วสุพันธุ
วสุพันธุ

วสุพันธุ

วสุพันธุ (จีนตัวเต็ม: 世親; ; พินอิน: Shìqīn; ทิเบต: དབྱིག་གཉེན་ ไวลี: dbyig gnyen มีชีวิตอยู่ยุคประมาณ พ.ศ. 859–943) เป็นภิกษุและนักปราชญ์จากแคว้นคันธาระ เป็นผู้อรรถาธิบายอภิธรรมที่เป็นหลักการของนิกายสรวาสติวาทและเสาตรานติกะ วสุพันธุเป็นน้องชายต่างบิดาของอสังคะ เดิมทีเป็นภิกษุนิกายสรวาสติวาท ได้เปลี่ยนมานับถือนิกายมหายานตามอสังคะ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งนิกายโยคาจารร่วมกับอสังคะ เป็นหนึ่งในสิบเจ็ดคณาจารย์ในนาลันทา พุทธวิทยาลัยที่ปัจจุบันตั้งอยู่ในรัฐพิหาร[1]วสุพันธุเกิดที่ปุรุสปุระ (ปัจจุบันคือเปศวาร์) บิดาเป็นพราหมณ์ตระกูลเกาศิกะ ประจำอยู่ในราชสำนัก มีความเชี่ยวชาญเรื่องพระเวท มารดาชื่อ วิริญจี วสุพันธุแต่งอรรถกถาอธิบายอักษยมตินิรเทศสูตรและทศภูมิกสูตร นำหลักการสำคัญของโยคาจารที่อสังคะได้บรรจุไว้ในคัมภีร์ต่าง ๆ ออกมาเผยแพร่แก่นักปราชญ์ในยุคนั้น[2] คัมภีร์อภิธรรมโกศะ เป็นผลงานของวสุพันธุที่ใช้กันแพร่หลายในธิเบตและเอเชียตะวันออก วสุพันธุได้นำหลักการทางพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับวิชญาณ (วิญญาณ) มาจัดระบบสอนในเชิงปรัชญาและอธิบายเชื่อมโยงกับทฤษฎีจิตนิยมแบบต่าง ๆ

วสุพันธุ

อาชีพ ภิกษุ
มีชื่อเสียงจาก หนึ่งในผู้ก่อตั้งนิกายโยคาจาร