เรื่องเล่าที่เป็นที่นิยม ของ วรรณคดีกัมพูชา

ภาพวาดจากเรื่องวรวงศ์และสรวงศ์สมัยพุทธศตวรรษที่ 24

เรื่องเล่าที่เป็นที่นิยมในกัมพูชาส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เช่น รามายณะ มหาภารตะ และนิทานชาดกของพุทธศาสนา และได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมไทยมาก ตัวอย่างเรื่องที่เป็นที่นิยมคือพระวรวงศ์และสรวงศ์ ซึ่งเป็นเรื่องของเจ้าชายเขมรสององค์ที่ถูกขัไล่แล้วกลับคืนสถานะเดิมของตนได้ เรื่องนี้ต่อมาได้นำไปสร้างเป็นบัลเลต์หลวงของกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2549[1]

ตุมเตียวเป็นนิยายรักคลาสสิกในจังหวัดกำปงจามที่เป็นที่รู้จักไปทั้งประเทศเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 โดยมีต้นกำเนิดมาจากบทกวีในสมัยพุทธศตวรรษที่ 22 – 23 ในปัจจุบัน ตุมเตียวได้กลายเป็นวรรณคดี ละคร และภาพยนตร์ในกัมพูชา แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสโดย Étienne Aymonier เมื่อ พ.ศ. 2423 ตุมเตียวเป็นที่นิมในต่างประเทศ เมื่อ George Chigas นำต้นฉบับของพระปทุมเถระโสมไปแปล[2]

แหล่งที่มา

WikiPedia: วรรณคดีกัมพูชา http://muse.jhu.edu/login?uri=/journals/manoa/v016... http://www.paris.fr/portail/viewmultimediadocument... http://www.cambodia.culturalprofiles.net http://www.culturalprofiles.net/cambodia/Directori... http://www.culturalprofiles.net/cambodia/Directori... http://www.archive.org/stream/missionpavieind00pav... http://www.khmerstudies.org/ http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/article/v... https://www.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/art...