การบรรลุความเป็นกลาง ของ วิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง

อย่านำสารสนเทศที่มีแหล่งที่มาออกจากวิกิพีเดียด้วยเหตุผลว่าดูลำเอียง นี่เป็นกฎทั่วไป แต่ให้พยายามเขียนข้อความตอนนั้นใหม่เพื่อให้มีน้ำเสียงเป็นกลางมากขึ้น ปกติสารสนเทศที่ลำเอียงสามารถปรับให้สมดุลกับเนื้อหาที่อ้างจากแหล่งที่มาอื่นเพื่อให้เกิดมุมมองที่เป็นกลางยิ่งขึ้น ฉะนั้น ปัญหาดังกล่าวควรแก้ไขเมื่อเป็นไปได้ผ่านกระบวนการแก้ไขปกติ ให้นำเนื้อหาออกเฉพาะเมื่อคุณมีเหตุผลดีให้เชื่อว่าเนื้อหานั้นลวงหรือชี้นำผู้อ่านอย่างไม่ถูกต้องในทางที่ไม่สามารถจัดการได้ด้วยการเขียนข้อความใหม่

การตั้งชื่อ

ในบางกรณี การเลือกชื่อที่ใช้สำหรับหัวเรื่องอาจปรากฏความลำเอียงได้ แม้โดยทั่วไปควรเลือกคำที่เป็นกลาง แต่ต้องให้สมดุลกับความชัดเจนด้วย หากมีการใช้ชื่อหนึ่งอย่างกว้างขวางในแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เขียนในภาษาอังกฤษ) ผู้อ่านจึงมักรู้กันดี อาจใช้ชื่อนั้นแม้บางคนถือว่าลำเอียงได้ ตัวอย่างเช่น ชื่อที่ใช้แพร่หลาย "การสังหารหมู่บอสตัน" และ "แจ๊คเดอะริปเปอร์" เป็นวิถีที่ชอบสำหรับการเรียกหัวเรื่องที่กำลังกล่าวถึง แม้คำที่ใช้อาจดูตัดสิน ชื่อดีที่สุดที่จะใช้กับหัวเรื่องหนึ่งอาจขึ้นอยู่กับบริบทที่กล่าวถึงหัวเรื่องนั้น การกล่าวถึงชื่อทางเลือกและข้อโต้เถียงเกี่ยวกับการใช้ชื่อทางเลือกอาจเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หัวเรื่องที่กำลังกล่าวถึงเป็นหัวเรื่องหลักที่กำลังอภิปราย

คำแนะนำนี้ใช้กับชื่อเรื่องบทความเป็นพิเศษ แม้อาจมีใช้หลายคำทั่วไป ควรเลือกชื่อหนึ่งเป็นชื่อเรื่องบทความ ต้องกับนโยบายการตั้งชื่อบทความ (และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เช่น ชื่อทางภูมิศาสตร์) ไม่ควรใช้ชื่อเรื่องบทความที่รวมชื่อทางเลือก ตัวอย่างเช่น ไม่ควรใช้ "หมา/สุนัข" หรือ "หมา (Dog)" แต่ควรให้ความโดดเด่นพอดีแก่ชื่อทางเลือกในบทความ แล้วสร้างหน้าเปลี่ยนทางตามความเหมาะสม

ชื่อเรื่องบทความบางชื่ออาจเป็นการพรรณนา ไม่ใช่ชื่อ ชื่อเรื่องพรรณนาควรใช้คำอย่างเป็นกลาง เพื่อไม่แนะมุมมองสนับสนุนหรือคัดค้านหัวข้อหนึ่ง หรือเพื่อจำกัดเนื้อหาของบทความสำหรับข้างที่เจาะจงของประเด็นหนึ่ง (ตัวอย่างเช่น บทความชื่อเรื่อง "การวิพากษ์วิจารณ์ ข" อาจเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "มุมมองทางสังคมต่อ ข" ชื่อเรื่องที่เป็นกลางส่งเสริมหลายมุมมองและการเขียนบทความอย่างมีความรับผิดชอบ

โครงสร้างบทความ

โครงสร้างภายในของบทความอาจต้องการความสนใจเพิ่มเติม เพื่อปกป้องความเป็นกลางและเพื่อเลี่ยงปัญหาอย่างการแบ่งมุมมองและน้ำหนักไม่เหมาะสม เนื่องจากมีกฎว่า โครงสร้างบทความเฉพาะไม่ถูกห้าม จึงต้องใส่ใจเพื่อรับประกันว่าการนำเสนอโดยรวมเป็นกลางในมุมกว้าง

การแบ่งแยกข้อความหรือเนื้อหาอื่นเป็นส่วนหรือส่วนย่อยต่าง ๆ โดยยึดมุมมองปรากฏของเนื้อหาเองอย่างเดียว อาจส่งผลให้เกิดโครงสร้างที่ไม่เป็นสารานุกรมได้ เช่น บทสนทนาโต้ตอบระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้าน นอกจากนี้ ยังสร้างลำดับขั้นข้อเท็จจริงปรากฏซึ่งรายละเอียดในข้อความหลักดู "จริง" และ "ไม่มีข้อพิพาท" ขณะที่เนื้อหาที่แบ่งแยกอื่นดู "มีการโต้แย้ง" และฉะนั้นจึงมีแนวโน้มเป็นเท็จมากกว่า ลองปรับมุมมองให้เป็นกลางยิ่งขึ้นโดยขมวดการอภิปรายเป็นส่วนบรรยาย แทนที่จะแยกข้อความเป็นส่วนซึ่งเพิกเฉยหรือต่อสู้กัน

ให้ความสนใจส่วนหัว เชิงอรรถและส่วนจัดรูปแบบอื่นที่อาจสนับสนุนมุมมองหนึ่งเกินไป และระวังแง่มุมโครงสร้างหรือลีลาที่อาจทำให้ผู้อ่านประเมินความน่าเชื่อถือของมุมมองทั้งหมดที่สัมพันธ์และเกี่ยวข้องอย่างยุติธรรมและเสมอภาคได้ยาก

น้ำหนักเหมาะสมและไม่เหมาะสม

ความเป็นกลางกำหนดให้แต่ละบทความหรือหน้าอื่นในเนมสเปซบทความนำเสนอทุกมุมมองสำคัญที่แหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือจัดพิมพ์ เป็นสัดส่วนกับความโดดเด่นของแต่ละมุมมองในแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือตีพิมพ์ การให้น้ำหนักที่เหมาะสมและเลี่ยงการให้น้ำหนักที่ไม่เหมาะสม หมายความว่า บทความไม่ควรให้มุมมองหรือความเชื่อข้างน้อยมีคำอธิบายละเอียดหรือมากเท่ามุมมองที่ยึดถือกันอย่างกว้างขวางหรือความเชื่อที่ได้รับการสนับสนุนเป็นวงกว้าง โดยทั่วไป มุมมองฝ่ายข้างน้อยอย่างยิ่งไม่ควรรวมอยู่โดยสิ้นเชิง ยกเว้น อาจใน "ดูเพิ่ม" ไปยังบทความเกี่ยวกับมุมมองเฉพาะเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น บทความโลก ไม่ควรกล่าวถึงการสนับสนุนมโนทัศน์โลกแบนสมัยใหม่ อันเป็นมุมมองฝ่ายข้างน้อยที่โดดเด่น การทำเช่นนั้นจะให้น้ำหนักไม่เหมาะสมแก่มุมมองนั้น

น้ำหนักไม่เหมาะสมสามารถให้ได้หลายทาง เช่น ความลึกของรายละเอียด คุณภาพข้อความ ความเด่นของการจัดวาง และการวางถ้อยแถลงเทียบเคียง ในบทความที่เกี่ยวข้องกับมุมมองฝ่ายข้างน้อยอย่างเจาะจง มุมมองดังกล่าวอาจได้รับความสนใจและพื้นที่มากขึ้น ทว่า หน้าเหล่านั้นยังควรอ้างอิงอย่างเหมาะสมถึงมุมมองฝ่ายข้างมากเมื่อมีความสัมพันธ์และต้องไม่นำเสนอเนื้อหาจากทัศนะฝ่ายข้างน้อยโดยเคร่งครัด ควรให้ชัดเจนเจาะจงว่าข้อความส่วนใดอธิบายมุมมองฝ่ายข้างน้อย นอกเหนือจากนี้ มุมมองฝ่ายข้างมากควรอธิบายในรายละเอียดเพียงพอเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจว่ามุมมองฝ่ายข้างน้อยแตกต่างจากมุมมองนั้นอย่างไร และข้อโต้เถียงเกี่ยวกับมุมมองของฝ่ายข้างน้อยควรระบุและอธิบายให้ชัดเจน ต้องการรายละเอียดมากเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับหัวเรื่อง ตัวอย่างเช่น บทความว่าด้วยมุมมองในอดีต เช่น โลกแบน ซึ่งมีผู้สนับสนุนสมัยใหม่น้อยหรือไม่มีเลย อาจระบุฐานะสมัยใหม่โดยย่อ แล้วค่อยอภิปรายประวัติศาสตร์ของความคิดนั้นในรายละเอียด ซึ่งนำเสนอประวัติศาสตร์ของความเชื่อที่ปัจจุบันเสื่อมความน่าเชื่อถือแล้วอย่างเป็นกลาง มุมมองฝ่ายข้างน้อยอื่นอาจต้องการการพรรณนามุมมองฝ่ายข้างมากอย่างกว้างขวางเพื่อเลี่ยงการชี้นำผู้อ่านให้เข้าใจผิด

วิกิพีเดียไม่ควรนำเสนอข้อพิพาทราวกับว่ามุมมองที่ฝ่ายข้างน้อยจำนวนน้อยถือสมควรได้รับความสนใจโดยรวมมากเท่ากับมุมมองฝ่ายข้างมาก มุมมองที่ฝ่ายข้างน้อยอย่างยิ่งถือไม่ควรนำเสนอเลย ยกเว้นในบทความสำหรับมุมมองเหล่านั้นโดยเฉพาะ (เช่น โลกแบน) การให้น้ำหนักไม่เหมาะสมแก่ฝ่ายข้างน้อยที่สำคัญ หรือรวมมุมมองของฝ่ายข้างน้อยอย่างยิ่ง อาจชี้นำให้เข้าใจผิดถึงสภาพของข้อพิพาท วิกิพีเดียมุ่งนำเสนอมุมมองที่ค้านกันเป็นสัดส่วนกับการนำเสนอในแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับหัวเรื่อง ซึ่งมิได้ใช้กับข้อความบทความเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภาพ วิกิลิงก์ แหล่งข้อมูลอื่น หมวดหมู่และเนื้อหาอื่นทั้งหมดด้วย

จาก จิมโบ เวลส์, ถอดความจากโพสต์เมื่อเดือนกันยายน 2546 ในบัญชีจ่าหน้า WikiEN-l
  • ถ้ามุมมองเป็นมุมมองหลัก น่าจะเป็นการง่ายที่จะเขียนอ้างอิงไปถึงหนังสือที่เป็นที่ยอมรับกัน
  • ถ้ามุมมองเป็นมุมมองข้างน้อย แต่มีจำนวนผู้เชื่อถือมากระดับหนึ่ง น่าจะเป็นการง่ายที่เราจะอ้างถึงผู้สนับสนุนหลัก
  • ถ้ามุมมองเป็นมุมมองข้างน้อย ที่มีผู้เชื่อถือจำนวนน้อยมาก (หรือมีจำนวนจำกัดอย่างยิ่ง) มุมมองนั้นไม่สมควรจะมีอยู่ในวิกิพีเดีย (นอกเสียจากในบางบทความสนับสนุน) ไม่ว่ามุมมองนั้นจะจริงหรือไม่ หรือว่าคุณจะสามารถพิสูจน์มันได้หรือไม่

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา