คำอธิบายมุมมองที่เป็นกลาง ของ วิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง

การบรรลุสิ่งที่ประชาคมวิกิพีเดียเข้าใจว่าคือ "ความเป็นกลาง" หมายถึง การวิเคราะห์แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือหลากหลายอย่างระมัดระวังและมีวิจารณญาณ แล้วพยายามถ่ายทอดสารสนเทศในแหล่งข้อมูลเหล่านั้นแก่ผู้อ่านอย่างยุติธรรม เป็นสัดส่วน และปราศจากความลำเอียงให้มากเท่าที่มากได้ วิกิพีเดียมุ่งอธิบายข้อพิพาท แต่ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ผู้เขียน ซึ่งโดยธรรมชาติมีมุมมองเป็นของตน ควรพยายามโดยสุจริตเพื่อจัดหาสารสนเทศที่สมบูรณ์ และไม่สนับสนุนมุมมองจำเพาะหนึ่งเหนืออีกมุมมองหนึ่ง ฉะนั้น มุมมองที่เป็นกลางจึงไม่ได้หมายความถึง การตัดบางมุมมองออก แต่ให้รวมมุมมองทั้งหมดที่พิสูจน์ยืนยันได้ซึ่งมีน้ำหนักเพียงพอ การปฏิบัติตามหลักการต่อไปนี้เพื่อบรรลุระดับความเป็นกลางซึ่งเหมาะสมสำหรับสารานุกรม

  • เลี่ยงการระบุความคิดเห็นเป็นข้อเท็จจริง ปกติบทความมีสารสนเทศเกี่ยวกับความเห็นสำคัญซึ่งมีการแสดงออกเกี่ยวกับหัวเรื่องนั้น ทว่า ความเห็นเหล่านี้ไม่ควรระบุในนามของวิกิพีเดีย แต่ความเห็นเหล่านั้นควรระบุในข้อความว่ามาจากแหล่งที่มาจำเพาะ หรืออธิบายว่าเป็นมุมมองที่แพร่หลายเมื่อพิสูจน์ได้ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น บทความไม่ควรนำเสนอว่า "เหล้า ไวน์ เบียร์ เป็นสิ่งชั่วร้าย" แต่อาจนำเสนอว่า "นาย x อธิบายว่า เหล้า ไวน์ เบียร์เป็นสิ่งชั่วร้าย" (พร้อมแหล่งอ้างอิง และนาย ก ควรเป็นบุคคลที่โดดเด่น)
  • เลี่ยงการระบุข้อความที่มีการคัดค้านอย่างจริงจังเป็นข้อเท็จจริง หากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือต่างกันมีการแสดงข้อความขัดแย้งกันในประเด็นหนึ่ง ให้ถือการแสดงข้อความเหล่านั้นเป็นความคิดเห็น มิใช่ข้อเท็จจริง และอย่านำเสนอข้อความเหล่านั้นเป็นถ้อยแถลงโดยตรง
  • เลี่ยงการระบุข้อเท็จจริงเป็นความคิดเห็น การแสดงข้อความเท็จจริงซึ่งไม่มีการคัดค้านและไม่ก่อข้อโต้เถียงโดยแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือปกติควรระบุในนามของวิกิพีเดียโดยตรง ยกเว้นหัวเรื่องนั้นว่าด้วยความไม่ลงรอยกันเหนือสารสนเทศที่ไม่มีการคัดค้านอย่างเจาะจง ไม่จำเป็นต้องระบุที่มาอย่างจำเพาะสำหรับการแสดงข้อความนั้น แม้การเพิ่มการเชื่อมโยงอ้างอิงไปยังแหล่งที่มาเพื่อสนับสนุนการพิสูจน์ยืนยันได้จะเป็นประโยชน์ ยิ่งไปกว่านั้น ไม่ควรจัดคำในทุกทางเพื่อให้ข้อความดูเหมือนว่ามีการคัดค้าน
  • เลือกภาษาที่ไม่ตัดสิน มุมมองที่เป็นกลางต้องไม่เข้าข้างมุมมองใด ๆ เกี่ยวกับหัวเรื่อง (หรือสิ่งที่แหล่งที่มากล่าวถึงหัวเรื่อง) แม้บางครั้งอาจต้องรักษาให้สมดุลกับความชัดเจน ให้นำเสนอความคิดเห็นและสิ่งค้นพบด้วยน้ำเสียงไม่ใส่ใจ อย่าสอดแทรกความคิดเห็นส่วนบุคคล
  • บ่งชี้ความเด่นชัดเปรียบเทียบของมุมมองที่ค้านกัน รับประกันว่าการรายงานมุมมองที่ต่างกันของหัวเรื่องหนึ่งต้องสะท้อนระดับเปรียบเทียบของการสนับสนุนมุมมองเหล่านั้นอย่างพอดี และต้องไม่ให้ความประทับใจความเสมอภาคที่ผิด หรือให้น้ำหนักแก่มุมมองจำเพาะหนึ่งมากเกินไป ตัวอย่างเช่น "ตามข้อมูลของไซมอน วีเซนธาล ฮอโลคอสต์เป็นโครงการการกำจัดชาวยิวในประเทศเยอรมนี แต่เดวิด เออร์วิงโต้แย้งการวิเคราะห์นี้" จะให้ดูเหมือนมุมมองข้างมากอย่างยิ่งและมุมมองข้างน้อยอย่างยิ่งเสมอภาคกันโดยการระบุมุมมองนั้นว่ามาจากนักเคลื่อนไหวเพียงคนเดียวในสาขานั้น

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา