ประติมากรรมและงานโลหะ ของ ศิลปะการอแล็งเฌียง

รายละเอียดหน้าปกหนังสือ (คริสต์ศตวรรษที่ 11, ไม่ใช่ศิลปะการอแล็งเฌียง)

หนังสืออันวิจิตรของสมัยการอแล็งเฌียงเป็นหนังสือที่สร้างขึ้นให้มีหน้าปกที่ตกแต่งอย่างหรูหรา ที่สร้างด้วยโลหะมีค่าฝังอัญมณีรอบแผ่นงาช้างแกะสลักตอนกลางของหน้าปก - หน้าปกของหนังสือบางฉบับเป็นหน้าปกที่ได้รับการอุทิศให้สร้างขึ้นภายหลังที่ตัวหนังสือเองสร้างเสร็จแล้ว มีเพียงหน้าปกที่ไม่ได้รับความเสียหายเพียงไม่กี่ชิ้นที่ยังคงหลงเหลืออยู่ แต่ส่วนที่เป็นงาช้างที่แยกออกมาจากตัวปกนั้นยังคงมีเหลืออยู่หลายชิ้น เพราะอาจจะมาจากเมื่อมีการทำลายหน้าปกเพื่อเอาโลหะมีค่าและอัญมณี หัวข้อของหนังสือมักจะเป็นฉากบรรยายเรื่องราวทางศาสนาแนวตั้ง ตามแบบงานเขียนและงานแกะสลักของสมัยปลายยุคโบราณ เช่นเดียวกับรูปลักษณ์ที่มาจากบานพับกงสุลหรือศิลปะของราชสำนักต่าง ๆ เช่นปกหน้าและหลังของ "พระวรสารลอร์สช"

จักรพรรดิชาร์เลอมาญทรงฟื้นฟูการหล่อสัมริดขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อทรงก่อตั้งโรงหล่อขึ้นที่อาเคิน ที่ทรงใช้ในการหล่อประตูของชาเปลพาเลไทน์ในอาเคินที่เป็นประตูที่เลียนแบบลวดลายออกแบบของโรมัน แต่กางเขนที่มีรูปลักษณ์ของพระเยซูที่ทำด้วยทองขนาดเท่าคนจริงที่เคยมีอยู่ในชาเปลนั้นหายไป งานชิ้นนี้เป็นแบบอย่างชิ้นแรกของงานลักษณะนี้ที่ต่อมามามีความสำคัญต่อศิลปะคริสต์ศาสนาของยุคกลาง รูปพระเยซูอาจจะแกะจากไม้แล้วหุ้มทองเช่นเดียวกับพระแม่มารีทองแห่งเอสเซิน

งานชิ้นที่งามที่สุดของฝีมือช่างทองของการอแล็งเฌียงก็ได้แก่แท่นบูชาทอง (ค.ศ. 824-ค.ศ. 859) (ภาพ:แท่นบูชา) หรือที่เรียกว่า "Paliotto" ที่เป็นของบาซิลิกาซานอัมโบรโจที่มิลาน แท่นบูชาสี่ด้านตกแต่งด้วยรูปลักษณ์ที่ทำด้วยทองและเงินโดยวิธีที่เรียกว่าการดุนลาย ล้อมรอบด้วยกรอบที่เป็นทองถัก, หินมีค่า และ เครื่องเคลือบ