ประวัติ ของ วัดพระพุทธสิหิงค์

วัดพระพุทธสิหิงค์ สร้างขึ้นใน พ.ศ. 1493 โดยพระนางเลือดขาว พระมเหสีของพระยากุมารเจ้าเมืองพัทลุง โดยได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์สำริดองค์หน้าตักกว้าง 9 นิ้ว มาจากลังกา เพื่อไปประดิษฐานยังเมืองนครศรีธรรมราช แต่เรือที่อัญเชิญ ถูกพายุซัดกระหน่ำที่ปากอ่าวอำเภอกันตัง ทำให้เรืออัปปาง แต่พระพุทธสิหิงค์ยังลอยอยู่ติดกับไม้กระดานเรือเพียงแผ่นเดียว พระนางเลือดขาวจึงต่อเรือใหม่ล่องไปทางคลองนางน้อยและได้สร้างวัดขึ้น ใกล้กับทุ่งนาของชาวบ้าน รวมทั้งสร้างพระอุโบสถประดับถ้วยชามลายครามรวมทั้งพระประธานครอบพระพุทธสิหิงค์องค์เล็ก และสร้างพระพุทธสิหิงค์องค์ใหม่ ซึ่งมีขนาดเท่ากัน มาตั้งหน้าพระประธาน แล้วตั้งชื่อวัด มีชื่อเต็มว่า วัดพระศรีสรรเพชญพุทธสิหิงค์ แต่ชาวบ้านเรียกสั้นๆว่าวัดหึงค์ พระประธานและพระพุทธสิหิงค์องค์เล็กจึงเรียกตามชื่อวัดว่าพระหึงค์ไปด้วย โดยได้บันทึกหลักฐานไว้ในเพลาวัดพระพุทธสิหิงค์เป็นหนังสือบุดปฤษนาว่า(ต่อมาหนังสือเพลาได้หายไปจากวัดเมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สันนิษฐานว่าพระลูกวัดหรือเจ้าอาวาสยุคนั้นอาจส่งคืนให้ทางวัดเขียนบางแก้ว ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงแล้วเพราะเมืองตรังอยู่ในเขตสมรภูมิรบ หนังสือบุดปฤษณาอาจไม่ปลอดภัย)ครั้นปีจอ โทศก จุลศักราช ๓๑๒ พระยากุมารกับนางเลือดขาวก็เที่ยวไป ๗ วันถึงตรัง แขวงเมืองนครศรีธรรมราช พระยากุมารก็ทำพระพุทธรูปเป็นพระบรรทมที่ตรังนั้นองค์หนึ่ง และเมื่อกลับจากลังกาสิงหฬนั้น นางเลือดขาวจึงสร้างอารามพระศรีสรรเพชญพุทธสิหิงค์ ณ ที่พักที่ตรังอีกอารามหนึ่ง เขียนจารึกไว้ ลงวันอาทิตย์ เดือน ๖ แรม ๕ ค่ำ แสดงให้เห็นว่าสมัยนั้นมีเมืองตรังแล้วและยังบ่งบอกว่าเมืองตรังเป็นเมืองท่าเรือมาเป็นเวลานานก่อนยุคอาณาจักรศรีวิชัย พระพุทธสิหิงค์ก็ได้เป็นที่นับถือของชาวบ้านตลอดมาในวันสงกรานต์ก็จะอัญเชิญไปร่วมสรงน้ำ ต่อมาวัดพระพุทธสิหิงค์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2451 พ.ศ. 2476 พระพุทธสิหิงค์องค์จำลองได้อัญเชิญไปยังวัดหัวถนน ตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง เพราะที่วัดพระพุทธสิหิงค์มีพระพุทธสิหิงค์อยู่แล้วถึง 2 องค์ อีกทั้งวัดพระพุทธสิหิงค์จะเกิดสภาวะน้ำท่วมประจำและง่ายต่อการอัญเชิญไปให้ประชาชนสรงน้ำในวันสงกรานต์และยังอยู่ใกล้บ้านคุณพระนรากรบริรักษ์ ท่านเจ้าเมืองตรังในขณะนั้นที่สำคัญยังปลอดภัยกว่าไว้ที่วัดพระพุทธสิหิงค์เพราะยุคนั้นขุนโจรทางปักษ์ใต้ระบาดหนักมาก ต่อมาพระพุทธสิหิงค์จำลองได้หายไปจากวัดหัวถนน ในวันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2526 วัดพระพุทธสิหิงค์ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งแรก พ.ศ. 2526 ช่างที่บูรณปฏิสังขรณ์ได้ทำการฉาบเครื่องถ้วยชามลายครามประดับพระอุโบสถจึงเป็นที่น่าเสียดายอย่ามาก บางส่วนทางวัดก็สามรถเก็บรักษาไว้ได้ สาเหตุที่ต้องมีการบูรณะพระอุโบสถใหม่เพราะพระอุโบสถหลังเดิมมีอายุนับร้อยๆปีและอยู่ในสภาพทรุดโทรมมากรวมทั้งมีกลุ่มโจรมาแกะโขมยเครื่องถ้วยชามข้างพระอุโบสถ เคื่องถ้วยชามบางใบทางวัดสาามรถแกะลงมาและนำไปเก็บไว้รักษาได้แต่บางใบไม่สามารถแกะลงมาได้จึงจำเป็นต้องนำปูนมาโบกฉาบทับไว้ วัดพระพุทธสิหิงค์บางช่วงก็เกือบจะเป็นวัดร้าง ต่อมามีการลื่อว่าพระพุทธสิหิงค์องค์เล็กไปตกอยู่ในการครอบครองของปลัดกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่ง แต่ไม่สามารถนำคืนมาได้เนื่องจากคนที่ครองครองกลัวโดนจับกุมและไม่มีการเปิดบ้านพิสูจน์ จึงให้สร้างองค์จำลองกลับให้ทางวัด ปัจจุบันพระวินัยธรกวี ฐิตคุโน เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ. 2554 ทางวัดพระพุทธสิหิงค์ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถครั้งที่ 2 ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงการบูรณปฏิสังขรณ์

ใกล้เคียง

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดพระธรรมกาย วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร