วรรณกรรมสมัยใหม่ ของ วรรณคดีกัมพูชา

การเข้ามาของฝรั่งเศสทำให้มีการตั้งคำถามใหม่ในวรรณกรรมกัมพูชา การพิมพ์ภาษาเขมรเกิดขึ้นในพนมเปญเมื่อ พ.ศ. 2451 โดยหนังสือเล่มแรกที่พิมพ์เป็นภาษาเขมรคือคำสั่งตาเมียส ซึ่งเป็นวรรณกรรมชวนเชื่อให้นิยมฝรั่งเศส ผลจากการศึกษาแบบใหม่ในกัมพูชาทำให้มีการเขียนนวนิยายภาษาเขมร แต่ก็ยังมีอิทธิพลจากอินเดียและไทยอยู่ ตัวอย่างเช่น ตุมเตียวของพระปทุมเถระ (โสม) พิมพาพิลาปของคุณหญิงสิทธิ และเตียวแอกโดยนู กอน[4]

ยุคเขมรแดงและหลังจากนั้น

ในยุคกัมพูชาประชาธิปไตย พ.ศ. 2518 – 2520 ปัญญาชนส่วนใหญ่ถูกบังคับให้ออกไปสู่ชนบท บ้างถูกฆ่าเพราะมีภูมิหลังเป็นปัญญาชน.[5] หรือไม่ก็หลบหนีออกนอกประเทศ วรรณกรรมพื้นบ้านถูกทำลายล้าง[6] เมื่อ พล พตพ่ายแพ้และมีการจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาขึ้นแทน ได้มีการฟื้นฟูพุทธศาสนาและวรรณกรรมขึ้นใหม่ แต่การฟื้นฟูวรรณกรรมก็ต้องอยู่ภายใต้แนวคิดสังคมนิยม นิยมโซเวียตและนิยมเวียดนามจนกระทั่งการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคของรัฐกัมพูชา[7]

ปัจจุบัน

มีการจัดตั้งสมาคมนักเขียนเขมรขึ้นอีกครั้งใน พ.ศ. 2536.[8] หลังจากถูกยุบเลิกในสมัยเขมรแดง นักเขียนกัมพูชารุ่นใหม่พยายามก้าวสู่ระดับนานาชาติ และมีการมอบรางวัลซีไรต์ให้นักเขียนด้วย

แหล่งที่มา

WikiPedia: วรรณคดีกัมพูชา http://muse.jhu.edu/login?uri=/journals/manoa/v016... http://www.paris.fr/portail/viewmultimediadocument... http://www.cambodia.culturalprofiles.net http://www.culturalprofiles.net/cambodia/Directori... http://www.culturalprofiles.net/cambodia/Directori... http://www.archive.org/stream/missionpavieind00pav... http://www.khmerstudies.org/ http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/article/v... https://www.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/art...