จุดกำเนิด ของ วัฒนธรรมดงเซิน

ทฤษฎีที่มีพื้นฐานอยู่บนแนวความคิดที่ว่าการถลุงสำริดในเอเชียตะวันออกมีต้นกำเนิดในทางตอนเหนือของประเทศจีนนั้น ได้ถูกลบล้างจากการค้นพบทางโบราณคดีในภาคอีสานของประเทศไทยในช่วงทศวรรษที่ 1970 ศาสตราจารย์ Clark D. Neher แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นอิลลินอยส์กล่าวไว้ว่า "การถลุงสำริดมีจุดกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และต่อมาจึงชาวจีนจึงได้รับเทคโนโลยีนี้ไป ไม่ใช่อย่างที่นักวิชาการชาวจีนอ้างไว้ในทางกลับกัน"

คำอธิบายดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากผลงานของนักโบราณคดีชาวเวียดนาม ซึ่งได้ค้นพบว่ากลองมโหระทึกที่เก่าแก่ที่สุดมีความเกี่ยวข้องทางด้านรูปร่างและลวดลายกับเครื่องปั้นดินเผาของวัฒนธรรม Phung Nguyen นักวิชาการยังไม่สามารถสรุปได้ว่ากลองมโหระทึกมีไว้ใช้ทำอะไร ระหว่างพิธีกรรมทางศาสนาหรือเหตุผลอื่น ๆ ลวดลายแกะสลักต่าง ๆ ที่พบบนกลองนั้นทำให้พิจารณาได้ว่ากลองมโหระทึกเป็นกลองที่ใช้เป็นเหมือนปฏิทินบอกฤดูกาล(?) ข้อสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ในลวดลายที่สลักอยู่บนกลองนั้น มีรูปม้วนกระดาษอยู่ด้วย ซึ่งอาจจะบ่งชี้ได้ว่ากลุ่มคนที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมดงเซินเป็นชนกลุ่มแรกที่รู้จักวิธีการผลิตกระดาษ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ยังเป็นเพียงทฤษฎีที่นำเสนอโดยนักวิชาการชาวเวียดนามเท่านั้น

การแพร่กระจายของวัฒนธรรมดงเซิน

การค้นพบกลองขนาดใหญ่ที่แกะสลักอย่างประณีตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ 17 นั้น ได้กระตุ้นความสนใจของนักวิชาการชาวตะวันตกเกี่ยวกับพื้นที่นี้ในฐานะที่มีวัฒนธรรมแรก ๆ ทำรู้จักการใช้สำริด กลองมโหระทึกที่พบนั้นมีขนาดหลากหลายแตกต่างกันไป ตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลางไม่กี่นิ้วจนไปถึงหกฟุต โดยที่กลองดังกล่าวนั้นเป็นผลผลิตของวัฒนธรรมดงเซินที่พบได้ทั่ว ๆ ไป ทั้งในเวียดนามเอง และทางตอนใต้ของจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนคาบสมุทร รวมทั้งในสุมาตรา ชวา บาหลี และอีเรียน จายา

คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ:
วัฒนธรรมดงเซิน
บทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์