วรรณะทางสังคม
วรรณะทางสังคม

วรรณะทางสังคม

วรรณะทางสังคม, ระบบวรรณะ หรือ วรรณะ[3] (อังกฤษ: caste) เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมโบราณที่วิวัฒนการผ่านเวลาหลายศตวรรษและยังพบเห็นได้ในหลายส่วนของโลก[4] วรรณะใช้อธิบายกลุ่มคนซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ แต่งงานแต่ในพวกเดียวกัน สืบทอดอาชีพกันจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน และรักษาสถานะของพวกตนในลำดับชั้นทางสังคม[1][5][6][7] ซึ่งมีตัวอย่างสำคัญคือระบบวรรณะในอินเดียซึ่งได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู[8] ตามนิยามของ Haviland วรรณะเป็นการจัดช่วงชั้นในสังคม ที่แต่ละกลุ่มวรรณะถูกกำหนดแต่กำเนิดและเปลี่ยนแปลงมิได้ตลอดชีวิต แต่ละวรรณะต้องแต่งงานกันเองและลูกหลานที่เกิดขึ้นก็เป็นสมาชิกของวรรณะโดยอัตโนมัติ[9]อย่างไรก็ดี ระบบวรรณะมิได้จำเพาะแก่ศาสนาใดศาสนาหนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง มีการแบ่งชั้นวรรณะปรากฏอยู่ในสังคมมุสลิม คริสเตียน ฮินดู และพุทธ[1][10][11][12][13] และปรากฏอยู่ในทั้งสังคมอินเดียและสังคมอื่น[1][13][14][15][16][17][18]กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) เห็นว่าทั่วโลกมีคนราว 250 ล้านคนถูกเลือกปฏิบัติเพราะตกอยู่ในระบบวรรณะ[19]

ใกล้เคียง

วรรณะ วรรณะ (ศาสนาฮินดู) วรรณะที่ถูกกำหนดและชนเผ่าที่ถูกกำหนด วรรณะทางสังคม วรรณะกษัตริย์ วรรณี เจียรวนนท์ รอสส์ วรรณรท สนธิไชย วรรณกรรม วรรณปิยะ ออมสินนพกุล วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล

แหล่งที่มา

WikiPedia: วรรณะทางสังคม http://www.questia.com/PM.qst?a=o&d=2995517 http://online.wsj.com/article/SB100014240529702043... http://reserves.fcla.edu/rsv/NC/010015586-1.pdf http://people.cohums.ohio-state.edu/ahern1/Spanish... //doi.org/10.1080%2F14725843.2011.614412 //doi.org/10.1111%2F0162-895X.00138 //doi.org/10.1177%2F030639687201300401 //doi.org/10.1207%2FS15324834BASP2404_4 //www.jstor.org/stable/2773155 http://www.unicef.org/protection/discrimination.ht...