วงศ์กบมีหาง
วงศ์กบมีหาง

วงศ์กบมีหาง

กบมีหาง (อังกฤษ: Tailed frogs) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ascaphidae[1] ซึ่งหมายถึง 'ไม่มีสันใต้ฝ่าเท้าหลัง (spade)' จากคำอุปสรรคนำหน้า a- และรากศัพท์ภาษากรีกโบราณ: σκαφίς (skaphís, ‘spade, shovel’) หมายถึงสันใต้ฝ่าเท้าหลังใช้สำหรับขุดดิน ซึ่งวงศ์กบชนิดนี้ไม่มี[2][3]กบในวงศ์นี้ มีลักษณะสำคัญคือ ตัวผู้มีอวัยวะถ่ายอสุจิรูปร่างคล้ายหาง อยู่ทางด้านท้ายของห้องทวารร่วม อวัยวะส่วนนี้ได้รับการค้ำจุนด้วยแท่งกระดูกอ่อนที่เจริญมาจากกระดูกเชิงกราน ภายในมีเส้นเลือดฝอยจำนวนมาก ขณะที่ตัวผู้กอดรัดตัวเมียจะงอหางไปข้างหน้าและสอดเข้าไปในช่องทวารร่วมของตัวเมียเพื่อถ่ายอสุจิ การงอหางเกิดจากการหดตัวของอสุจิ นอกจากนี้แล้วยังมีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบจำนวน 9 ปล้อง ซึ่งนับว่ามีมากกว่ากบวงศ์อื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีกระดูกอิพิพิวบิสอยู่ด้านหน้ากระดูกพิวบิส ลูกอ๊อดมีช่องปากมีจะงอยปากและมีตุ่มฟัน กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของแอมฟิซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของอาร์กซิฟเอรัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแคลลาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนต้นและส่วนปลาย ไม่มีกระดูกแทรกระหว่างระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย ช่องเปิดของห้องเหงือกมีช่องเดียวอยู่ในแนวตรงกลางลำตัว จึงเป็นข้อสันนิษฐานว่า กบในวงศ์นี้เป็นบรรพบุรุษของกบวงศ์อื่น ๆ ทั้งหมดมีขนาดลำตัวขนาดเล็กประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลาในลำธารที่มีกระแสน้ำแรงและเย็นจัด ตัวผู้ไม่มีแผ่นเยื่อแก้วหูและไม่ส่งเสียงร้องแต่ใช้ตารับภาพเพื่อเสาะหาตัวเมีย การผสมพันธุ์เกิดขึ้นในน้ำโดยตัวผู้กอดรัดตัวเมียในบริเวณเอว กบตัวเมียจะเก็บอสุจิไว้ในท่อนำไข่นาน 9 เดือน ต่อจากนั้นจึงวางไข่จำนวน 40-80 ฟองติดไว้ในก้อนหินใต้ลำธาร ไข่มีขนาดใหญ่และเอ็มบริโอเจริญอยู่ภายในไข่เป็นระยะเวลานาน ลูกอ๊อดมีอวัยวะใช้ยึดเกาะก้อนหินเจริญขึ้นมาบริเวณปาก และลดรูปครีบหางซึ่งปรับตัวเพื่ออาศัยในลำธารกระแสน้ำไหลแรง และลูกอ๊อดใช้ระยะเวลานานถึง 2-3 ปี จึงเจริญเป็นตัวเต็มวัยกบในวงศ์กบมีหางนี้ มีเพียงสกุลเดียว คือ Ascaphus มีเพียง 2 ชนิด แพร่กระจายพันธุ์ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา อาศัยอยู่บริเวณแนวฝั่งลำธารที่น้ำใสและเย็นจัดบนภูเขาที่มีความสูงกว่า 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล[4] [5]