หลักการทั่วไป ของ วิกิพีเดีย:ชื่อบทความ

ชื่อหัวข้อควรเป็นอักษรไทย

ในการสะกดถ้าชื่ออย่างเป็นทางการในภาษาไทย ไม่ตรงกับหลักการทับศัพท์ ให้ถือชื่ออย่างเป็นทางการเป็นหลัก เช่น

สำหรับคำที่ยังไม่มีการบัญญัติ สามารถเขียนทับศัพท์ตามหลักการเขียนคำทับศัพท์ หรือคงชื่อในภาษาอื่นไว้ พร้อมกับติดป้ายไว้บนส่วนหัว ว่า {{ชื่อภาษาอื่น}} หรือ {{ชื่อภาษาอื่น|เหตุผล}} เพื่อให้ผู้อื่นช่วยหาคำทับศัพท์ที่เหมาะสม

ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นบางประการที่ไม่ต้องใช้อักษรไทยเป็นชื่อบทความ ได้แก่:

  1. ตัวอักษรที่อ่านแตกต่างกันในสำเนียงภาษาอื่น ให้คงรูปต้นฉบับ (เช่น อักษรละติน: A B C...) ไม่รวมถึงอักษรที่มีชื่อเดียวในทุกภาษา (อักษรกรีกและอักษรอาหรับ) สามารถแทนคำอ่านภาษาไทยได้ ชุดอักษรเมื่อตั้งชื่อแบบใดแล้วก็ควรตั้งชื่อเหมือนกันทั้งชุด รวมทั้งอักษรย่อและชื่อโดเมน
  2. ใช้ตัวเลขในชื่อบทความ ในกรณีต่อไปนี้
    1. กรณีวิสามานยนามที่มีชื่อสามารถออกเสียงแตกต่างกันในแต่ละสำเนียงภาษาให้คงตัวเลขไว้ และถ้าต้นฉบับตัวเลขเขียนติดกับตัวหนังสือโดยไม่เว้นวรรค ก็ให้เขียนติดกันด้วย (เช่น วิตามินบี1 โนเกีย เอ็น95)
    2. พระนามพระมหากษัตริย์หรือชื่อบุคคลที่มีเลขโรมัน ให้ใช้ว่า "ที่ x" แทนเลขโรมัน
  3. ให้ถอดเสียงอ่านตัวเลขในกรณีต่อไปนี้
    1. วิสามานยนามที่มีวิธีอ่านวิธีเดียวให้ถอดเสียงคำอ่าน เช่น "GOT7" เป็น ก็อตเซเวน
    2. หากคงเลขไว้แล้วไม่สามารถอ่านได้ เช่น "5ive" ให้ถอดเสียงเป็น "ไฟฟ์"
    3. ชื่อที่ใช้ตัวเลขเป็นคำพ้องเสียง เช่น "Crazy 4 U" ให้ใช้ว่า "เครซีโฟร์ยู"
    4. วิสามานยนามที่มีจำนวนเชิงการนับ (cardinal number) ให้ถอดเสียงอ่าน เช่น "The 5th Dimension" เป็น "เดอะฟิฟต์ไดเมนชัน"
  4. เครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ ตามชื่อต้นฉบับที่อ่านไม่ได้หรือไม่อ่านออกเสียง
  5. ชื่อฟังก์ชันที่มีความสำคัญในการเขียนโปรแกรม เช่นมีการใช้หลายภาษา มีประวัติหรือผลกระทบมาก
  6. ชื่อไฟล์เฉพาะ อาทิ ไลบรารี เฮดเดอร์ (เช่น math.h stdio.h) และคำสั่งพื้นฐานสำหรับบรรทัดคำสั่ง (เช่น chgrp chmod chown env expr) ตลอดจนแป้นบนคีย์บอร์ดต่าง ๆ (เช่น Control-Alt-Delete)

การใช้เครื่องหมายในชื่อบทความ

พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ วงเล็บ หรือเครื่องหมายอื่นที่ไม่เกี่ยวกับชื่อบทความ ถ้าไม่จำเป็น

วงเล็บต่อท้ายใช้เพื่อแก้ความกำกวม เช่น บาท (สกุลเงิน) กับ บาท (ร้อยกรอง) และในการเขียนให้เว้นวรรคระหว่างคำและวงเล็บ เช่น บาท (สกุลเงิน) ไม่ใช่ บาท(สกุลเงิน) ถ้าคำมีความหมายเดียว หรือไม่คาดว่าจะกำกวมกับเรื่องอื่น ให้ใช้ บัว แทนที่จะเป็น บัว (พรรณไม้)

