ประวัติ ของ วิศวกรรมกำลังไฟฟ้า

ภาพร่างของโรงไฟฟ้าถนน Pearl, โรงไฟฟ้าพลังไอน้ำแห่งแรกในมหานครนิวยอร์ก

ไฟฟ้า กลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจทางวิทยาศาสตร์ในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 กับงานของ วิลเลียม กิลเบิร์ต[1] อีกสองศตวรรษ มีการค้นพบที่สำคัญจำนวนมากรวมทั้ง หลอดไฟแบบมีไส้ และแบตเตอรีของโวลตาที่เรียกว่า voltaic pile[2][3] บางทีการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เกี่ยวกับวิศวกรรมกำลังไฟฟ้าอาจมาจาก ไมเคิล ฟาราเดย์ ผู้ที่ในปี 1831 ได้ค้นพบว่าการเปลี่ยนแปลงในสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำให้เกิด แรงเคลื่อนไฟฟ้า ในขดลวด เป็นหลักการที่รู้จักกันว่าเป็น การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ช่วยอธิบายถึงการที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าและหม้อแปลงทำงานได้อย่างไร[4]

ในปี 1881 สองช่างไฟฟ้​​าได้สร้างโรงไฟฟ้​​าแห่งแรกของโลกที่เมือง Godalming ในประเทศอังกฤษ โรงไฟฟ้าได้ติดตั้งวงล้อน้ำสองชุดเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าสลับเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าให้กับตะเกียงโค้งของซีเมนส์เจ็ดตัวที่ 250 โวลต์และหลอดไส้สามสิบสี่ตัวที่ 40 โวลต์[5] อย่างไรก็ตามการป้อนกระแสเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง และในปี 1882 โทมัส เอดิสัน และบริษัทของเขา, บริษัทเอดิสันไฟฟ้าแสงสว่าง, ได้พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานไอน้ำเป็นครั้งแรกบนถนน Pearl ในนิวยอร์กซิตี้ โรงไฟฟ้าถนนเพิร์ลประกอบด้วยหลายเครื่องปั่นไฟและเบื้องต้นป้อนให้โคมไฟประมาณ 3,000 โคมสำหรับลูกค้า 59 ราย[6][7] โรงไฟฟ้าใช้ กระแสตรง และดำเนินการที่แรงดันไฟฟ้าเดียว เนื่องจากไฟฟ้ากระแสตรงไม่สามารถแปลงได้อย่างง่ายดายให้เป็นแรงดันไฟฟ้าที่สูงกว่า ที่จำเป็นเพื่อลดการสูญเสียพลังงานให้ต่ำสุดในระหว่างการส่ง ระยะทางที่เป็นไปได้ระหว่างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและโหลดถูกจำกัดเป็นประมาณครึ่งไมล์ (800 ม.) เท่านั้น[8]

ในปีเดียวกันนั้นในลอนดอน นายลูเชียน Gaulard และจอห์น ดิกสัน กิ๊บส์ได้สาธิตหม้อแปลงตัวแรกที่เหมาะสำหรับใช้ในระบบกำลังที่แท้จริง มูลค่าในทางปฏิบัติของหม้อแปลงของ Gaulard และกิ๊บส์ได้แสดงในปี 1884 ที่เมืองตูริน ที่เมืองนี้หม้อแปลงถูกใช้ในการให้แสงสว่างกับทางรถไฟระยะทางสี่สิบกิโลเมตร (25 ไมล์) จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กระแสสลับ เพียงตัวเดียว[9]

