การแต่งตั้งตุลาการ ของ ศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์

ที่ประชุมใหญ่แห่งที่ 2 ขณะวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของรัฐบัญญัติงบประมาณเมื่อวันที่ 17 มกราคม 1989

ตามกฎหมายหลัก สมาชิกของศาลนั้นรัฐสภาเลือกตั้ง แต่ละสภาของรัฐสภามีอำนาจเลือกตั้งสมาชิกของศาลสภาละ 8 คน และจะสลับกันเลือกประธานศาล การเลือกตั้งสมาชิกของศาลนั้นต้องได้เสียงข้างมาก 2 ใน 3

ในทางปฏิบัติ สภาผู้แทนราษฎรมอบหมายภารกิจนี้ให้องค์กรที่เรียก "คณะกรรมการเลือกตั้งตุลาการ" (Richterwahlausschuss; judges election board) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 1 แม้นักวิชาการหลายคนเห็นว่า วิธีนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดร้องเป็นคดีต่อศาล

ตุลาการแต่ละคนอยู่ในตำแหน่งเป็นเวลา 12 ปี แต่พ้นจากตำแหน่งทันทีที่อายุครบ 68 ปี บุคคลจะเป็นตุลาการได้ต้องมีอายุ 40 ปีแล้ว และต้องเป็นนักนิติศาสตร์ที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างจัดเจน ในบรรดาตุลาการทั้ง 16 คนนั้น 6 คน (ที่ประชุมใหญ่ละ 3 คน) ต้องเป็นตุลาการศาลส่วนกลาง อีก 10 คน (ที่ประชุมใหญ่ละ 5 คน) ต้องเป็นนักนิติศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ข้าราชการ หรือทนายความ เมื่อวาระดำรงตำแหน่งสิ้นสุดลง ตุลาการส่วนใหญ่มักไม่รับราชการต่อไปอีก แต่มีกรณียกเว้นซึ่งเป็นที่จดจำกันแพร่หลาย คือ โรมัน แฮร์ซอก (Roman Herzog) ประธานศาล ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีเมื่อปี 1994 ก่อนจะพ้นจากตำแหน่งไม่นาน

ใกล้เคียง

ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย) ศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ (อิตาลี) ศาลรัฐมนตรีสภา (ประเทศฝรั่งเศส) ศาลรัฐมนตรีสภา (ประเทศเนเธอร์แลนด์) ศกลรัตน์ วรอุไร ศาลชั้นต้น (ประเทศไทย) ศาลภัญชิกา ศาลจังหวัด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์ http://www.bundesverfassungsgericht.de/ http://www.bundesverfassungsgericht.de/en/index.ht... http://www.bundesverfassungsgericht.de/en/library.... http://bundesrecht.juris.de/bundesrecht/bverfgg/ http://www.iuscomp.org/gla/statutes/BVerfGG.htm //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... https://www.btg-bestellservice.de/pdf/80201000.pdf https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Bundes...