ความสัมพันธ์และการพัฒนาเชิงวิวัฒนาการของกระต่าย ของ วงศ์กระต่าย

ความสัมพันธุ์ทั่วไป

กระต่ายป่า จัดเป็นกระต่ายชนิดที่พบได้ในธรรมชาติเพียงชนิดเดียวที่พบได้ในประเทศไทย

กระต่ายจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทสัตว์เลือดอุ่น ในอันดับ Lagomorpha กระต่ายถือกำเนิดในโลกมาเมื่อประมาณ 50 ล้านปีมาแล้ว ในบริเวณทวีเอเชียและอเมริกาเหนือ ทั่วโลกมีจำนวนชนิดของกระต่ายรวม 58 ชนิด โดยมี 14 ชนิด อยู่ในวงศ์ไพกา (Ochotonidae) ลักษณะหูสั้น มีขาคู่หน้าและหลังสั้น ใบหูสั้นเป็นมนกลม และไม่มีหางให้เห็นภายนอก และอีก 44 ชนิด จัดอยู่ในวงศ์กระต่าย (Leporidae) ซึ่งมีขาหลังที่ยาว ทำให้วิ่งได้เร็ว ใบหูยาวและหมุนไปมาได้ มีหางสั้น ขนฟูเป็นกระจุก

ในวงศ์กระต่าย แบ่งออกได้เป็นกระต่ายบ้าน และกระต่ายป่า ซึ่งมีความแตกต่างกันที่กะโหลกศีรษะ กระต่ายเลี้ยงออกลูกในโพรงใต้ดิน ไม่มีขน และไม่ลืมตาจนกว่าจะมีอายุได้ 10 วัน ส่วนกระต่ายป่าออกลูกบนพื้นดินในพงหญ้ารก ลูกที่ออกมามีขนปกคลุมตัว และตาเปิดตั้งแต่วันแรกเกิด และมีนิสัยชอบวิ่งหนีศัตรูมากกว่าจะหลบในโพรงเหมือนกระต่ายเลี้ยงที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ และกระต่ายป่าชอบอยู่โดดเดี่ยว ในขณะที่กระต่ายเลี้ยงชอบอยู่เป็นฝูง กระต่ายยุโรป มีเพียงชนิดเดียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryctolagus cuniculus มีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรไซบีเรียและแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ต่อมามีการนำไปเลี้ยงทั่วโลก สำหรับกระต่ายป่านั้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepus peguensis มีเขตแพร่กระจายในประเทศพม่า, ไทย, อินโดจีน และเกาะไหหลำ พบอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้า และบริเวณป่าดั้งเดิมที่สภาพถูกทำลายทั่วประเทศ ลงไปทางทิศใต้ จนถึงบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดประจวบคีรีขันธ์กับจังหวัดชุมพรกระต่ายอาศัยอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมหลายแบบ ตั้งแต่บริเวณเขตหิมะในแถบอาร์กติก จนถึงทะเลทรายและป่าในเขตร้อน อาหารได้แก่ หญ้าและพืชล้มลุก รากไม้ เปลือกไม้ยืนต้น และไม้พุ่ม กระต่ายมีนิสัยกินมูลของตัวเอง โดยในเวลากลางวันจะถ่ายออกมาเป็นมูลแข็งและ ในเวลากลางคืนจะถ่ายมูลอ่อนที่มีวุ้นเคลือบ ซึ่งกระต่ายจะกินในเวลาเช้า เชื้อบักเตรีในมูลอ่อนเมื่อมาถูกกับอากาศจะสร้างวิตามินบางชนิดขึ้น วิตามินนี้จำเป็นมากต่อสุขภาพของกระต่าย หากไม่ได้กินมูลอ่อนกระต่ายจะตายภายในเวลา 3 วันกระต่ายเลี้ยงในทวีปยุโรปภาคเหนือผสมพันธุ์ในเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนสิงหาคม หรือเดือนกันยายน ผสมพันธุ์โดยการปฏิสนธิภายใน ออกลูกได้ 3-5 ครอก ครอกละ 5-6 ตัว สำหรับกระต่ายป่าในซีกโลกภาคเหนือ ออกลูก 2-4 ครอก ครอกละ 1-9 ตัว ในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน แต่ในเขตร้อนกระต่ายป่าผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ในธรรมชาติปกติกระต่ายมีอายุประมาณ 10 ปี [4]

สายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ

กระต่ายมีความสัมพันธุ์เชิงวิวัฒนาการกับสัตว์ฟันแทะ หรือ สัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยเดิมจัดกระต่ายไว้เป็นสัตว์ฟันแทะในอันดับ Rodentia ร่วมกับพวกหนูและกระรอก แต่พบว่ากระต่ายมีลักษณะหลายอย่างที่แตกต่างต่างออกไป นั่นคือ ฟันตัดสองคู่หน้าของขากรรไกรบนคู่ที่สองมีลักษณะเป็นปุ่มเล็กซุกอยู่ภายในคู่หน้า แต่หนูและกระรอกจะมีฟันตัดเพียงคู่เดียว

