ศัพท์เฉพาะกิจ

ศัพท์เฉพาะกิจ[ต้องการอ้างอิง] (อังกฤษ: Nonce word) คือคำที่ใช้เพียงครั้งเดียว ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในโอกาสใดโอกาสหนึ่งโดยไม่หวังที่จะใช้ต่อไปอีกหลังจากนั้น เช่นคำว่า “Quark” ซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะกิจในภาษาอังกฤษที่ใช้โดยเจมส์ จอยซ์เท่านั้นใน “มโนสำนึกของฟินเนกัน” ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1939 เท่านั้นจนกระทั่งเมอร์เรย์ เกลล์-มันน์นำมาอ้างเกี่ยวกับอนุภาคย่อยของอะตอมศัพท์เฉพาะกิจมักจะประดิษฐ์ขึ้นมาโดยการรวมคำศัพท์ที่มีอยู่แล้วกับเติมหน้า หรือ เติมหลังเพื่อให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ หรือ เพื่อเป็นสิ่งชวนขัน ผลที่ออกมาก็จะเป็นศัพท์เทียมประเภทพิเศษ แม้ว่าจะเป็นคำศัพท์ที่ไม่ปรากฏในพจนานุกรม แต่ก็เป็นคำที่เข้าใจได้โดยทันที เช่นคำว่า “Bananaphone” ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องใช้คำนั้นอีก “ศัพท์เฉพาะกิจ” ก็จะเปลี่ยนฐานะเป็นคำศัพท์ที่ใช้กันโดยทั่วไป เช่นคำว่า “neologism” ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ แต่เป็นคำที่มีความหมายเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปได้โดยไม่ยากนักศัพท์เฉพาะกิจมักจะเป็นคำศัพท์ที่สร้างขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมสมัยนิยม และ การโฆษณาศัพท์เฉพาะกิจเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทางภาษาของเด็ก[1]

ใกล้เคียง

ศัพท์ ศัพท์เฉพาะกิจ ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย ศัพท์เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ศัพท์เทียม ศัพท์สแลง ศัพท์ต่างประเทศที่ใช้คำไทยแทนได้ ศัพท์เฉพาะวงการ ศัพท์ปัญญาประดิษฐ์ ศัพท์บัญญัติ