วันศารทวิษุวัต

วันศารทวิษุวัต (ญี่ปุ่น: 秋分の日; โรมาจิ: Shūbun no Hi) เป็นวันหยุดราชการในประเทศญี่ปุ่นและหนึ่งในช่วงระยะเวลา 7 วันที่เรียกว่า "อากิ โนะ ฮิกัง (ญี่ปุ่น: 秋の彼岸; ปรโลกแห่งฤดูใบไม้ร่วง)"[1] ตรงกับวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตรงได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดีในฤดูใบไม้ร่วง โดยส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่างช่วงวันที่ 22 ถึง 24 ของเดือนกันยายนของทุกปี[2] วันศารทวิษุวัตได้ถือปฏิบัติขึ้นภายหลังจากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญหลังสงครามญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1947 และเพื่อทดแทนวัน "ชูกิ โคเรไซ (ญี่ปุ่น: 秋季皇霊祭; โรมาจิ: Shūki Koreisai)" ที่มีความเป็นศาสนาเสียมากกว่า[3]ในวันดังกล่าว ตามความเชื่อของศาสนาพุทธ เมื่อเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน พระพุทธเจ้าจะช่วยวิญญาณเร่ร่อนก้าวข้ามผ่านระหว่างโลกกับนิพพาน เพราะฉนั้น ครอบครัวในญี่ปุ่นจึงเดินทางมายังหลุมศพของบรรพบุรุษของตน ทำความสะอาดวางดอกไม้ และไหว้เพื่อเป็นการแสดงความเคารพหลุมศพ[4] เป็นความเชื่อที่ว่าหากทำเช่นนั้นแล้ว จะช่วยบรรพบุรุษก้าวข้ามไปสู่นิพพานได้ นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าวันศารทวิษุวัตเป็นช่วงเวลาที่แนวกั้นระหว่างโลกมนุษย์และสวรรค์บางที่สุด[5][6]

วันศารทวิษุวัต

ส่วนเกี่ยวข้อง วันวสันตวิษุวัต
ความสำคัญ การเริ่มต้นของฤดูใบไม้ร่วงในประเทศญี่ปุ่น
ประเภท วันหยุดราชการ
ชื่อ 秋分の日 (Shūbun no Hi)
การเฉลิมฉลอง การไหว้บรรพบุรุษ
การถือปฏิบัติ  ญี่ปุ่น
วันที่ วันศารทวิษุวัต
ความถี่ ทุกปี