เกียรติภูมิ ของ วารสารวิชาการ

วารสารวิจัยประเภทต่างของต่างประเทศที่มีการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน

เกียรติภูมิ หรือชื่อเสียงของวารสารวิชาการแต่ละวารสารได้มาด้วยเวลาที่ยาวนานและด้วยปัจจัยสะท้อนหลายอย่าง บางวารสาร แต่ไม่ใช่ทั้งหมดที่สามารถสะท้อนเกียรติภูมิได้ด้วยเชิงปริมาณ ในแต่ละสาขาวิชาการมักจะมีวารสารที่โดดเด่นอยู่ท่ามกลางวารสารวิชาการอื่นๆ ในสาขาเดียวกัน ซึ่งบ่งชี้โดยจำนวนผู้ยื่นบทความเพื่อขอให้พิจารณาตีพิมพ์เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีผลทำให้วารสารฉบับนี้มีบทความดีๆ มาให้ตรวจสอบและคัดสรรเชิงคุณภาพได้มากกว่าวารสารฉบับอื่น แต่ไม่แน่เสมอไปที่วารสารวิชาการขนาดใหญ่ที่สุดดังกล่าวจะได้รับการยอมรับว่าดีที่สุด ตัวอย่างเช่นในวงการวิชาการประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ซึ่งมีวารสารขนาดใหญ่ที่โดดเด่นอยู่ 2 ฉบับ คือ "ประวัติศาสตร์อเมริกันปริทัศน์" (en:American Historical Review American Historical Review) และ "วารสารประวัติศาสตร์อเมริกัน" (Journal of American History) และมีวารสารวิชาการประวัติศาสตร์เฉพาะเรื่องที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้รู้เสมออีกนับสิบฉบับที่เจาะลึกเน้นตามช่วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์ เน้นตามลักษณะเนื้อหา เช่น เฉพาะประวัติศาสตร์สงคราม หรือเน้นตามภูมิภาค ซึ่งวารสารวิชาการเหล่านี้ แม้จะเล็กและแคบ แต่ก็ได้รับการยอมรับในคุณภาพว่าอยู่ในระดับสูงมากไม่แพ้วารสารประวัติศาสตร์โดยรวมขนาดใหญ่ดังกล่าว

ในสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสาขาสังคมศาสตร์ที่ลงลึก มักยึด "ปัจจัยผลกระทบ" (impact factor) เป็นตัวชี้วัดหรือเป็นตัวสะท้อนเกียรติภูมิที่แจงนับได้ โดยการนับจำนวนผู้อ้างอิงบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนั้น นอกจากนี้ยังมีวิธีแจงนับเชิงปริมาณแบบอื่น เช่นการได้รับการอ้างอิงโดยรวม จากความรวดเร็วที่บทความในวารสารได้รับการอ้างอิง หรือจาก "เวลาครึ่งชีวิต" โดยเฉลี่ยของบทความ เช่น เมื่อบทความของวารสารไม่ได้รับการอ้างอิงอีกต่อไป มีการตั้งคำถามว่าปัจจัยผลกระทบที่นำมาใช้ชี้วัดเชิงปริมาณดังกล่าวนี้สามารถสะท้อนให้เห็นเกียรติภูมิที่แท้จริงของสารสารได้หรือไม่ วารสารสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติได้รับการยอมรับและจัดระดับโดย "ดัชนีอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์" (Science Citation Index) และวารสารวิชาการสาขาสังคมศาสตร์ใช้ "ดัชนีอ้างอิงสังคมศาสตร์" (Social Science Citation Index)

ในสาขามนุษยศาสตร์ (humanities) โดยเฉพาะแนวอังกฤษ-อเมริกันไม่มีวิธีการตายตัวที่ใช้ในการแจงนับ "ปัจจัยผลกระทบ" เพื่อนำมาใช้ในการจัดระดับวารสารดังที่ใช้กับสาขาวิทยาศาสตร์ เหตุผลอาจเป็นเพราะว่าวารสารวิชาการไม่ใช่ตัวชี้วัดสำคัญเพียงอย่างเดียวที่สามารถนำมาใช้ได้ในการจัดระดับชื่อเสียงหรือเกียรติภูมิของวารสารวิชาการสาขามนุษยศาสตร์

ใกล้เคียง

วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ วารสารวิชาการ วารสารศาสตร์ข้อมูล วารสารสมาคมวิจัยพม่า วารสารศาสตร์เชิงคำนวณ วารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ วารสารเมืองโบราณ วารสารศาสตร์ วารสารประวัติศาสตร์ วารสารฟ้าเดียวกัน