การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการของกระต่าย ของ วงศ์กระต่าย

กระต่ายอาร์กติก ซึ่งเป็นกระต่ายที่อาศัยอยู่บริเวณขั้วโลกเหนือมีขนสีขาวล้วนเพื่อให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมอันได้แก่ น้ำแข็งและหิมะ

สีขน

การปรับตัวมีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งในวิวัฒนาการ ทั้งควบคุมในเรื่องของโครงสร้างและพฤติกรรม และบ่อยครั้งที่จะเห็นในรูปแบบของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยสิ่งมีชีวิตนั้นๆมีการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เพื่อที่จะทำให้ตัวเองอยู่รอดในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ได้ สำหรับกระต่ายขนสีขาวที่อาศัยอยู่บริเวณขั้วโลกเหนือ โดยสิ่งแวดล้อมที่กระต่ายอาศัยอยู่เป็นลักษณะโพรงไม้ จึงทำให้กระต่ายสีขาวถูกล่าได้ง่ายกว่า กระต่ายที่มีขนสีน้ำตาล ลักษณะดังกล่าวจึงสามารถอธิบายถึงการปรับตัวของกระต่ายได้เป็นอย่างดี [7] และสำหรับกระต่ายที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นสีขาว เช่น มีหิมะ กระต่ายขนสีขาวจะสามารถอยู่รอดได้มากกว่ากระต่ายขนสีอื่น [8]

ความเป็นอยู่

การเป็นอยู่ของกระต่ายเริ่มที่จะแยกย้ายไม่อยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ ด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ถ้าในกรงของกระต่ายมีการเพิ่มจำนวนขึ้นประมาณ 4-5 ตัว จะเป็นผลให้เกิดการทะเลาะกันเองในกรง ซึ่งอาจะทำให้เพิ่มอัตราการตายมากขึ้น กระต่ายจึงมักจะแยกย้าย หรืออาศัยเพียงลำพัง โดยไม่อยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ อีกทั้งยังช่วยลดอัตราการถูกล่าจากผู้ล่าได้อีกด้วย [9]

การลดความกลัวจากสิ่งที่ได้รับรู้เมื่อเยาว์วัย

หากกระต่ายได้รับรู้ว่ามีการดูแลตั้งแต่แรกเกิดโดยทดลองให้กระต่ายบ้าน และกระต่ายป่า ได้รับการดูแลจากคน ผลคือ กระต่ายบ้านจะเชื่องตามผู้ที่ดูแลตั้งแต่แรกเกิด และสามารถที่จะติดต่อกับผู้ที่ดูแลได้ แต่ถ้าต้องอยู่กับผู้ที่ไม่ได้เลี้ยงดูมันตั้งแต่เกิด จะแสดงพฤติกรรมที่กลัวต่อคน ๆ นั้น โดยกระต่ายบ้าน จะมีพฤติกรรมความกลัวลดลงและสามารถยอมรับกับเหตุการณ์นั้น ซึ่งดูได้วิวัฒนาการของการคัดเลือกทางพันธุกรรม แต่สำหรับกระต่ายป่าจะเชื่องตามคนดูแลโดยจะปราศจากการคัดเลือกทางพันธุกรรมอย่างไรก็ตามยังมีข้อมูลสนับสนุนไม่เพียงพอว่า กระต่ายสามารถจดจำผู้ดูแลในช่วงแรกเกิดได้อย่างไร [10]