กระต่ายและสายสัมพันธ์ ในอันดับ Lagomorpha มีการสัมผัสหรือได้รับสารบางอย่าง โดยใช้ protein sequences จึงสามารถบอกได้ว่า Lagomorpha ค่อนข้างที่จะสัมพันธ์กับ Primates และ Scandentia มากกว่าสัตว์ฟันแทะ แต่ทั้งหมดที่กล่าวมายังมีการพัฒนาในแบบเดียวกัน จากการพบนี้อาจจะทำให้ไปค้านกับ phylogeneticของ Glire ที่เคยจัดให้ Lagomorphและ Rodent อยู่กลุ่มเดียวกัน แต่เพราะมีสารบางอย่างทำให้ไม่ถือเป็น phylogenic แต่เป็นสายวิวัฒนาการที่บรรพบุรุษมีลักษณะ morphotype ที่เหมือนกัน เลยทำให้มีลักษณะคล้ายกันในปัจจุบัน[5]

ภาพแผนภูมิความสัมพันธ์ของสัตว์แต่ละชนิดที่ต่างกันทางอนุกรมวิธาน

วิวัฒนาการร่วมกัน

อาจเกิดขึ้นรวดเร็วพอที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน โดยเฉพาะในกรณีที่มนุษย์ไปรบกวนกระบวนการวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น การใช้ไวรัสเพื่อการควบคุมประชากรกระต่ายในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้มีผู้นำเอากระต่ายเลี้ยงจากประเทศอังกฤษเข้าไปเลี้ยงในประเทศออสเตรเลีย ที่ซึ่งอาหารการกินอุดมสมบูรณ์และไม่มีศัตรูทำลายกระต่ายจึงทำให้ประชากรกระต่ายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากอย่างน่าตกใจจนทำให้กระต่ายเหล่านั้นเป็นตัวทำลายพืชผลของเกษตรกรชาวออสเตรเลียไปโดยมิได้ตั้งใจ เมื่อมีเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นนักวิทยาศาสตร์ก็พยายามหาทางกำจัด หรือควบคุมประชากรกระต่ายโดยใช้ไวรัสพวกมิกโซมาโทซิส (myxxomatosis) ซึ่งทำให้เกิดโรคในกระต่ายอย่างรุนแรงจนถึงตายได้ ทำให้การควบคุมประชากรกระต่ายดังกล่าวได้ผลดียิ่ง โดยมีอัตราการตายของกระต่ายสูงถึงเกือบร้อยละ 99 ในระยะเริ่มต้นของการปล่อยเชื้อไวรัสซึ่งยังความปิติให้แก่นักวิชาการและประชาชนทั่วไปที่คิดว่าประสบความสำเร็จ แต่ก็ดีใจไม่ได้นานเพราะพวกกระต่ายที่สามารถพัฒนาภูมิต้านทานต่อสู้กับเชื้อไวรัสและสามารถรอดตายจากโรคร้ายที่เกิดจากไวรัสนั้นได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และยังคงมีกระต่ายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากยุโรปอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับประชากรกระต่ายดังกล่าวสามารถอธิบายได้โดยหลักวิวัฒนาการ คือ มีการคัดเลือกตามธรรมชาติเกิดขึ้นกับพันธุ์กระต่ายที่สามารถทนทานต่อเชื้อไวรัสนั้นได้ ในขณะเดียวกันการคัดเลือกตามธรรมชาติก็เกิดขึ้นกับเชื้อไวรัสมิกโซมาโทซิสโดยการพัฒนาเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ที่มีฤทธิ์รุนแรงต่อกระต่ายตามติดไปด้วย ซึ่งลักษณะพันธุกรรมที่มีฤทธิ์รุนแรงจะถ่ายทอดจากกระต่ายตัวหนึ่งสู่อีกตัวหนึ่งโดยอาศัยยุงเป็นพาหะ ไวรัสพันธุ์ที่ไม่รุนแรงมากนักจนถึงกับทำให้กระต่ายตายก็จะสามารถดำรงพันธุ์ต่อไปได้โดยถูกถ่ายทอดไปสู่กระต่ายตัวอื่นต่อไปโดยอาศัยยุงที่เป็นพาหะที่มากินเลือดกระต่ายตัวที่ป่วยด้วยไวรัสนั้น ในขณะที่ไวรัสพันธุ์รุนแรงมาก ๆ จนถึงกับเป็นอันตรายต่อชีวิตกระต่ายก็มักจะไม่ค่อยถ่ายทอดต่อไปยังกระต่ายตัวอื่น เพราะยุงที่เป็นพาหะนั้นจะดูดกินเลือดจากกระต่ายที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ดังนั้นการคัดเลือกตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับพันธุ์กระต่ายที่ต้านทานเชื้อไวรัสและที่เกิดขึ้นกับพันธุ์ไวรัสชนิดที่ไม่รุนแรงจนถึงกับทำให้กระต่ายตายนั้นส่งผลให้กระต่ายและไวรัสสามารถปรับตัวร่วมกันและวิวัฒนาการร่วมกันมาได้จนถึงสภาวะสมดุลดังที่เป็นอยู่ในประเทศออสเตรเลียขณะนี้ [6]