บทความวิชาการ ของ วารสารวิชาการ

ในวงวิชาการ นักวิชาการและนักวิชาชีพจะยื่นเสนอบทความของตนที่ไม่ได้รับการเชื้อเชิญโดยตรงจากบรรณาธิการ เพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เมื่อได้รับต้นฉบับบทความแล้ว บรรณาธิการหรือคณะบรรณาธิการจะพิจารณาตรวจบทความว่าสมควรรับหรือไม่รับไว้ในทันทีก็ได้ หรืออาจเริ่มกระบวนการตรวจแก้คุณภาพโดยผู้รู้ในสาขาวิชา ในกรณีหลัง บทความยื่นเสนอจะกลายเป็นเอกสารลับที่ปกปิดชื่อผู้เขียนเพื่อดำเนิน การทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน (peer-review) ซึ่งเป็นบุคคลผู้รู้ภายนอกที่บรรณาธิการเป็นผู้เลือก จำนวนผู้ตรวจแก้ หรือ "กรรมการ" ผู้ตรวจแก้ไม่ตายตัว โดยทั่วไปมีจำนวน 3 คน แต่จะต้องไม่น้อยกว่า 2 คน บรรณาธิการอาศัยความเห็นของคณะผู้ตรวจแก้เป็นเครื่องตัดสินว่าบทความที่บุคคลผู้นั้นเสนอมาสมควรได้รับการตีพิมพ์หรือไม่ (ดูกระบวนการนี้ในบทความหลักเรื่อง "การทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน")

ในบางกรณี บทความที่ผ่านการตรวจแก้และได้รับการยอมรับให้ลงพิมพ์ได้ยังต้องผ่านขั้นตอนการตรวจแก้อย่างละเอียดถี่ถ้วนอีกครั้งหนึ่งโดยคณะบรรณาธิการก่อนส่งแท่นพิมพ์ เนื่องจากกระบวนการตรวจแก้และยอมรับบทความใช้เวลายาวนาน บทความที่เสนอและได้รับการตีพิมพ์จึงใช้เวลานานนับเดือน หรืออาจถึงปีนับจากวันที่บรรณาธิการได้รับบทความ

กระบวนการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันนับเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับผลงานวิจัยและความรู้ใหม่ในสาขาวิชานั้นๆ นักปราชญ์หรือผู้รู้ย่อมเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งเฉพาะในสาขาวิชาของตน ดังนั้น นักวิชาการจึงต้องอาศัยวารสารวิชาการที่ผ่านกระบวนการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันเท่านั้นเพื่อเป็นการพิสูจน์ความถูกต้อง สร้างความเชื่อถือและความเลื่อมใสให้เกิดแก่งานวิจัยนั้นๆ และความรู้ใหม่ นอกจากนี้ วารสารวิชาการยังช่วยสร้างความต่อเนื่องหรือการต่อยอดสืบจากงานค้นคว้าวิจัยหรือความรู้ใหม่จากบุคคลในวงวิชาการนั้นๆ ต่อไป

ใกล้เคียง

วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ วารสารวิชาการ วารสารศาสตร์ข้อมูล วารสารสมาคมวิจัยพม่า วารสารศาสตร์เชิงคำนวณ วารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ วารสารเมืองโบราณ วารสารศาสตร์ วารสารประวัติศาสตร์ วารสารฟ้าเดียวกัน