ศาสนาพื้นบ้านพม่า
ศาสนาพื้นบ้านพม่า

ศาสนาพื้นบ้านพม่า

ศาสนาพื้นบ้านพม่า หมายถึงการเคารพบูชาเชิงศาสนาที่เป็นวิญญาณนิยม (Animism) และพหุเทวนิยม (Polytheism) ซึ่งบูชานะ (เทวดาที่มีรากฐานจากความเชื่อพื้นถิ่นและศาสนาฮินดู) และรวมถึงการบูชาบรรพบุรษ ที่พบในประเทศพม่า ถึงแม้ว่าความเชื่อเกี่ยวกับ นะ จะมีต่างกันไปในภูมิภาคหรือแม้แต่ในระดับหมู่บ้านของพม่า แต่ก็มีความเชื่อหลายประการที่เป็นสากลในศาสนาพื้นบ้านพม่านะ เป็น “ghod” (วิญญาณหรือผีที่ได้รับการเคารพบูชาเป็นเทพเจ้า) ที่ปรากฏในรูปของมนุษย์ที่คอยปกปักดูแลสิ่งต่าง ๆ เมื่อบุคคลหนึ่งเสียชีวิตก็จะสามารถกลายเป็น นะ ได้ (คล้ายคลึงกับความเชื่อเรื่อง ผี ในศาสนาพื้นบ้านไทย-ลาว และ คามิ ในศาสนาชินโต)ผู้ที่กลายเป็น นะ มักเสียชีวิตอย่างโหดร้ายน่ากลัว จึงทำให้พวกเขามีวิสัยความพยาบาท เชื่อกันว่า นะ สามารถควบคุมหรือเข้าสิงสัตว์ได้ เช่น เสือและจระเข้ วิญญาณเหล่านี้ยังสามารถพบในธรรมชาติ เช่นในหินหรือต้นไม้ โดยทั่วไป นะ ส่วนใหญ่ถูกมองว่าสามารถบันดาลปัญหาและฉุนเฉียวง่าย เพื่อให้ นะ สงบจึงมีการถวายอาหารและของเซ่นไหว้ต่าง ๆนะ รูปแบบเฉพาะหนึ่งเรียกว่า ouktazaung ที่มีหน้าที่ปกปักรักษาสมบัติ เป็นที่เล่าลือกันว่า ouktazaung จะล่อบุรุษไปหา คล้ายกับคติไซเรนในปกรณัมกรีก หากบุรุษใดโดน ouktazaung จับก็จะต้องอยู่เฝ้าสมบัตินั้นแทนและ ouktazaung ก็จะสามารถออกเร่ร่อนไปนอกบริเวณได้เป็นระยะเวลา 20 ปี ในแต่ละหมู่บ้านตามธรรมเนียมจะมี นะ ที่เป็นผู้ปกปักรักษาหมู่บ้าน เรียกว่า โบ้โบ้จี้[1]