ภูมิหลัง ของ ศาลและสุสานบังทอง

บังทองเป็นชาวเมืองซงหยง (襄陽郡 เซียงหยางจวิ้น; ปัจจุบันคือนครเซียงหยาง มณฑลหูเป่ย์) เริ่มรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ในเมืองลำกุ๋น (南郡 หนานจวิ้น; ปัจจุบันอยู่บริเวณนครจิงโจว มณฑลหูเป่ย์) ก่อนมาเป็นที่ปรึกษาของขุนศึกเล่าปี่ในปี ค.ศ. 209 ครั้นเมื่อราวปี ค.ศ. 210 ได้ติดตามเล่าปี่เข้าร่วมในการศึกเพื่อเข้ายึดมณฑลเอ๊กจิ๋ว (มีพื้นที่ครอบคุลมมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) จากขุนศึกเล่าเจี้ยง บังทองเสียชีวิตเพราะถูกยิงด้วยเกาทัณฑ์ในศึกที่อำเภอลกเสีย (雒縣 ลั่วเซี่ยน; ปัจจุบันอยู่ทางเหนือของนครกวั่งฮั่น มณฑลเสฉวน) ในปี ค.ศ. 214[3]

การเสียชีวิตของบังทองได้มีการเสริมเติมดัดแปลงในนิยายอิงประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊ก ในนิยาย เตียวหยิมนายทหารของเล่าเจี้ยงจัดให้มีกองซุ่มอยู่นอกอำเภอลกเสีย ด้านเล่าปี่มอบม้าของตนคือเต๊กเลาให้บังทองขี่ก่อนเริ่มศึก บังทองนำกองทหารเข้าโจมตีอำเภอลกเสียและผ่านไปยังพื้นที่ที่มีการดักซุ่ม เตียวหยิมเห็นม้าเต๊กเลาก็เข้าใจว่าผู้ขี่คือเล่าปี่ สั่งให้ทหารยิงเกาทัณฑ์ใส่ผู้ขี่ บังทองถูกเกาทัณฑ์หลายดอกและเสียชีวิต ณ ที่นั้น สภานที่ที่บังทองเสียชีวิตนั้นเรียกว่า "ลกห้องโห" (ลั่วเฟิงพัว) หรือ "เนินหงส์ร่วง"[4]

ใกล้เคียง

ศาลและสุสานบังทอง ศาลและสุสานขงจื๊อรวมทั้งคฤหาสน์ของตระกูลขงที่ชูฟู่ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ศาลแขวง (ประเทศไทย) ศาลโลก ศาลหลักเมืองนครราชสีมา ศาลหลักเมือง ศาลล้มละลาย (ประเทศไทย) ศาลแรงงาน (ประเทศไทย) ศาลหลักเมืองผิงเหยา