วงศ์นกแต้วแร้ว
วงศ์นกแต้วแร้ว

วงศ์นกแต้วแร้ว

วงศ์นกแต้วแร้ว หรือ วงศ์นกแต้วแล้ว[1] (อังกฤษ: Pittas) เป็นวงศ์ของนกที่มีขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในอันดับ Passeriformes เช่นเดียวกับนกกระจอก (Passeridae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pittidaeโดยทั่วไปแล้ว นกแต้วแร้วจะมีลำตัวอ้วนสั้น มีสีสันฉูดฉาดสะดุดตาหลายสี เช่น น้ำเงิน, เขียว, แดง, น้ำตาล หรือเหลือง รวมอยู่ในตัวเดียวกัน คอและหางสั้น ขายาว มักกระโดดหรือวิ่งบนพื้นดิน เป็นนกที่ขี้อาย ขี้ตื่นตกใจ มีพฤติกรรมชอบอยู่ลำพังตัวเดียวหรือเป็นคู่ หากจะบินก็จะบินเป็นระยะสั้น ๆ หรือเตี้ย ๆ ในบริเวณที่เป็นที่อยู่อาศัย โดยมักจะอาศัยอยู่ในพุ่มไม้นกแต้วแร้วมักอาศัยอยู่ในป่าที่มีความชุ่มชื้นหรือใกล้แหล่งน้ำ ด้วยหากินที่อยู่ในบริเวณนั้น เช่น หอยทาก, ไส้เดือนดิน หรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลาน เป็นอาหาร โดยทั่วไปแล้วจะมีขนาดลำตัวประมาณ 15–25 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 42–218 กรัมพบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันออก และโอเชียเนียวางไข่ครั้งละ 6 ฟองบนต้นไม้หรือพุ่มไม้ หรือบางครั้งก็บนพื้นดิน พ่อแม่นกจะช่วยกันดูแลลูกอ่อน โดยรังจะสานจากกิ่งไม้หรือใบไม้ หรือฟางที่หาได้ มีหลายชนิดที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐาน[2] ลูกนกเมื่ออยู่รัง พ่อแม่นกจะช่วยกันดูแลและคาบอาหารมาให้ ส่วนมากเป็นแมลง บางครั้งอาจจะเป็นแมง เช่น ตะขาบ หรือสัตว์อย่างอื่น เช่น ไส้เดือนดิน แล้วแต่จะหาได้ ลูกนกเมื่อจะถ่าย จะหันก้นออกนอกรังแล้วขับถ่ายมูลออกมา ซึ่งถูกห่อหุ้มอยู่ในถุงขนาดใหญ่ พ่อแม่นกต้องคาบไปทิ้งให้ไกลจากรัง เพราะกลิ่นจากมูลลูกนกจะเป็นสิ่งที่บอกที่อยู่ให้แก่สัตว์นักล่าได้[3]เดิมได้รับการอนุกรมวิธานออกเพียงสกุลเดียว คือ Pitta แต่ปัจจุบันได้แยกออกเป็น 3 สกุล (ดูในตาราง) ทั้งหมดราว 31 ชนิด[4]สำหรับนกแต้วแร้วในประเทศไทยนั้น พบทั้งหมด 12 ชนิด เช่น นกแต้วแร้วธรรมดา หรือนกแต้วแร้วสีฟ้า (Pitta moluccensis), นกแต้วแร้วป่าโกงกาง หรือนกแต้วแร้วป่าชายเลน (P. megarhyncha), นกแต้วแร้วหูยาว (Hydrornis phayrei) [5] โดยมีชนิดที่ได้รับยการยอมรับว่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ที่สุด คือ นกแต้วแร้วท้องดำ (H. gurneyi) ที่พบได้เฉพาะในป่าชายแดนไทยติดกับพม่าแถบอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เท่านั้น [6]