิจัยได้พบการเรียงตัวของใหม่ของคอร์เทกซ์ (cortical remapping) แสดงเป็นนัยว่าการถูกบังคับให้แขนซึ่งไม่ได้รับประสาทสัมผัสนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงของการเรียงตัวในสมองของพวกมัน[7] นับเป็นหลักฐานของความยืดหยุ่นของสมองซึ่งขัดกับความเชื่อที่ว่าสมองของผู้ใหญ่ไม่สามารถเรียงตัวใหม่เพื่อตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมได้[8] หลังถูกขู่ฆ่าและไม่สามารถหาตำแหน่งในงานวิจัยเป็นเวลาถึงห้าปี ทับก็ได้รับข้อเสนอทุนจากมหาลัยอลาบาม่า และได้พัฒนาการรักษารูปแบบใหม่สำหรับผู้พิการจากความเสียหายของสมอง ที่ชื่อว่า constraint-induced movement therapy หรือ CIMT บนฐานของความยืดหยุ่นของสมอง การรักษานี้ได้ช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองให้กลับมาใช้แขนหรือขาได้อีกครั้ง หลังเป็นอัมพาตมาหลายปี และยังได้รับการยกย่องจาก American Stroke Association ให้เป็นการปฏิวัติระดับแนวหน้า[9]

ลิงซิลเวอร์สปริงส์

การพิพากษาลงโทษ ทับถูกพิพากษาลงโทษใน 6 ข้อหาซึ่งกลับคำพิพากษาในชั้นอุทธรณ์
ข้อกล่าวหา เอ็ดเวิร์ด ทับถูกฟ้อง 17 ข้อหาเกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์และ 6 ข้อหาเกี่ยวกับการเพิกเฉยต่อการรักษาสัตว์
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เอ็ดเวิร์ด ทับ, อเล็กซ์ ปาเชโก (นักเคลื่อนไหว), อินกริด นิวคิร์ก, พีตา
ผู้รายงานครั้งแรก เดอะวอชิงตันโพสต์
สถานที่ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ เมืองซิลเวอร์สปริงส์ ในรัฐแมริแลนด์, สหรัฐ
ผลลัพธ์ การก้าวหน้าทางงานวิจัยด้านความยืดหยุ่นของสมองและการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง; ครั้งแรกที่ตำรวจเข้าบุกค้นห้องทดลองในสหรัฐ; ครั้งแรกที่นักวิจัยชาวสหรัฐถูกฟ้องในข้อหาทารุณกรรมสัตว์; เกิดการริเริ่มกฎหมายคุ้มครองสัตว์ ค.ศ. 1985; รายงานการสร้างกรงขังจากกลุ่มปลดปล่อยสัตว์ (Animal Liberation Front) ในอเมริกาเหนือเป็นครั้งแรก
วันที่ พฤษภาคม พ.ศ. 2524
เสียชีวิต ลิงแสม 17 ตัว

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ลิงซิลเวอร์สปริงส์ http://www.animal-rights-library.com/texts-m/pache... http://www.curledup.com/mindbrai.htm http://www.brown.edu/Research/Primate/lpn27-3.html http://hubel.med.harvard.edu/papers/Arewewillingto... http://dels.nas.edu/ilar_n/ilarjournal/40_1/40_1Ro... http://www.psy.uab.edu/taub.htm //dx.doi.org/10.1146%2Fannurev.ne.14.030191.000245 http://www.strokeassociation.org/presenter.jhtml?i... https://books.google.com/books?id=Iheg3hkj99AC&pg=... https://query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=9B...