วิกฤตการณ์ในประเทศเวเนซุเอลา

วิกฤตการณ์ทางสังคมเศรษฐกิจและการเมืองเริ่มขึ้นในประเทศเวเนซุเอลาในปี 2553 ภายใต้ประธานาธิบดีอูโก ชาเบซและดำเนินต่อมาจนประธานาธิบดีนิโกลัส มาดูโรคนปัจจุบัน สถานการณ์ปัจจุบันเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์เวเนซุเอลา[1] และนับเป็นวิกฤตครั้งเลวร้ายที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ในทวีปอเมริกา[2][3] โดยมีภาวะเงินเฟ้อเกิน ความอดอยากสูง โรค อาชญากรรมและอัตราตาย และการย้ายออกนอกประเทศขนานใหญ่[4] ผู้สังเกตการณ์และนักเศรษฐกิจแถลงว่า วิกฤตดังกล่าวมิใช่ผลลัพธ์แห่งความขัดแย้งหรือภัยธรรมชาติแต่เป็นผลพวงจากนโยบายประชานิยมซึ่งเริ่มตั้งแต่การปฏิวัติโบลิบาร์ของรัฐบาลชาเบส[5][6][7][8][9][10] โดยสถาบันบรุกคิงส์แถลงว่า "ประเทศเวเนซุเอลากลายเป็นตัวแทนให้เห็นว่าการฉ้อราษฎร์บังหลวง การบริหารเศรษฐกิจผิดพลาด และการปกครองซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตยสามารถนำไปสู่ความทรมานอย่างกว้างขวางได้อย่างไรโดยแท้"[11]วันที่ 2 มิถุนายน 2553 ประธานาธิบดีชาเบสประกาศ "สงครามเศรษฐกิจ" เนื่องจากความขาดแคลนที่เพิ่มขึ้นในประเทศ วิกฤตดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้นภายใต้รัฐบาลมาดูโร และผลจากราคาน้ำมันที่ถูกในต้นปี 2558[12][13] และปริมาณการผลิตน้ำมันที่ลดลงเนื่องจากขาดการบำรุงรักษาและการลงทุน รัฐบาลไม่สามารถตัดรายจ่ายเมื่อเผชิญกับรายได้จากน้ำมันที่ลดลงและรับมือกับปัญหาโดยปฏิเสธการมีอยู่ของปัญหา[14][15] และปราบปรามการคัดค้านอย่างรุนแรง การฉ้อราษฎร์บังหลวงทางการเมือง การขาดแคลนอาหารและยาอย่างเรื้อรัง การปิดบริษัท การว่างงาน การลดลงของผลิตภาพ ลัทธิอำนาจนิยม การละเมิดสิทธิมนุษยชน การบริหารเศรษฐกิจมวลรวมที่ผิดพลาด และการพึ่งพาน้ำมันอย่างสูงล้วนส่งเสริมให้วิกฤตนี้เลวร้ายลง การหดตัวของจีดีพีประชาชาติและต่อหัวในประเทศเวเนซุเอลาตั้งแต่ปี 2556–60 รุนแรงกว่าสมัยสหรัฐระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หรือของประเทศรัสเซีย คิวบาและอัลเบเนียหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต[16][17] อัตราเงินเฟ้อต่อปีสำหรับราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละหลายแสน ส่วนเศรษฐกิจหดตัวเกือบร้อยละ 20 ต่อปีในปี 2559[18] เมื่อปลายปี 2561 เงินเฟ้อแตะร้อยละ 1.35 ล้านวิกฤตดังกล่าวมีผลต่อชีวิตของชาวเวเนซุเอลาโดยเฉลี่ยทุกระดับ ในปี 2560 ความอดอยากรุนแรงถึงขั้นที่ประชากรเกือบร้อยละ 75 มีน้ำหนักลดลงกว่า 8 กิโลกรัม เกือบร้อยละ 90 ยากจน และกว่าครึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการอาหารขั้นพื้นฐาน[19] นับตั้งแต่เริ่มวิกฤตจนถึงปี 2560 ชาวเวเนซุเอลากว่า 2.3 ล้านคนออกนอกประเทศ เวเนซุเอลาเป็นประเทศที่มีอัตราการฆ่าคนสูงสุดในโลก โดยมีผู้ถูกฆ่า 90 ต่อ 100,000 คนในปี 2558

ใกล้เคียง

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2549 วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 วิกฤตรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ค.ศ. 1975 วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิกฤตการณ์ในประเทศเวเนซุเอลา http://news.chosun.com/site/data/html_dir/2018/05/... http://www.el-nacional.com/noticias/gobierno/delcy... http://www.nybooks.com/articles/2018/03/08/venezue... http://www.annalsofglobalhealth.org/articles/10.29... //doi.org/10.29024%2Faogh.2325 http://www.independent.org/news/article.asp?id=907... //www.worldcat.org/issn/0190-8286 //www.worldcat.org/issn/0362-4331 //www.worldcat.org/issn/2214-9996 https://foreignpolicy.com/2013/03/07/the-house-tha...