ประชากร ของ วันอิสรภาพเมืองจันทบุรี

จากประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยปี พ.ศ. 2560 รายงานว่า จังหวัดจันทบุรีมีประชากร 532,466 คน คิดเป็นอันดับที่ 46 ของประเทศ[ต้องการอ้างอิง] มีความหนาแน่นของประชากร 82.71 คนต่อตารางกิโลเมตร โดยบริเวณที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดในจังหวัดอยู่ที่เขตเทศบาลเมืองขลุง ซึ่งมีความหนาแน่นของประชากร 3,772 คนต่อตารางกิโลเมตร[33] ประชากรของจังหวัดจันทบุรีส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมืองจันทบุรี โดยมีประชากรอาศัยอยู่ร้อยละ 25.03 ส่วนอำเภอที่มีประชากรอาศัยอยู่น้อยที่สุดคืออำเภอเขาคิชฌกูฏ โดยมีประชากรอาศัยอยู่เพียงร้อยละ 5.33 ของประชากรทั้งจังหวัด[71] ประชากรจังหวัดจันทบุรีบางส่วนเดินทางย้ายถิ่นฐานไปยังจังหวัดอื่น โดยส่วนใหญ่แล้วเพื่อหางานทำในจังหวัดนั้น ๆ[72] ประชากรชาวจันทบุรีส่วนมากมีสัญชาติไทยคิดเป็นร้อยละ 94.82 รองลงมามีสัญชาติกัมพูชาร้อยละ 2.90 สัญชาติลาวร้อยละ 1.20 ที่เหลือเป็นประชากรสัญชาติอื่น ๆ ในจำนวนนี้มีชาวยุโรป 397 คนและชาวแอฟริกัน 561 คนรวมอยู่ด้วย[73]

จำนวนประชากร

เมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดจันทบุรี
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น[74]
อันดับชื่ออำเภอประชากรอันดับชื่ออำเภอประชากร

จันทบุรี

ทับช้าง
1จันทบุรีเมืองจันทบุรี28,01111หนองตาคงโป่งน้ำร้อน8,736
จันทนิมิต

ขลุง
2ทับช้างสอยดาว15,46112พลับพลานารายณ์เมืองจันทบุรี8,735
3จันทนิมิตเมืองจันทบุรี14,00813พวาแก่งหางแมว7,662
4ขลุงขลุง11,96614โป่งน้ำร้อนโป่งน้ำร้อน7,525
5ทรายขาวสอยดาว11,49315สองพี่น้องท่าใหม่7,382
6ท่าช้างเมืองจันทบุรี10,86416ปัถวีมะขาม7,066
7เกาะขวางเมืองจันทบุรี10,32617บ่อขลุง6,831
8ท่าใหม่ท่าใหม่10,25818มะขามเมืองใหม่มะขาม6,598
9ค่ายเนินวงเมืองจันทบุรี10,18519พลวงเขาคิชฌกูฏ6,184
10ปากน้ำแหลมสิงห์แหลมสิงห์9,23520คลองพลูเขาคิชฌกูฏ6,043

ภาษา

ชาวจันทบุรีใช้ภาษาไทยแบบภาคกลางเป็นภาษาทางราชการและใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามภาษาไทยที่ชาวจันทบุรีใช้พูดนั้นจะมีสำเนียงและหางเสียงที่แปลกจากภาษาไทยภาคกลาง[75] มีคำบางคำที่เป็นภาษาถิ่นเฉพาะ เช่น การใช้คำว่า ฮิ เป็นคำสร้อย การเรียกยายว่า แมะ เป็นต้น[76] นอกจากนี้แล้วในจังหวัดจันทบุรียังพบภาษาท้องถิ่นในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกที่สำคัญอีก 1 ภาษา คือ ภาษาชอง ซึ่งเป็นภาษาที่พูดโดยชาวชอง ส่วนใหญ่แล้วชาวชองมักตั้งถิ่นฐานในอำเภอมะขาม อำเภอโป่งน้ำร้อนและอำเภอเขาคิชฌกูฎ[77] [78] ในปัจจุบันภาษาชองกำลังตกอยู่ในภาวะสูญหาย เนื่องจากพลเมืองชาวชองประมาณ 6,000 คน มีผู้ที่สามารถพูดภาษาชองได้เพียงแค่ 500 คนเท่านั้น[79] ในส่วนของภาษาอื่น ๆ ที่มีประชากรในจังหวัดใช้สื่อสารในครัวเรือนเกิน 1,000 คนขึ้นไป ได้แก่ ภาษาเขมร ภาษาลาว ภาษาพม่าและภาษาอังกฤษ[80]

ศาสนา

ภายในของอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล

จากการสำมะโนประชากรของจังหวัดจันทบุรีในปี พ.ศ. 2553 พบว่า ประชากรส่วนมากในจังหวัดจันทบุรีนับถือศาสนาพุทธคิดเป็นร้อยละ 97.95 รองลงมานับถือศาสนาคริสต์คิดเป็นร้อยละ 1.22 ศาสนาอิสลามคิดเป็นร้อยละ 0.40 ศาสนาฮินดูคิดเป็นร้อยละ 0.03 ศาสนาอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.23 และมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.17[81] ในกลุ่มศาสนิกชนที่นับถือศาสนาอื่นนอกเหนือจากศาสนาพุทธส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล[81] ในส่วนของคริสต์ศาสนิกชนในจังหวัดจันทบุรีพบมากที่สุดในเขตเทศบาลเมืองจันทนิมิตโดยมีผู้นับถือศาสนาคริสต์ถึงร้อยละ 50 จากประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล[82]

ใกล้เคียง

วันอิสรภาพเมืองจันทบุรี วันอิสระภาพแห่งชาติ (ประเทศโปแลนด์) วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันออกพรรษา วัดอินทรวิหาร วันอัส วันมิลเลียนดอลลาร์พารานอร์มัลชาเลนจ์ วัดอินทารามวรวิหาร