วงโคจรเค็พเพลอร์
วงโคจรเค็พเพลอร์

วงโคจรเค็พเพลอร์

วงโคจรเค็พเพลอร์ (Keplerbahn) ในทางกลศาสตร์ท้องฟ้า ใช้อธิบายการเคลื่อนที่ในวงโคจรของวัตถุที่เคลื่อนที่บนวงโคจรวงรี พาราโบลา หรือ ไฮเพอร์โบลา ในปริภูมิสามมิติบนระนาบวงโคจรสองมิติ (นอกจากนี้ วงโคจรเค็พเพลอร์อาจสามารถเป็นเส้นตรงได้เช่นกัน) โดยจะพิจารณาเฉพาะปฏิสัมพันธ์ระหว่างแรงโน้มถ่วงระหว่างวัตถุที่มีลักษณะเป็นจุด 2 ชิ้น โดยไม่สนใจการรบกวนของปฏิสัมพันธ์ระหว่างแรงโน้มถ่วงกับ วัตถุ อื่น ๆ เช่นแรงต้านของชั้นบรรยากาศ ความดันรังสีจากดวงอาทิตย์ วัตถุ ความไม่เป็นทรงกลม และอื่น ๆ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเป็นวิธีแก้ปัญหากรณีพิเศษของปัญหาวัตถุสองชิ้น หรือที่เรียกว่า ปัญหาเค็พเพลอร์ ในกลศาสตร์ดั้งเดิมจะไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปด้วย วงโคจรของเค็พเพลอร์สามารถแสดงวงโคจรประเภทต่าง ๆ ได้โดยใช้องค์ประกอบวงโคจร 6 ตัวในการใช้งานส่วนใหญ่ มวลที่จุดศูนย์กลางจะถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางมวลของระบบทั้งหมด เมื่อผ่านการจากวิเคราะห์แล้ว วัตถุสองชิ้นที่มีมวลใกล้เคียงกันสามารถใช้วงโคจรเค็พเพลอร์เพื่ออธิบายการเคลื่อนที่รอบจุดศูนย์กลางมวล (คือศูนย์กลางความโน้มถ่วง) ของระบบ