อิทธิพลทางด้านศาสนาและการเมือง ของ วัดกำแพงแลง

การสร้างปราสาทแห่งนี้ คาดว่าเป็นอิทธิพลของเขมรในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่พระองค์มีอำนาจในการแผ่ขยายอิทธิพลมายังภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งปราสาทกำแพงแลงแห่งนี้ ถือได้ว่าเป็นปราสาทที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย จึงมีการสร้างคติความเชื่อศาสนาตามเมืองพระนครและเมืองใต้อิทธิพลของพระองค์ จากจารึกปราสาทพระขรรค์ ได้กล่าวว่ามีการส่ง “พระชัยพุทธมหานาถ” พระพุทธรูปที่มีหน้าตาเหมือนพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงรวมกับพระวัชรสัตว์ เป็นผู้มีเมตตายิ่งใหญ่ มาเพื่อประดิษฐานปราสาทเมือง “ศรีชัยวัชรปุระ” จากจารึกนี้ ถ้ามีการส่งพระชัยพุทธมหานาถมาจริง ก็เป็นเสมือนเครื่องหมายของการแผ่ขยายอำนาจของพระองค์เอง และแสดงนัยยะของการปกครองโดยธรรมผ่านศาสนาพุทธลัทธิวัชรยาน

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทำให้ทราบว่า ปราสาทกำแพงแลงสร้างขึ้นภายใต้คติของวัชรยาน ได้รับอิทธิพลมาจากเขมรศิลปะแบบบายน เทียบอายุเวลาจากวัสดุในการก่อสร้างปราสาท (ศิลาแลง) ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ลวดลายปูนปั้นประดับ ประติมากรรม และจารึกปราสาทพระขรรค์ ที่กล่าวถึงการส่งพระพุทธรูป จากปัจจัยเหล่านี้ กำหนดอายุเวลาได้ว่า ปราสาทกำแพงแลงสร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ระหว่างปี พ.ศ. 1724-1763 ซึ่งเป็นปีที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครองราชย์

ส่วนโกลนของพระพุทธรูปในปราสาททิศใต้นั้น เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในยุคหลัง คาดว่าเป็นช่วงที่อิทธิพลของศาสนาพุทธลัทธิหีนยาน แผ่ขยายเหนือพื้นที่นี้ จึงสร้างลวดลายปูนปั้นพระพุทธรูปขึ้น

คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ:
Wat Kampaeng Laeng

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: วัดกำแพงแลง http://maps.google.com/maps?ll=13.105494,99.95641&... http://photos1.hi5.com/0056/800/920/1spU9K800920-0... http://photos1.hi5.com/0056/987/904/79vlMQ987904-0... http://photos2.hi5.com/0056/586/877/JP819c586877-0... http://photos2.hi5.com/0057/846/765/jSmBq7846765-0... http://photos2.hi5.com/0058/576/253/9kTQ5W576253-0... http://photos2.hi5.com/0060/717/937/hFe9xu717937-0... http://photos2.hi5.com/0060/740/981/zMHpJF740981-0... http://photos2.hi5.com/0061/500/641/2dDsSR500641-0... http://photos2.hi5.com/0062/398/921/wAhp2Y398921-0...