ชื่อบุคคล ของ วิกิพีเดีย:ชื่อบทความ

หลักการทั่วไปคือให้ใช้ชื่อที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด โดยไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อ รวมทั้ง นาย/นาง/นางสาว คุณหญิง/ท่านผู้หญิง หรือ ยศ และตำแหน่งวิชาการ ดูเพิ่มที่ ยศหรือตำแหน่ง

คำนำหน้าพระนามของกษัตริย์

  • ให้กษัตริย์ไทยที่ราชาภิเษกแล้ว ใช้คำนำหน้าชื่อว่า "พระบาทสมเด็จพระ" ถ้ายังไม่ราชาภิเษก ใช้ "สมเด็จพระ"
  • กษัตริย์ไทยในอดีต ใช้ "สมเด็จพระ" แต่อาจใช้ตามความนิยม เช่น "ขุนหลวง," "พ่อขุน," "พระยา"
  • กษัตริย์ต่างประเทศ ให้ใช้ตามที่ทางราชการของประเทศนั้นๆ ใช้
(จาก คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาจัดทำหนังสือ "ราชาศัพท์" ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ. (๒๕๔๕). ราชาศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. ISBN 9749545508. หน้า ๘-๑๐.)

ชื่อที่มีจุดหลังชื่อ

ชื่อที่มีจุดหลังชื่อ ภาษาไทยหรือภาษาอื่น ให้เว้นวรรคหนึ่งครั้งหลังจุด

ชื่อบุคคลจากภาษาอังกฤษที่ใช้ชื่อต้นตามด้วยนามสกุล

  • ในหัวข้อให้เขียนทับศัพท์ โดยเว้นวรรคระหว่างชื่อและนามสกุล ส่วนในบทความให้เขียนชื่อเดิมในวงเล็บ เช่น
  • สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ ให้อ้างอิงการทับศัพท์จากบทความ การเขียนคำทับศัพท์

ชื่อบุคคลชาวจีน ที่นามสกุลนำหน้า

ชื่อบุคคลชาวจีน มักจะมี 2-5 คำ (หนึ่งคำหมายถึงอักษรจีนหนึ่งตัว) โดยใช้นามสกุล (แซ่) 1-3 คำ ขึ้นต้นก่อนชื่อตัว สำหรับการตั้งชื่อบทความให้ทำดังนี้

  1. เริ่มต้นด้วยนามสกุลแล้วตามด้วยชื่อ เช่น โจว เหวินฟะ โดยเว้นวรรคนามสกุลกับชื่อออกจากกัน
  2. ไม่แยกคำยกย่องออกจากนามสกุล เช่น ขงจื๊อ (คำว่า จื๊อ แปลว่า อาจารย์ ซึ่งหมายถึง อาจารย์ขง)
  3. ใช้หลักการทับศัพท์ภาษาจีนของราชบัณฑิตยสถานสำหรับภาษาจีนกลาง
  4. ใช้คำอ่านแบบไทยที่ใกล้เคียงที่สุดของภาษาจีนสำเนียงอื่น เช่น ภาษาจีนกวางตุ้ง สำเนียงแต้จิ๋ว หากคำอ่านนั้นเป็นที่นิยมกว่า ไม่นำพินอินที่อ่านเป็นภาษาอังกฤษมาใช้ในการตั้งชื่อ เช่น Zǐyí พินอินต้องอ่านเป็น จื่ออี๋ แต่ภาษาอังกฤษอาจอ่านเป็น ซิยี่
  5. หากอ่านไม่ออก หรือไม่แน่ใจว่าทับศัพท์อย่างไร ให้ใช้ภาษาอังกฤษหรือพินอินไปก่อน

ชื่อบุคคลชาวญี่ปุ่น ที่นามสกุลนำหน้า

ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:ภาษาญี่ปุ่น และ ข้อยกเว้นในการทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น

ชื่อบุคคลญี่ปุ่นในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันนิยมเขียนนามสกุลนำหน้าชื่อซึ่งตรงข้ามกับภาษาไทย แต่ในประเทศไทยที่ปรากฏตามเอกสารราชการและหนังสือต่างๆ นิยมเขียนชื่อนำหน้านามสกุล และเพื่อป้องกันการสับสนให้เขียนชื่อภาษาญี่ปุ่นและคำอ่านเป็นโรมะจิในวงเล็บต่อท้าย ยกเว้นชื่อตัวละครในการ์ตูนหรือวรรณกรรมให้ใช้ชื่อเดิม เพื่อใช้ในการอ้างอิง และความสละสลวยของบทความเดิมรวมถึงชื่อในทางประวัติศาสตร์ ตัวอย่างเช่น

ชื่อบุคคลชาวเกาหลี โดยนามสกุลนำหน้า

เริ่มต้นด้วยนามสกุลแล้วตามด้วยชื่อ เช่น โช ซึงฮี โดยเว้นวรรคนามสกุลกับชื่อออกจากกัน

ชื่อบุคคลเวียดนาม โดยนามสกุลนำหน้า

  • สำหรับชื่อสามส่วน (นามสกุล นามสกุลรอง ชื่อ) เริ่มต้นด้วยนามสกุลเขียนนามสกุลนำหน้า และตามด้วยนามสกุลรอง และตามด้วยชื่อ โดยแต่ละส่วนเว้นวรรคจากกัน เช่น งฺเหวียน มิญ เจี๊ยต
  • สำหรับชื่อสองส่วน (นามสกุล ชื่อ) เริ่มต้นด้วยนามสกุล และเว้นวรรคตามด้วยชื่อ

ยศหรือตำแหน่ง

ท่านสามารถทำหน้าเปลี่ยนทางที่นอกเหนือจากกฎเกณฑ์เหล่านี้ได้ตามสมควร

ชื่อพระสงฆ์

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา