ศาสนาชาวบ้านจีน
ศาสนาชาวบ้านจีน

ศาสนาชาวบ้านจีน

ศาสนาชาวบ้านจีน หรือ ศาสนาเฉิน (อังกฤษ: Shenismcode: en is deprecated มาจาก จีน: 神 Shén แปลว่า เทพเจ้า) หรือ เทวนิยมแบบจีน เป็นขนบทางศาสนาของชาวฮั่น ที่มาจากการบูชาบรรพชนและพลังธรรมชาติ การไล่ผี รวมถึงความเชื่อในระบบธรรมชาติที่เป็นไปตามอิทธิพลของมนุษย์และอมนุษย์[1] ตามที่ปรากฏในเรื่องปรัมปราจีน เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 (ราชวงศ์ซ่ง) คติเหล่านี้เริ่มผสมผสานกับความเชื่อเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดของศาสนาพุทธ และลำดับชั้นเทพเจ้าของลัทธิเต๋า จนก่อให้เกิดระบบศาสนาที่แพร่หลายดังปัจจุบัน[2]ศาสนาพื้นบ้านจีนมีที่มา รูปแบบ ภูมิหลัง พิธีกรรม และปรัชญา ที่แตกต่างหลากหลาย แต่มีแนวคิดหลักร่วมกันคือ สวรรค์เป็นที่มาของศีลธรรม เอกภพมีพลังงานชีวิต และบรรพชนเป็นผู้ควรเคารพนับถือ[3]ในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ราชสำนักยินยอมให้แต่ละชุมชนนับถือศาสนาชาวบ้านของตนได้หากทำให้สังคมมีระเบียบ แต่จะปราบปรามทันทีที่พบว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของราชสำนัก[4] หลังระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ล่มสลายลง รัฐบาลและชนชั้นนำเริ่มมองว่าศาสนาพื้นบ้านเป็นเรื่องงมงายและล้าสมัยของพวกศักดินา จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในประเทศไต้หวันและคริสต์ศตวรรษที่ 21 ในประเทศจีน ปัญญาชนจึงเริ่มยอมรับศาสนาชาวบ้านมากขึ้น[5]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศาสนาชาวบ้านจีน http://afe.easia.columbia.edu/cosmos/bgov/cosmos.h... http://afe.easia.columbia.edu/cosmos/main/spirits_... http://fudan-uc.ucsd.edu/_files/201306_China_Watch... http://www.journalofdemocracy.org/articles/gratis/... http://blogs.ssrc.org/tif/2013/10/10/secular-belie... http://blogs.ssrc.org/tif/the-state-of-religion-in... https://books.google.com/books?id=hGfOCgAAQBAJ https://books.google.com/books?id=nYkbAAAAQBAJ