ประวัติ ของ วัดท่าการ้อง

วัดท่าการ้องได้มีการปฏิสังขรณ์มาไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง มีหลักฐานที่กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจใน ปี พ.ศ. 2508 ที่ตั้งในปัจจุบันล้อมรอบด้วยชุมชนอิสลาม พื้นที่ตั้งของวัดโดยรวมเป็นที่ราบอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้กับ วัดธรรมาราม และ วัดกษัตราธิราช อยู่ห่างจากเกาะเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร ตั้งอยู่นอกพระนครฯด้านทิศตะวันตกหรือบริเวณ ทุ่งประเชต

วัดท่าการ้องในปัจจุบันเกิดจากการรวมพื้นที่วัด 2 วัดเข้าด้วยกัน คือ วัดท่า และ วัดการ้อง โดยพื้นที่ของวัดท่าการ้องในปัจจุบันคือพื้นที่ของวัดท่า ส่วนวัดการ้องอยู่ทางทิศใต้ของวัดท่า ปัจจุบันเหลือแต่พระพุทธรูป ซากเจดีย์และรูปปั้นอีกา1ตัว วัดท่าการ้อง ถูกกล่าวในพระราชพงศาวดารหลายครั้ง ในคราวสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดเกล้าให้ พระสุนทรสงคราม ถือพลหมื่นหนึ่ง ตั้งค่ายป้อมจำปาพลเหนือวัดท่า พลใส่เสื้อดำหมวกดำ ตั้งรับกองทัพพม่า แต่สุดท้ายถูกพระมหาอุปราชา(คือพระเจ้าบุเรงนอง)ตีป้อมจำปาพลแตก

ก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ฝ่ายพม่าได้ตั้งค่ายยิงปืนใหญ่ที่วัดท่า กองทัพของกรมอาสาหกเหล่ายกออกไปตีค่ายวัดท่า พม่ายิงปืนถูกนายเริกที่รำดาบอยู่หน้าเรือตกน้ำตาย กองทัพแตกถอยหนีเข้ากรุงศรีอยุธยา และอีกาจากวัดการ้องบินมาเสียบอกตายอยู่บนปลายยอดนภศูลวัดมหาธาตุ นอกจากนี้บริเวณวัดท่าการ้องยังเป็นที่ตั้งของโรงเรือรบน้ำจืดขนาดใหญ่เพื่อเป็นที่เก็บเรือสำเภาและเรือรบน้ำจืด [1]

วัดท่าและวัดการ้องได้รวมวัดกันเป็นวัดท่าการ้อง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

บทความเกี่ยวกับอาคาร หรือ สถานที่สำคัญนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล
  1. http://www.xn--12cm1bm5dua0c1alb3vqa.com/index.php/watthakarong-ayutthaya.html?showall=1&start=0

ใกล้เคียง

วัดท่าหลวง (จังหวัดพิจิตร) วัดท่าถนน (จังหวัดอุตรดิตถ์) วัดท่าขนุน วัดท่าไชยศิริ วัดท่าไม้ (จังหวัดสมุทรสาคร) วัดท่าตอน วัดท่าพระ (กรุงเทพมหานคร) วัดท่าการ้อง วัดท่าโพธิ์วรวิหาร วัดท่าพูด