สิ่งสำคัญภายในวัด ของ วัดบำเพ็ญจีนพรต

วิหารพระรัตนตรัย

เป็นวัดที่มีพุทธวิหารพระรัตนตรัยเล็กที่สุดคือ กว้าง 7.80 เมตร ยาว 10.20 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2338 เป็นอาคารโครงสร้างไม้แบบจีน ผนังก่ออิฐฉาบปูน หลังคาจั่วมุงด้วยกระเบื้องดินเผากาบกล้วยแบบจีน สันหลังคาก่ออิฐปั้นปูน เป็นจั่วปั้นลมตามแบบสถาปัตยกรรมจีน ตามสกุลช่างจีนแต้จิ๋ว ภายในพุทธวิหารประดิษฐานพระประธาน 3 องค์(ภาษาจีนเรียกว่า ซำป๋อฮุก) นั่งทุกองค์ หน้าตักกว้าง 1 เมตร สูง 2 เมตร วัสดุผ้าป่านทาบรัก (ภาษาจีนเรียกว่า โก๋ยติ๋ว-ทกซา) ลงรักปิดทองศิลปะจีน องค์ประดิษฐานอยู่ตรงกลางคือ

พระศากยมุนีพุทธเจ้า (เซกเกียโหม่วหนี่ฮุก) ทรงประทับเป็นประธานแห่งสหาโลกธาตุ คือองค์พระศาสดาแห่งโลกปัจจุบัน ที่มนุษย์และสรรพสัตว์อาศัย ทางขวาของพระศากยมุนีคือ พระอมิตาภะพุทธเจ้า (ออหมี่ถ่อฮุก) ผู้เป็นพระบรมศาสดาแห่งสุขาวดีโลกธาตุทิศตะวันตก และทางซ้ายของพระศากยมุนีคือ พระไภษัชยะคุรุพุทธเจ้า (เอี๊ยะซือฮุก) หรือรวมเป็นพระพุทธรัตนตรัยของมหายาน (ซำป้อฮุก) สองข้างพระประธานเป็นรูปพระอรหันต์ 2 องค์ ทางซ้ายคือพระมหากัสสปะเถระ (รูปภิกษุชรา) ขวาเป็นรูปพระอานนท์เถระ (รูปภิกษุหนุ่ม) วัสดุผ้าป่านทาบรัก ลงรักปิดทองศิลปะจีน

ด้านหน้าพระประธานประดิษฐาน พระจัณฑิอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (จุนที้ผู่สัก) คือปางหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ทรงลักษณะแห่งพุทธมารดา มี 18 กร และมีรูปพระโพธิสัตว์ธรรมบาลยืน 2 องค์ คือพระสกันทโพธิสัตว์และพระสังฆารามโพธิสัตว์ นอกจากนี้ยังมี พระพุทธรูปศิลาขาว 1 องค์ ศิลปะพม่าแบบมัณฑเลย์ พระพุทธรูปโลหะ 3 องค์ยืน จีวรเป็นลายดอก ศิลปะไทยแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้น

พระอรหันต์ 18 องค์ นั่ง วัสดุผ้าป่านทาบรักลงรักปิดทอง ศิลปะจีน สองข้างพระประธาน มุมด้านในวิหารประดิษฐานรูปเทพท้องถิ่นของจีนที่ทำหน้าที่เป็นธรรมบาลคุ้มครองรักษาวัด คือ เทพเจ้ากลุ่มดาวเหนือ หรือเฮี่ยงเทียงเสี่ยงตี่ ศิลปะจีน และรูปพระสังฆารามปาลโพธิสัตว์หรือเทพกวนอู (แคนำผู่สัก) ศิลปะจีน เทพสององค์นี้เป็นเทพท้องถิ่นจีนที่ชาวบ้านเลื่อมใสมาก

วิหารพระเมตไตรยโพธิสัตว์ อยู่ด้านหน้าวิหารพระรัตนตรัย ประดิษฐานพระศรีอารยเมตไตรยโพธิสัตว์ (หมี่เล็กผู่สัก) หันพระพักตร์สู่ประตูทางเข้าวัด และรูปพระสกันทะโพธิสัตว์ (อุ่ยท้อผู่สัก)ทำด้วยกระดาษ หันพระพักตร์สู่วิหารพระรัตนตรัย มุมสุดท้ายคือเทพเจ้าจี้กงและเทพเจ้าอื่นๆ

แขวง
ประวัติศาสตร์
  • อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร
  • เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
ภูมิศาสตร์
เศรษฐกิจ
คมนาคม
ธุรกิจ
สังคม
การศึกษา
สาธารณสุข
วัฒนธรรม

ใกล้เคียง

วัดบำเพ็ญเหนือ วัดบำเพ็ญจีนพรต วัดบำรุงรื่น วัดบำรุงธรรมราษฏร์ศรัทธาราม วัดบำเพ็ญวิหารธรรม วัดบางกุ้ง วัดกำแพงแลง วัดบ้านไร่ (อำเภอด่านขุนทด) วัดกำแพง (เขตบางขุนเทียน) วัดบ้านอรุณพัฒนา