พันธุศาสตร์และเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ ของ วัฒนธรรมหงชาน

การศึกษาโดย Yinqiu Cui et al. ในปีพ.ศ. 2556 พบว่าร้อยละ 63 ของกลุ่มตัวอย่างพันธุศาสตร์ที่คละกันจากแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ ของวัฒนธรรมหงชาน ถูกระบุเป็นพันธุกรรมแบบ subclade N1 (xN1a, N1c) ของ กลุ่ม haplogroup N-M231 (แฮ็ปโลกรุ๊ป N - พันธุกรรมเด่นที่พบในมนุษย์จากการถ่ายทอดผ่านทางฝ่ายชาย ส่วนมากใช้ชีวิตในแถบยูเรเชียตอนเหนือ) จากการคำนวณ N (ค่าบ่งชี้หลักของพันธุกรรมแฮ็ปโลกรุ๊ป N) สูงถึงร้อยละ 89 ซึ่งโดดเด่นออกจากชาติพันธุ์อื่น ๆ ในภูมิภาค (เอเชียตะวันออก) ในช่วงยุคหินใหม่ และพบว่าอัตราส่วน N จะค่อย ๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ปัจจุบันมนุษย์ที่มีพันธุกรรม แฮ็ปโลกรุ๊ป N นี้พบมากที่สุดใน ฟินแลนด์ รัฐบอลติก และในกลุ่มชาติพันธุ์ทางเหนือของไซบีเรียเช่น ยาคุทส์ (Yakuts)

กลุ่มพันธุกรรมอื่น ๆ ที่ถูกระบุในการศึกษา ได้แก่ C และ O2a (O2a2) ซึ่งทั้งสองกลุ่มพันธุกรรมนี้มีอิทธิพลเหนือประชากรในปัจจุบัน

รายงานการศึกษาปี 2563 โดย เนลสันและคณะ พยายามเชื่อมโยงวัฒนธรรมหงชาน กับบริบททางภาษา “ Transeurasian” (ดู ถาษา Altaic )