การมีส่วนร่วมต่อวิกิพีเดีย ของ วิกิพีเดีย:เกี่ยวกับ

แนวทางในการแก้ไขการก่อกวน ดูที่: วิธีใช้:การย้อน

ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมต่อวิกิพีเดียโดยการคลิกแทบ แก้ไข ในบทความ อย่างไรก็ดี ก่อนเริ่มการมีส่วนร่วม โปรดอ่านหน้าวิธีใช้บางหน้าที่เป็นประโยชน์ อาทิ หน้าสอนการใช้งานและรวมนโยบายและแนวปฏิบัติ สำคัญที่คุณจะตระหนักว่า ผู้ใช้ทุกคนถูกคาดหวังว่าจะมีความประพฤติเยี่ยงอารยชนและมีมุมมองเป็นกลาง เคารพทุกความเห็นที่แตกต่าง และเพิ่มข้อมูลเฉพาะเท่าที่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้และเป็นข้อเท็จจริงมากกว่าเพียงมุมมองและความคิดเห็นส่วนบุคคล "ห้าเสาหลักของวิกิพีเดีย" ครอบคลุมแนวทางดังกล่าวทั้งหมด และควรที่คุณจะอ่านก่อนแก้ไข การก่อกวนส่งผลให้บัญชีผู้ใช้ถูกบล็อกชั่วคราวหรือถาวรจากวิกิพีเดีย

บทความส่วนใหญ่เริ่มต้นเป็นโครง แต่หลังจากได้รับความร่วมมือมากมาย บทความเหล่านั้นสามารถพัฒนาเป็นบทความคัดสรรได้ เมื่อผู้เขียนตัดสินใจเลือกหัวข้อที่ตนสนใจ พวกเขาอาจขอให้เขียนบทความนั้นขึ้น หรือพวกเขาอาจวิจัยและมือเขียนด้วยตนเอง วิกิพีเดียมีโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่โดยมุ่งเน้นขอบเขตหัวเรื่องที่เจาะจงหรือภาระงาน ซึ่งช่วยประสานการแก้ไข

ความง่ายในการแก้ไขวิกิพีเดียส่งผลให้หลายคนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งทำให้การอัปเดตข้อมูลบนสารานุกรมเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก

การแก้ไขหน้า

ดูหน้าหลักที่: วิธีใช้:การแก้ไขหน้า

วิกิพีเดียใช้ผังหน้าที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังเพื่อให้ผู้เขียนให้ความสนใจในการเพิ่มเติมเนื้อหามากกว่าการออกแบบหน้า ผังหน้านี้รวมถึงการแบ่งหัวข้อและหัวข้อย่อยโดยอัตโนมัติ ระบบการอ้างอิงอัตโนมัติ การเพิ่มภาพและตาราง ข้อความที่เป็นย่อหน้าและรายการ ลิงก์ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ และคณิต (math) ตลอดจนองค์ประกอบการจัดรูปแบบตามปกติและอักขระเกือบทุกทั้งหมดทั่วโลก และสัญลักษณ์สามัญ ส่วนใหญ่แล้วมีรูปแบบเรียบง่ายซึ่งจะสามารถนำไปใช้ได้โดยง่ายและไม่ต้องอาศัยความชำนาญ

ผังหน้าประกอบด้วยแถบบนสุดของหน้าต่าง อันประกอบด้วย

  • บทความ แสดงบทความวิกิพีเดียหลัก
  • อภิปราย แสดงการอภิปรายของผู้ใช้เกี่ยวกับหัวเรื่องของบทความและรุ่นที่เป็นไปได้ การโต้แย้งกัน เป็นต้น
  • แก้ไข เปิดโอกาสให้ผู้ใช้แก้ไขบทความ ซึ่งขึ้นอยู่กับความไวของหน้านั้นต่อการก่อกวนด้วย ตามระดับการเข้าถึงหรือระดับการโต้แย้งในหัวเรื่องนั้น แท็บดังกล่าวอาจไม่ปรากฏให้เห็นต่อผู้ใช้ทุกคน (แต่จะแสดงผลเป็น ดูโค้ด แทน แสดงว่าคุณไม่สามารถแก้ไขหน้านั้นได้ ตัวอย่างเช่น หน้าหลัก)
  • ประวัติ แท็บดังกล่าวให้ผู้อ่านดูผู้ร่วมแก้ไขของบทความและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  • เครื่องหมายรูปดาว ("เฝ้าดู") หากคุณล็อกอินเข้าสู่บัญชีผู้ใช้ของคุณ การคลิกไอคอนรูปดาวจะส่งผลให้การแก้ไขใด ๆ ที่มีต่อบทความนั้นจะถูกแสดงในหน้ารายการเฝ้าดู (หมายเหตุ: เมื่อคลิกแล้วดาวจะกลายเป็นสีทึบแทน)

วิกิพีเดียมีรุ่นเสถียรและการควบคุมการย้อนกลับ หมายความว่า การแก้ไขคุณภาพเลวหรือการก่อกวนสามารถถูกย้อนกลับได้โดยง่ายและรวดเร็ว หรือนำกลับเข้าสู่มาตรฐานที่เหมาะสมโดยผู้ใช้อื่นใดได้ ฉะนั้น ผู้ใช้อ่อนประสบการณ์จึงไม่อาจสร้างความเสียหายถาวรโดยอุบัติเหตุได้หากพวกเขามีข้อผิดพลาดในการแก้ไข และเนื่องจากมีผู้เขียนที่มีเจตนาปรับปรุงบทความมากกว่าผู้เขียนที่มีเจตนาตรงข้าม บทความที่เกิดข้อผิดพลาดโดยปกติจึงถูกแก้ไขให้ถูกต้องอย่างรวดเร็ว

เงื่อนไขของเนื้อหาในวิกิพีเดีย

เนื้อหาที่ปรากฏในวิกิพีเดียมีเจตนาที่จะทำให้เป็นข้อเท็จจริง มีความโดดเด่น สามารถพิสูจน์ยืนยันได้จากแหล่งอ้างอิงภายนอก และมีการนำเสนออย่างเป็นกลาง

คุณสามารถศึกษานโยบายและแนวปฏิบัติเหล่านี้ได้จากหน้าด้านล่างนี้

  1. วิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย ซึ่งสรุปว่าสิ่งใดถือว่าเข้าข่าย และสิ่งใดที่ไม่เข้าข่ายที่จะเขียนในวิกิพีเดีย
  2. วิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง อธิบายถึงแก่นของวิกิพีเดียที่ต้องการบรรลุการเขียนบทความอย่างเป็นกลางและปราศจากอคติ
  3. วิกิพีเดีย:งดงานค้นคว้าต้นฉบับ ห้ามการใช้วิกิพีเดียตีพิมพ์มุมมองส่วนบุคคลและงานค้นคว้าต้นฉบับ ทั้งนิยามบทบาทของวิกิพีเดียที่ต้องการรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ก่อนและ ได้รับการรับรอง แล้ว
  4. วิกิพีเดีย:การพิสูจน์ยืนยันได้ อธิบายว่าผู้อ่านจะต้องสามารถพิสูจน์เนื้อหาในวิกิพีเดียจากแหล่งข้อมูลอื่นที่น่าเชื่อถือได้
  5. วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา อธิบายรูปแบบการเขียนอ้างอิง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถพิสูจน์ยืนยันเนื้อหาได้ด้วยตนเอง
  6. วิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน นำเสนอแนวการเขียน ซึ่งผู้ใช้โดยทั่วไปจะได้รับความรู้รูปแบบการเขียนที่เหมาะสม และการจัดรูปแบบที่มีรายละเอียดมากขึ้นเป็นลำดับ

การบริหารการแก้ไข การตรวจตราและการจัดการ

ดูหน้าหลักที่: วิกิพีเดีย:การบริหาร

ชุมชนวิกิพีเดียบริหารจัดการกันเองเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ทุกคนจึงอาจสร้างชื่อเสียงได้ทั้งในฐานะเป็นผู้เขียนที่มีความสามารถ และค่อยขยับมามีส่วนร่วมในบทบาทที่ตนเลือก บ่อยครั้งที่ปัจเจกบุคคลจะเลือกมีส่วนในภาระงานเฉพาะอย่าง อาทิ ทบทวนบทความตามที่ผู้อื่นขอ การเฝ้าดูการปรับปรุงล่าสุดเพื่อหาการก่อกวน การเฝ้าดูบทความสร้างใหม่เพื่อความมุ่งหมายในการควบคุมคุณภาพ หรือบทบาทที่คล้ายกัน ผู้เขียนที่เชื่อว่าตนสามารถบริการชุมชนได้ดีขึ้นอาจเสนอชื่อตนเองให้ชุมชนตกลงมอบเครื่องมือและความรับผิดชอบเพิ่มเติม มาตรฐานนี้มีแนวโน้มจะประกันระดับประสบการณ์ ความเชื่อมั่นและความคุ้นเคยสูงทั่วทุกด้านภายในวิกิพีเดีย

ระบบซอฟต์แวร์สนับสนุนและโปรแกรมอัตโนมัติอันหลากหลายมีส่วนช่วยผู้เขียนและผู้ดูแลระบบในการเฝ้าดูการแก้ไขและผู้เขียนที่เป็นปัญหา ตามทฤษฎีแล้ว ผู้เขียนและผู้ใช้ทั้งหมดต่างก็ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมโดยปราศจาก "โครงสร้างอำนาจ" อย่างไรก็ดี วิกิพีเดียมีลำดับชั้นของการอนุญาตและตำแหน่งอยู่ ซึ่งปรากฏในรายการด้านล่าง

  1. ผู้ใช้ทุกคนสามารถแก้ไขบทความส่วนใหญ่บนวิกิพีเดียได้ เว้นบางบทความซึ่งถูกป้องกันเนื่องจากการก่อกวนหรือสงครามแก้ไข ซึ่งสามารถถูกแก้ไขได้จากผู้ใช้ที่ผ่านเกณฑ์แล้วเท่านั้น
  2. ผู้ใช้ลงทะเบียนทุกคน ซึ่งได้ลงทะเบียนมาแล้วเป็นเวลานานกว่า 4 วัน และมีการแก้ไขมากกว่า 10 ครั้งจะกลายมาเป็น "ผู้ใช้ยืนยันอัตโนมัติ" (Autoconfirmed) และได้ความสามารถทางเทคนิคเพิ่มขึ้นจากผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนหรือผู้ใช้ใหม่ได้ 3 อย่าง คือ
    • เปลี่ยนชื่อบทความได้
    • แก้ไขบทความที่กึ่งล็อกได้
    • มีส่วนร่วมในการลงคะแนนเสียงในบางเรื่องได้ (แต่บางเรื่องยังมีกำหนดจำนวนการแก้ไขขั้นต่ำอยู่)
  3. ผู้ใช้ลงทะเบียนจำนวนมากสามารถเข้าถึงเครื่องมือซึ่งทำให้การแก้ไขง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งมีผู้ใช้จำนวนน้อยได้ศึกษาการใช้งานเครื่องมือเหล่านี้เป็นส่วนใหญ่ แต่สิทธิพิเศษเพียงอย่างเดียวที่มอบให้แก่ผู้ร่วมแก้ไขอย่างดี ได้แก่ "การย้อนกลับ" ซึ่งเป็นการย้อนการแก้ไขที่ขึ้นง่ายกว่าเดิม
  4. ผู้ดูแลระบบ (Administrator, Sysop) ผู้ที่ได้รับเลือกจากชุมชน และสามารถเข้าถึงเครื่องมือบริหารจัดการที่สำคัญบางอย่างได้ มีอำนาจในการลบบทความ บล็อกผู้ใช้หรือหมายเลขไอพี และสามารถแก้ไขบทความที่ถูกล็อกได้
  5. ผู้ดูแลระบบสิทธิ์แต่งตั้ง (Bureaucrat) ผู้ที่ได้รับเลือกผ่านทางกระบวนการเช่นเดียวกับการเลือกผู้ดูแลระบบ ซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก มีอำนาจในการเพิ่มเติมหรือเพิกถอนสิทธิผู้ดูแลระบบ อนุมัติหรือลบล้างสิทธิของ "บอต" และเปลี่ยนชื่อผู้ใช้
  6. คณะอนุญาโตตุลาการ (Arbitration Committee) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับศาลสูงของวิกิพีเดีย มีหน้าที่รับผิดชอบต่อข้อพิพาทที่ยังไม่ยุติหลังความพยายามยุติข้อพิพาทด้วยวิธีอื่น ๆ ประสบความล้มเหลว สมาชิกถูกเลือกตั้งโดยชุมชนและมีแนวโน้มเลือกจากผู้ดูแลระบบที่มีประสบการณ์ (ขณะนี้ไม่มีสมาชิก)
  7. ผู้จัดการโครงการ (Stewards) ถือเป็นระดับการเข้าถึงทางเทคนิคสูงสุด รองเพียงกรรมการบริหารมูลนิธิวิกิมีเดีย เป็นผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับเทคนิคเล็กน้อยและมักจะไม่ค่อยได้ยินข่าวหรือการกระทำของพวกเขามากนัก เพราะมักทำหน้าที่แทนผู้ดูแลระบบหรือผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้งในวิกิพีเดียภาษาท้องถิ่นในกรณีที่ไม่สามารถหาบุคคลมีทำหน้าที่ดังกล่าวได้เท่านั้น
  8. จิมมี เวลส์ ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย มีบทบาทและสิทธิพิเศษหลายประการ อย่างไรก็ดี โอกาสส่วนใหญ่ เขามิได้คาดหวังว่าจะได้รับการปฏิบัติแตกต่างไปจากผู้ร่วมแก้ไขหรือผู้ดูแลระบบคนอื่น ในทางเทคนิคแล้ว เขาทำหน้าที่เสมือนผู้จัดการโครงการ และได้รับสิทธิการเข้าถึงใหม่ "ผู้ก่อตั้ง" (Founder) ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2552

การรับมือข้อพิพาทและการกระทำที่ผิด

วิกิพีเดียมีระเบียบปฏิบัติหลายประการเพื่อรับมือกับการละเมิดส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ซึ่งระเบียบเหล่านี้ถูกทดสอบเป็นอย่างดีและควรยึดเป็นหลัก

  • ผู้ใช้ทุกคนสามารถรายงานการก่อกวน และแก้ไขให้ถูกต้องได้
  • การโต้แย้งที่ไม่มีข้อยุติระหว่างผู้เขียน ไม่ว่าจะว่าด้วยเรื่องพฤติกรรม การเข้าถึงการแก้ไข หรือความสมบูรณ์ของเนื้อหา สามารถนำไปอภิปรายในหน้าอภิปรายของแต่ละบทความ ผ่านการร้องขอจากผู้เขียนอื่นหรือกระบวนการระงับข้อพิพาทอันครอบคลุมของวิกิพีเดีย
  • การใช้บัญชีผู้ใช้ในทางที่ผิด เช่น การสร้าง "หุ่นเชิดอินเทอร์เน็ต" หรือการรวมกลุ่มเพื่อนและพวกอื่นเพื่อนำเสนอมุมมองที่ไม่เป็นกลางหรือมีมติไม่เหมาะสมในการอภิปราย หรือเพื่อรบกวนกระบวนการอื่นในวิกิพีเดียด้วยการกระทำอันเป็นที่น่ารำคาญ จะถูกพิจารณาผ่านนโยบายหุ่นเชิด

นอกจากนี้ ช่วงแรกผู้ใช้ใหม่อาจพบว่า ผู้เขียนมองคะแนนเสียงของตนมีน้ำหนักน้อยกว่าในการหยั่งเสียงอย่างไม่เป็นทางการบางอย่าง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการใช้บัญชีผู้ใช้เพื่อจุดประสงค์เดียว

การทบทวนคุณภาพการแก้ไข

เช่นเดียวกับระบบตามจับและควบคุมการแก้ไขที่ไม่ได้มาตรฐานและการก่อกวน วิกิพีเดียยังมีคู่มือรูปแบบและเนื้อหาที่สมบูรณ์ และระบบอันหลากหลายในการทบทวนและพัฒนาบทความอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างกระบวนการดังกล่าวได้แก่ การกลั่นกรอง การเสนอบทความคุณภาพ และการเสนอบทความคัดสรร การตรวจสอบบทความอย่างกวดขันมีเจตนาเพื่อให้บรรลุมาตรฐานสูงสุดและเป็นที่แสดงขีดความสามารถของวิกิพีเดียในการผลิตงานคุณภาพสูง

นอกเหนือจากนั้น บทความบางประเภทหรือสาขามักมีโครงการ กระบวนการประเมินคุณภาพ และผู้ตรวจทานที่เชี่ยวชาญที่พิเศษและครอบคลุม ในหัวเรื่องนั้น ๆ บทความที่ถูกเสนอชื่อเป็นที่ให้ความสนใจโดยเฉพาะภายใต้โครงการบ่อยครั้ง ดูที่ โครงการวิกิ หรือถูกครอบคลุมโดยกลุ่มที่มีความมุ่งหมายเพื่อการแก้ไขอย่างหน่วยเก็บกวาดเฉพาะกิจ

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาไซลีเชีย วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิกิพีเดีย:เกี่ยวกับ http://www.oreilly.com/catalog/9780596515164/?CMP=... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC294798... http://www.mediawiki.org/wiki/MediaWiki http://th.wikibooks.org/ http://www.wikidata.org/wiki/Wikidata:%E0%B8%AB%E0... http://commons.wikimedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%... http://meta.wikimedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%99%... http://species.wikimedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%... http://en.wikipedia.org/wikistats/EN/TablesWikiped... http://www.wikipedia.org/wiki/Wikipedia:Announceme...