อิทธิพลจากวรรณกรรมต่างชาติ ของ วรรณคดีกัมพูชา

  • ฝรั่งเศส วรรณกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศสคือการเขียนเอกสารในรูปร้อยแก้วแทนการเขียนแบบร้อยกรองตามขนบเดิม และการแต่งเลบิกเป็นเรื่องสั้นๆ เลียนแบบจากเรื่องปัญจตันตระและหิโตปเทศ
  • จีน วรรณกรรมกัมพูชาที่แปลจากวรรณกรรมจีนมีน้อยมาก ส่วนใหญ่ได้รับโดยผ่านฉบับภาษาไทย เช่นเรื่อง นางเจียวกุน ส่ายฮั่น (ไซ่ฮั่น) เล่าถึงการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น และสามก๊ก
  • ไทย วรรณกรรมไทยและวรรณกรรมเขมรมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก โดยเฉพาะด้านโครงเรื่องต่างๆ แม้แต่ในวรรณกรรมสมัยใหม่ เช่นกุหลาบไพลิน
  • เวียดนามและลาว ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลมากในช่วง พ.ศ. 2523 – 2534 ซึ่งเป็นช่วงที่ปกครองในระบอบสังคมนิยมเช่นเดียวกัน วรรณกรรมที่แปลจากภาษาลาว เช่น บุปผานุวงศ์ กองวระเสนาใหญ่ จำปาแดง เพลิงปฏิวัติเผาไหม้ ที่แปลจากภาษาเวียดนามเช่น ขัญวิญ ควกทวน เหือนวิลวิญ เป็นต้น

แหล่งที่มา

WikiPedia: วรรณคดีกัมพูชา http://muse.jhu.edu/login?uri=/journals/manoa/v016... http://www.paris.fr/portail/viewmultimediadocument... http://www.cambodia.culturalprofiles.net http://www.culturalprofiles.net/cambodia/Directori... http://www.culturalprofiles.net/cambodia/Directori... http://www.archive.org/stream/missionpavieind00pav... http://www.khmerstudies.org/ http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/article/v... https://www.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/art...