การจัดองค์การ ของ ศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์

อาคารศาลในเมืองคาร์ลสรูอา

ศาลมีสมาชิกทั้งหมด 16 คน แบ่งไปจัดตั้ง "ที่ประชุมใหญ่" (Senate) 2 แห่ง แห่งละ 8 คน ที่ประชุมใหญ่จะจ่ายสมาชิกของตนไปนั่งเป็นองค์คณะซึ่งมีทั้งหมด 3 องค์คณะ แต่ละองค์คณะประกอบด้วยตุลาการ 3 คน

ประธานที่ประชุมใหญ่คน 1 เป็นประธานศาล อีกคน 1 เป็นรองประธานศาล ประธานทั้ง 2 ยังนั่งเป็นองค์คณะ 2 ใน 3 องค์คณะแห่งที่ประชุมใหญ่ของตนด้วย ประธานที่ประชุมใหญ่ทั้ง 2 จะสลับกันเป็นประธานศาล กล่าวคือ เมื่อประธานที่ประชุมใหญ่แห่ง 1 เป็นประธานศาลแล้ว สมัยหน้า ประธานที่ประชุมใหญ่อีกแห่ง 1 จะเป็นประธานศาล

การวินิจฉัยขององค์คณะต้องเป็นไปตามมติเอกฉันท์เท่านั้น องค์คณะเป็นของที่ประชุมใหญ่แห่งใด องค์คณะนั้นไม่สามารถวินิจฉัยหักล้างปทัสถานซึ่งที่ประชุมใหญ่แห่งนั้นตั้งไว้ได้ ต้องให้ที่ประชุมใหญ่แห่งนั้นวินิจฉัยสถานเดียว การวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่ต้องเป็นไปตามเสียงข้างมากเด็ดขาด (absolute majority) แต่บางกรณีก็อนุญาตให้ใช้เสียงข้างมาก 2 ใน 3 ได้ อนึ่ง ที่ประชุมใหญ่แห่ง 1 ไม่สามารถวินิจฉัยหักล้างปทัสถานของที่ประชุมใหญ่อีกแห่ง 1 ได้ ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของ "ที่ประชุมเต็มคณะ" (Plenum) ซึ่งตุลาการทั้ง 16 คนจะมาชุมนุมกันวินิจฉัย

ศาลปฏิบัติต่างจากศาลอื่นของเยอรมนีตรงที่มักเปิดเผยคะแนนเสียง แต่มักเป็นคะแนนเสียงรอบสุดท้ายเท่านั้น ข้อแตกต่างอันสำคัญอีกประการ คือ ศาลอนุญาตให้สมาชิกของศาลเสนอความเห็นแย้งได้ สิทธิเสนอความเห็นแย้งนี้รับรองขึ้นเมื่อปี 1971

ใกล้เคียง

ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย) ศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ (อิตาลี) ศาลรัฐมนตรีสภา (ประเทศฝรั่งเศส) ศาลรัฐมนตรีสภา (ประเทศเนเธอร์แลนด์) ศกลรัตน์ วรอุไร ศาลชั้นต้น (ประเทศไทย) ศาลภัญชิกา ศาลจังหวัด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์ http://www.bundesverfassungsgericht.de/ http://www.bundesverfassungsgericht.de/en/index.ht... http://www.bundesverfassungsgericht.de/en/library.... http://bundesrecht.juris.de/bundesrecht/bverfgg/ http://www.iuscomp.org/gla/statutes/BVerfGG.htm //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... https://www.btg-bestellservice.de/pdf/80201000.pdf https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Bundes...