ประวัติของสุสานและศาล ของ ศาลและสุสานบังทอง

เล่าปี่ให้สร้างสุสานและศาลของบังทองในปี ค.ศ. 214 หลังการเสียชีวิตของบังทอง มีอีกชื่อเรียกว่า "วัดไป๋หม่า" (白馬寺; แปลว่า "วัดม้าขาว") เพราะตั้งอยู่ในเมืองไป๋หม่ากวัน (白馬關鎮; แปลว่า "เมืองประตูม้าขาว") และยังมีชื่อเรียกอื่นว่า "ศาลมังกรและหงส์" เพราะมีรูปปั้นของบังทองและจูกัดเหลียงอยู่ข้างใน บังทองและจูกัดเหลียงมีฉายานามว่า "หงส์อ่อน" (ฮองซู) และ "มังกรหลับ" (ฮกหลง) ตามลำดับ และทั้งคู่เป็นที่ปรึกษาของเล่าปี่[2]

ศาลและสุสานผุพังไปตามกาลเวลาแต่ได้รับการบูรณะในปี ค.ศ. 1691 ในรัชสมัยของจักรพรรดิคังซีแห่งราชวงศ์ชิง ในปัจจุบัน ศาลมีประตูใหญ่ โถงกลาง โถงข้างสองแห่ง และศาลา โดยสุสานตั้งอยู่ข้าง ๆ มีต้นสนขนาดใหญ่สองต้นภายในศาลซึ่งกล่าวกันว่าปลูกโดยเตียวหุย ขุนพลของเล่าปี่ มีกลอนคู่คู่หนึ่งอยู่ที่ประตูความว่า "แม้ว่าเป็นที่แน่ชัดว่าจักรพรรดิองค์ก่อน (เล่าปี่) ทรงโปรดหงส์ที่ร่วงหล่น (บังทอง) แต่มังกรหลับ (จูกัดเหลียง) ยังได้โอกาสเป็นเสนาบดีที่ครองตำแหน่งยาวนาน" ชีวประวัติบังทองที่เขียนโดยตันซิ่วในศตวรรษที่ 3 มีการสลักบนกำแพงศิลาในโถงกลาง[2]

ในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 ศาลและสุสานได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ได้รับความคุ้มครองในระดับชาติชุดที่หก[2]

ใกล้เคียง

ศาลและสุสานบังทอง ศาลและสุสานขงจื๊อรวมทั้งคฤหาสน์ของตระกูลขงที่ชูฟู่ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ศาลแขวง (ประเทศไทย) ศาลโลก ศาลหลักเมืองนครราชสีมา ศาลหลักเมือง ศาลล้มละลาย (ประเทศไทย) ศาลแรงงาน (ประเทศไทย) ศาลหลักเมืองผิงเหยา