ในปึ 1890 อุตสาหกรรมพลังงานมีความเจริญรุ่งเรืองและบริษัทพลังงานในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปได้สร้างระบบไฟฟ้าขึ้นหลายพันชุด (ทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ) - เครือข่ายเหล่านี้ได้อุทิศตนอย่างมีประสิทธิภาพในการจัดจำหน่ายไฟฟ้าแสงสว่าง ในช่วงเวลานั้นการแข่งขันที่รุนแรงในสหรัฐที่เรียกว่า "สงครามกระแส" ได้เกิดขึ้นระหว่างเอดิสันและเวสติ้งเฮาส์ในเรื่องรูปแบบว่ารูปแบบไหนของการส่งผ่านจะทำได้ดีกว่า (กระแสตรงหรือกระแสสลับ) ในปี 1891 เวสติงเฮาส์ได้ติดตั้งระบบไฟฟ้าหลักเป็นครั้งแรก มันได้รับการออกแบบที่จะขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้าและไม่เพียงแต่ให้ไฟฟ้าแสงสว่าง การติดตั้งจะขับเคลื่อนมอเตอร์ซิงโครนัสที่ 100 แรงม้า (75 กิโลวัตต์) ที่เมือง Telluride รัฐโคโลราโดด้วยมอเตอร์ที่ถูกสตาร์ตโดยมอเตอร์เหนี่ยวนำของ Tesla[10] อีกด้านหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก, นายออสการ์ ฟอน มิลเลอร์ ได้สร้างสายส่งสามเฟสขนาด 20 กิโลโวลต์ระยะทาง 176 กม.จากเมือง Lauffen am Neckar ไปยังเมือง Frankfurt am Main สำหรับงานนิทรรศการวิศวกรรมไฟฟ้าในเมืองแฟรงค์เฟิร์ต[11] ในปี 1895 หลังจากที่กระบวนการตัดสินใจยืดเยื้อ โรงไฟฟ้าอดัมส์หมายเลข 1 ที่เมืองน้ำตกไนแองการา ได้เริ่มส่งไฟฟ้ากระแสสลับสามเฟสให้กับเมืองบัฟฟาโลที่ 11 กิโลโวลต์ หลังจากเสร็จโครงการที่ Niagara Falls, ระบบไฟฟ้าใหม่เลือกที่จะใช้กระแสสลับเพิ่มขึ้นตรงข้ามกับกระแสตรงในการจัดส่งไฟฟ้​​า[12] การพัฒนาในด้านวิศวกรรมกำลังไฟฟ้ามีอย่างต่อเนื่องตลอดศตวรรษที่ 20 และ 21. ในปี 1936 ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง (HVDC) ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกโดยใช้วาล์วปรอท-อาร์ค (อังกฤษ: mercury-arc valve) ถูกสร้างขึ้นระหว่างเมือง Schenectady รัฐนิวยอร์กและเมือง Mechanicville รัฐนิวยอร์ก HVDC เคยประสบความสำเร็จโดยการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงหลายตัวต่อกันแบบอนุกรม (ระบบที่เรียกว่าระบบ Thury) ถีงแม้ว่าระบบนี้จะประสบกับปัญหาความน่าเชื่อถืออย่างจริงจังก็ตาม[13] ในปี 1957 บริษัทซีเมนส์ได้สาธิต วงจรเรียงกระแส แบบ solid-state วงจรแรก (ตอนนี้ วงจรเรียงกระแสแบบ solid-state เป็นมาตรฐานสำหรับระบบ HVDC ไปแล้ว) แต่มันไม่ได้ใช้จนกว่าต้นปี 1970 ที่เทคโนโลยีนี้ถูกใช้ในระบบไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์[14] ในปี 1959 บริษัทเวสติงเฮาส์ได้สาธิตเซอร์กิตเบรกเกอร์ตัวแรกที่ใช้ sulfur hexafluoride (SF6) เป็นตัวกลางขัดจังหวะ[15] SF6 เป็น สารไดอิเล็กทริก ที่ดีกว่าอากาศมาก และในหลายครั้งที่ผ่านมาการใช้งานของมันได้รับการขยายเพื่อผลิตอุปกรณ์สวิตชิงที่มีขนาดกะทัดรัดมากขึ้น (ที่รู้จักกันว่า สวิตช์เกียร์) และ หม้อแปลง[16][17] การพัฒนาที่สำคัญหลายครั้งยังมาจากการขยายนวัตกรรมในด้านไอซีทีสำหรับสาขาวิศวกรรมกำลังไฟฟ้า ยกตัวอย่างเช่นการพัฒนาคอมพิวเตอร์ทำให้ การศึกษาการไหลของโหลด สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งช่วยให้การวางแผนของระบบไฟฟ้าได้ดียิ่งขึ้น ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคมยังช่วยให้เกิดการควบคุมระยะไกลที่ดีมากขึ้นของสวิตช์เกียร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

ใกล้เคียง

วิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ วิศวกรรมการบินและอวกาศ วิศวกรรมกำลังไฟฟ้า วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิศวกรรมกำลังไฟฟ้า http://library.abb.com/GLOBAL/SCOT/scot221.nsf/Ver... http://www.abb.com/product/us/9AAC710047.aspx http://www.allaboutcircuits.com/ http://www.arcsuppressiontechnologies.com/arc-supp... http://www.engineering-timelines.com/scripts/engin... http://www.more-powerful-solutions.com/media/Scree... http://www.nypost.com/seven/11302007/news/cextra/e... http://www.pearlstreetinc.com/NYISO_bulk_elect_beg... http://www.sayedsaad.com/Transformer/SF6_Transform... http://tdworld.com/mag/power_electricity_ages/