จิตรกรรม ของ ศิลปะอยุธยา

จิตรกรรมสะท้อนความเชื่อทางพุทธศาสนา วาดไว้บนฝาผนังอุโบสถ วิหาร และสมุดภาพ ใช้สีฝุ่นผสมกาว ระบายเรียบ และตัดเส้น[3] ในระยะแรกใช้สีในวรรณะเอกรงค์ ต่อมาเมื่อมีการติดต่อกับต่างประเทศ ทำให้มีสีต่าง ๆ เพิ่มเข้ามา นิยมเขียนเรื่องอดีตพุทธ พุทธประวัติ ทศชาติชาดก เทพชุมนุมและภาพลวดลายต่าง ๆ มีการปิดทองที่ภาพสำคัญและทำลายดอกไม้ร่วงที่พื้นหลังภาพ[4] ลักษณะโดยรวมของงานจิตรกรรมในสมัยอยุธยาตอนต้นคือ ยังคงใช้สีไม่มากนัก เทคนิคการเขียนสีลงบนรองพื้นสีขาว ระบายพื้นหลังตัวภาพด้วยสีแดง ตัวภาพมีการระบายสีขาว สีเนื้อและปิดทองคำเปลว ตัดเส้นด้วยสีดำหรือสีแดง

ในสมัยอยุธยาตอนกลาง มีการพัฒนาเทคนิควิธีการเขียนภาพจิตรกรรม เริ่มใช้สีที่มีความหลากหลายขึ้น การปิดทองคำเปลว และตัดเส้นด้วยสีแดง[5] จิตรกรรมยุคหลังแตกต่างจากยุคแรกที่นิยมเขียนซุ้มเรือนแก้วมาเป็นภาพเล่าเรื่อง มีสีเพิ่มมากขึ้น