ความหมายอย่างง่าย ของ วิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง

บางครั้งเราจะให้คำอธิบายอีกรูปแบบหนึ่งของนโยบายการปราศจากอคติ: อธิบายข้อเท็จจริง รวมถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความคิดเห็น แต่อย่ายืนยันในความคิดเห็นนั้น ๆ ข้อเท็จจริง กับค่านิยมหรือความคิดเห็น นั้นไม่เหมือนกัน สำหรับข้อเท็จจริงนั้น เราจะหมายถึง "ชิ้นข้อมูลที่ไม่มีการถกเถียงอย่างรุนแรง" ในความหมายนี้ การที่แบบสอบถามชี้ให้เห็นผลบางอย่างนั้นคือข้อเท็จจริง การที่ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์เป็นข้อเท็จจริง การที่โสกราตีสเป็นนักปรัชญาเป็นข้อเท็จจริง ไม่มีใครจะโต้แย้งข้อมูลดังกล่าว ดังนั้นเราจึงสามารถจะ ยืนยัน ข้อมูลลักษณะนี้ได้มากเท่าที่ต้องการ

ในทางกลับกัน ค่านิยมหรือความคิดเห็นนั้น เราหมายถึง "ชิ้นข้อมูลที่มีการถกเถียงอยู่" แน่นอนว่ามีหลาย ๆ กรณีที่อยู่ตรงกลางเกณฑ์นี้ ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าเราควรจะนำข้อโต้แย้งนั้นมาพิจารณาอย่างจริงจังหรือไม่ แต่มีข้อยืนยันหลาย ๆ ชิ้นที่เป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างชัดเจน ที่ว่าการขโมยนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกนั้นเป็นค่านิยมหรือความคิดเห็น ที่ว่าเดอะ บีเทิลส์เป็นวงดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้นเป็นค่านิยมหรือความเห็น ที่ว่าสหรัฐนั้นทำไม่ถูกที่ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากินั้นเป็นค่านิยมหรือความคิดเห็น ที่ว่าพระเจ้ามีจริง ... นี่อาจเป็นกรณีที่ยุ่งยากสักหน่อย การที่พระเจ้ามีอยู่หรือไม่ ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับข้อเท็จจริง หรือปัญหาเกี่ยวกับค่านิยม แต่เมื่อข้อเท็จจริงนั้นเป็นสิ่งที่โดยแก่นแท้แล้วเข้าถึงไม่ได้ เท่าที่คนเราทราบ การที่พระเจ้ามีจริงหรือไม่ จึงนำไปวางอยู่ในกลุ่มของค่านิยมหรือความคิดเห็น การยืนยันว่า "การมีอยู่ของพระเจ้าเป็นความคิดเห็น" แม้ว่าจะเป็นประเด็นที่อาจเกิดความอ่อนไหวได้ แสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้ถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องของข้อเท็จจริง (หลังสมัยใหม่นิยม หรือ อไญยนิยมแบบรุนแรง) หรือเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ (แนวคิดแบบโลกวิสัย)

วิกิพีเดียนั้นมีเป้าหมายที่จะระบุข้อเท็จจริงและเฉพาะข้อเท็จจริงเท่านั้น ในส่วนที่เราต้องการระบุความคิดเห็น เราจะเปลี่ยนความคิดเห็นนั้นให้เป็นข้อเท็จจริง โดยการให้ที่มาของความคิดเห็นนั้น ดังนั้น แทนที่จะกล่าวว่า "เดอะ บีเทิลส์เป็นวงดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" เราจะกล่าวว่า "ชาวอเมริกันส่วนใหญ่เชื่อว่าเดอะ บีเทิลส์เป็นวงดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบด้วยผลการสำรวจ หรืออาจกล่าวว่า "เดอะ บีเทิลส์มีเพลงติดชาร์ตเพลงยอดนิยมมากมาย" ซึ่งก็เป็นข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน ในตัวอย่างแรก เรากล่าวถึงความคิดเห็น ตัวอย่างที่สองและสามเปลี่ยนความคิดเห็นนั้นให้เป็นข้อเท็จจริง โดยการระบุที่มาของข้อคิดเห็นนั้น อย่างไรก็ตาม รูปแบบที่เราใช้นี้แตกต่างกับรูปแบบ "มีคนเชื่อว่า..." ที่พบบ่อยในข้อโต้เถียงทางการเมือง การอ้างอิงบุคคลของเรานั้นจะต้องเป็น กลุ่มประชากรที่ระบุได้อย่างชัดเจน หรือไม่ก็ต้องเป็น การระบุชื่อ

ในการนำเสนอความคิดเห็นนั้น บางครั้งเราจะต้องตระหนักด้วยว่ายังมีความเห็นที่ไม่ตรงกันอยู่ เกี่ยวกับการวิธีการระบุความคิดเห็น บางครั้งเราอาจจำเป็นต้องระบุรายละเอียดของความคิดเห็นนั้นให้ชัดเจน หรือไม่ก็ต้องนำเสนอความคิดเห็นนั้นในหลาย ๆ รูปแบบ เพื่อที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่นำเสนอมุมมองสำคัญอย่างเป็นธรรมของสถานการณ์ (ข้อโต้เถียงทางปรัชญาและทางเทววิทยานั้น ยากเป็นพิเศษในการที่จะอธิบายในรูปแบบที่ปราศจากความลำเอียง หน้าเหล่านั้นจะต้องระวัง ดังเช่นในตัวอย่างข้างต้นที่เกี่ยวกับปัญหาการมีอยู่ของพระเจ้า)

อย่างไรก็ตาม มันไม่เพียงพอที่จะบอกว่านโยบายการไม่มีอคติของวิกิพีเดีย คือการระบุข้อเท็จจริงและงดเว้นความคิดเห็น เมื่อยืนยันข้อเท็จจริง เกี่ยวกับความคิดเห็น แล้ว เป็นสิ่งที่สำคัญที่เราต้องยืนยันข้อเท็จจริง เกี่ยวกับความคิดเห็นตรงข้าม ด้วยเช่นกัน ซึ่งต้องกระทำโดยไม่ทำให้มีการสื่อความหมายว่ามุมมองใดเหล่านี้เป็นมุมมองที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ค่อนข้างสำคัญที่จะต้องระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุผลเบื้องหลังในคิดต่าง ๆ เหล่านั้น และชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามุมมองนี้เป็นของใคร (ส่วนใหญ่แล้ว วิธีที่ดีที่สุดก็คือการอ้างถึงตัวแทน ที่โดดเด่นของมุมมองเหล่านั้น)

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา