การสร้างลิงก์ด้วยยูอาร์แอล ของ วิธีใช้:ยูอาร์แอล

เมื่อแก้ไขหน้าใดหน้าหนึ่ง การสร้างไฮเปอร์ลิงก์เพื่อเชื่อมโยงหน้าอื่นภายในวิกิพีเดีย (หรือโครงการอื่นของวิกิมีเดีย) สามารถทำได้โดยใช้ วิกิลิงก์ ซึ่งใช้รูปแบบ [[...]] ในการเขียนตามปกติ (ดูเพิ่มที่ วิธีใช้:ลิงก์) อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการสร้างการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ภายนอก หรือการระบุหน้าที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะของวิกิมีเดีย (เช่นรุ่นย้อนหลังของบทความ หรือหน้าพิเศษที่ต้องใช้พารามิเตอร์) คุณจำเป็นต้องใช้ยูอาร์แอลเต็ม สามารถทำเป็น ลิงก์ภายนอก ได้

การสร้างลิงก์ภายนอกมีสามรูปแบบหลักได้แก่

  • ใส่ยูอาร์แอลโดยตรงในข้อความวิกิ โดยไม่มีวงเล็บเหลี่ยม จะแสดงผลเป็นไฮเปอร์ลิงก์บนข้อความยูอาร์แอล
  • ใส่ยูอาร์แอลภายในวงเล็บเหลี่ยมหนึ่งคู่ จะแสดงผลเป็นไฮเปอร์ลิงก์บนหมายเลขลำดับ
    • [http://meta.wikimedia.org/] จะให้ผลเป็น
  • ใส่ยูอาร์แอล เว้นวรรค ตามด้วยข้อความ ทั้งหมดภายในวงเล็บเหลี่ยมหนึ่งคู่ จะแสดงผลเป็นไฮเปอร์ลิงก์บนข้อความที่ป้อน
    • [http://meta.wikimedia.org/ Wikimedia] จะให้ผลเป็น Wikimedia

หากต้องการซ่อนลูกศรสีฟ้าจากลิงก์ ให้ใส่ลิงก์ภายนอกไว้ระหว่างแท็ก <span class="plainlinks">...</span>

ยูอาร์แอลที่ใส่ได้ต้องขึ้นต้นด้วย "http://", "https://", "ftp://" หรือ "irc://" ต้องไม่มีช่องว่างในยูอาร์แอลเพราะจะทำให้ลิงก์ขาดตอน และต้องประกอบด้วยอักษรต่อไปนี้ A-Z a-z 0-9 ._\/~%-+&#?!= () @: ส่วนอักษรอื่น ๆ จะถูกแปลงโดยระบบให้เป็นรูปแบบที่ยอมรับได้

โดยปกติยูอาร์แอลที่ต้องการสามารถคัดลอกและวางได้จากแถบที่อยู่บนเว็บเบราว์เซอร์ของคุณได้โดยตรง หากคุณต้องการสร้างยูอาร์แอลขึ้นเองไม่ว่าด้วยเหตุผลใด กรุณาระลึกว่าอักษรบางตัวจำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบการเข้ารหัสเปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างเช่น ^ ต้องเขียนเป็น %5E ซึ่งเป็นค่าแอสกีในเลขฐานสิบหกและขึ้นต้นด้วยเครื่องหมายเปอร์เซ็นต์ ช่องว่างในชื่อเรื่องของวิกิพีเดียสามารถเปลี่ยนเป็นอันเดอร์สกอร์ _ ได้

อักขระยูนิโคดก็สามารถมีอยู่ในยูอาร์แอลได้ ซึ่งระบบจะเปลี่ยนให้ตามความจำเป็น ตัวอย่างเช่น http://th.wikipedia.org/wiki/ข้าว จะถูกเปลี่ยนเป็น http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7 ตามรหัสไบนารีของยูนิโคด รายละเอียดเพิ่มเติมของการเข้ารหัสเปอร์เซ็นต์ ศึกษาได้ที่ Linking to URLs บนเมตาวิกิ

ใกล้เคียง

วิธีใช้ วิธีกงดอร์แซ วิธีตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบ วิธีการเข้าถึงหลายช่องทาง วิธีการครอส-เอนโทรปี วิธีค่าเฉลี่ยสูงสุด วิธีโดนต์ วิธีเหลือเศษสูงสุด วิธีเดลฟาย วิธีเว็บสเตอร์/แซ็งต์-ลากูว์