ถ้าจำเป็นต้องใช้ยัติภังค์แสดงช่วงปีหรือความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่ง ให้ใช้ en dash เช่น พ.ศ. 2550–2558 (ในแถบแทรกอักษร อยู่ก่อน em dash) ส่วนการลบหรือตัวเลขติดลบให้ใช้เครื่องหมายลบ เช่น UTC−10 (ในแถบแทรกอักษร อยู่ก่อนเครื่องหมายคูณ)

ข้อจำกัดทางเทคนิค

เนื่องจากข้อจำกัดทางเทคนิค ทำให้ไม่สามารถตั้งชื่อบทความที่

  1. ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเล็ก
  2. มีอักขระ # < > [ ] | { } _ ปรากฏในชื่อ เนื่องจากมีความหมายพิเศษในวิกิ (สำหรับ _ จะถูกเปลี่ยนเป็นช่องว่าง)
    • วิธีแก้ไข อาจใช้เครื่องหมายดอกจัน (*) แทนอักขระที่ไม่สามารถใช้ได้ไปพลาง
  3. ขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยช่องว่างหรือ _ ตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป (จะถูกตัดออก)
  4. ขึ้นต้นด้วย : เนื่องจากหมายถึงเนมสเปซหลัก
  5. มีชื่อว่า . หรือ .. หรือขึ้นต้นด้วย ./ หรือ ../ หรือมี /./ หรือ /../ ปรากฏในชื่อ หรือลงท้ายด้วย /. หรือ /..
  6. ยาวเกินกว่า 255 ไบต์ จำนวนอักษรในยูนิโคดจึงอาจบรรจุได้น้อยกว่านี้
    • วิธีแก้ไข ให้ยกชื่อมาเท่าที่มากได้แล้วใช้เครื่องหมาย หรือใช้ตัวย่อ
  7. ขึ้นต้นด้วยรหัสภาษาของวิกิพีเดียและโครงการอื่นตามด้วย : ดูเพิ่มที่วิธีใช้:ลิงก์ข้ามภาษาและวิธีใช้:ลิงก์ข้ามโครงการ

ให้ใช้แม่แบบ {{ชื่อผิด|_ชื่อบทความที่ถูก_}} ใส่ไว้บนสุดในบทความแทน

หมายเหตุ: อาจใช้เครื่องหมาย * (ดอกจัน) เพื่อให้เครื่องหมายดังกล่าวแทนตัวอักษร อักขระหรือเครื่องหมายข้างต้น ทำนองเดียวกับเสิร์ชเอนจิน ทั้งนี้ อาจเขียนกำกับไว้ส่วนหัวของบทความว่า แท้จริงแล้วบทความชื่ออะไร

การเว้นวรรคระหว่างคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ

ถ้าเป็นคำเดียวกันหลายพยางค์ของคำภาษาอังกฤษให้เขียนติดกันไม่เว้นวรรค เช่น เซาท์พาร์ก (South Park) หรือ วินโดวส์วิสตา (Windows Vista)

ยกเว้น การเว้นวรรคระหว่างชื่อเจ้าของผลิตภัณฑ์ และรุ่นผลิตภัณฑ์ เพื่อแยกให้เห็นชื่อเด่นชัด เช่น ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, ฮอนด้า แอคคอร์ด, โตโยต้า เซลิก้า

บทความที่เป็นการรวบรวมรายการ

สำหรับบทความที่มีลักษณะรวบรวมรายการ ให้ขึ้นต้นด้วยคำว่า "รายชื่อ" สำหรับรายการของวิสามานยนามหรือชื่อเฉพาะ (proper name) ล้วน ส่วนกรณีที่เหลือทั้งหมด ให้ใช้ "รายการ" เช่น

สำหรับบทความที่รวบรวมรายการพระนามเจ้า ให้ใช้ "รายพระนาม" และหากมีทั้งเจ้าและสามัญชน ให้ใช้ "รายพระนามและชื่อ"

ข้อสังเกต (เขียนแทรกในบรรทัดหรือเขียนเป็นอรรถาธิบายด้านล่าง) "วิสามานยนาม" หมายถึง "คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสำหรับเรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ชัดว่าเป็นใครหรืออะไร" วิสามานยนามหรือชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อบุคคล, ชื่อกลุ่มบุคคลหรือองค์การ, ชื่อสิ่งมีชีวิตเป็นตัว ๆ เช่น ช่วงช่วง หลินฮุ่ย, ชื่อสิ่งของ, ชื่อเหตุการณ์, ชื่อสถานที่ เป็นต้น ส่วนชื่อธาตุและสารประกอบ ชื่อรุ่นของผลิตภัณฑ์ เป็นสามานยนาม

สำหรับรายชื่อตอน หรือรายชื่อตัวละคร ให้เขียนในลักษณะ

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา