ลักษณะประจำ ของ วิธีใช้:เอชทีเอ็มแอลในข้อความวิกิ

ลักษณะประจำเอชทีเอ็มแอลให้สารสนเทศเพิ่มเติมเกี่ยวกับส่วนย่อยและระบุเสมอในป้ายระบุเริ่มต้น จะจัดรูปแบบเป็นคู่ชื่อ/ค่า (value) เช่น name="value"

ลักษณะประจำทั่วโลกใช้กับป้ายระบุทั้งหมด ลักษณะประจำซึ่งไม่อยู่ในรายการด้านล่างถูกมีเดียวิกิห้ามใช้[1] ดังนี้

  • class: การจำแนกต่าง ๆ ที่ส่วนย่อยนั้นจัดอยู่ ดู Wikipedia:Catalogue of CSS classes
  • dir: ทิศทางข้อความ— "ltr" (ซ้ายไปขวา), "rtl" (ขวาไปซ้าย) หรือ "auto"
  • id: ตัวระบุเฉพาะตัวสำหรับส่วนย่อย
  • lang: ภาษาหลักสำหรับเนื้อหาของส่วนย่อยตาม BCP 47 ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิเพิ่มลักษณะประจำ xml:lang โดยอัตโนมัติเมื่อใดที่นิยาม lang แต่ xml:lang จะไม่ผ่านอีกเมื่อรวมอยู่เป็นลักษณะประจำอีกอย่างหนึ่ง
  • style: นำซีเอสเอสสไตล์ลิงไปใช้กับเนื้อหาของส่วนย่อย
  • title: สารสนเทศที่ปรึกษาที่สัมพันธ์กับส่วนย่อย

ลักษณะไมโครดาตาเอชทีเอ็มแอล5 ใช้กับป้ายระบุทั้งหมด[2] ดังนี้

  • ลักษณะประจำใด ๆ ที่ขึ้นต้นด้วย data-
  • itemid
  • itemprop
  • itemref
  • itemscope
  • itemtype

ป้ายระบุอื่นอย่างลักษณะประจำจำเพาะสนับสนุน <table> เหล่านี้แสดงรายการอยู่ในส่วนที่เหมาะสม

มาร์กอัพแสดงผลเป็น
นี่คือข้อความ<span style="color:red">สีแดง</span>

นี่คือข้อความสีแดง

มีเดียวิกิ Sanitizer.php เก็บกวาดลักษณะประจำบ้าง ควรใช้วากยสัมพันธ์ (syntax) ที่เหมาะสมจะดีที่สุด

  • ทิ้งลักษณะประจำที่ไม่อยู่ในไวต์ลิสต์ (whitelist) สำหรับส่วนย่อยหนึ่ง ๆ
  • เปลี่ยนเอนทิตี (entity) ที่เสียหรือไม่สมเหตุสมผลเป็นข้อความธรรมดา
  • ใส่เครื่องหมายอัญประกาศคู่ (" ") คร่อมค่าลักษณะประจำทั้งหมด
  • ลักษณะประจำที่ไม่ระบุค่าจะกำหนดค่าตามชื่อ
  • ลักษณะประจำคู่จะถูกทิ้ง
  • ลักษณะประจำสไตล์ที่ไม่ปลอดภัยจะถูกทิ้ง
  • เพิ่มช่องว่างไว้ด้านหน้าหากมีลักษณะประจำ

ใกล้เคียง

วิธีใช้ วิธีกงดอร์แซ วิธีตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบ วิธีการเข้าถึงหลายช่องทาง วิธีการครอส-เอนโทรปี วิธีค่าเฉลี่ยสูงสุด วิธีโดนต์ วิธีเหลือเศษสูงสุด วิธีเดลฟาย วิธีเว็บสเตอร์/แซ็งต์-ลากูว์