ศิลปะอัศจรรย์
ศิลปะอัศจรรย์

ศิลปะอัศจรรย์

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งศิลปะอัศจรรย์ หรือ อัศจรรย์ศิลป์ (อังกฤษ: Fantastic art) คือประเภทของงานศิลปะ ขอบข่ายของศิลปะอัศจรรย์ได้รับการนิยามอย่างเคร่งครัดโดยนักวิชาการมาตั้งแต่สมัยของชูลส์ แวร์นและเอช. จี. เวลส์ ก่อนหน้าและระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ก็ได้มีขบวนการศิลปินไซ-ไฟ/แฟนตาซีที่ครอบคลุมงานประเภทศิลปินภาพประกอบศิลปะและหนังสือคอมมิค บทเขียนรวมเกี่ยวกับงานศิลปะประเภทนี้เห็นได้ชัดในหนังสือ “Infinite Worlds: The Fantastic Visions of Science Fiction Art” โดยศิลปินอเมริกันวินเซนต์ ดิ เฟทโดยมีนักเขียนอเมริกันเรย์ แบรดเบอร์รีเป็นผู้เขียนบทนำศิลปะอัศจรรย์เดิมจำกัดอยู่เฉพาะแต่งานจิตรกรรมและภาพประกอบ แต่ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมาก็ขยายไปรวมภาพถ่าย ศิลปะอัศจรรย์มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับแฟนตาซี, แฟนตาซีเชิงวิทยาศาสตร์ (ประเภทย่อยของไซ-ไฟที่เกี่ยวกับความลี้ลับของมนุษย์ต่างดาวและศาสนาของมนุษย์ต่างดาว), จินตนาการ, และภาวะกึ่งฝัน, วิลักษณ์[1], มโนทัศน์อันเหนือจริง[2] และรวมทั้งศิลปะเชิงกอธิค การที่ศิลปะอัศจรรย์มีที่มาจากประเภทของงานศิลปะแบบสัญลักษณ์นิยมของสมัยวิคตอเรียทำให้ครอบคลุมหัวข้อที่คล้ายคลึงกันที่รวมทั้งเทพวิทยา, รหัสญาณ (Occultism) และ รหัสยลัทธิ (mysticism), หรือ ตำนานและตำนานพื้นบ้าน และ จะแสวงหาคุณค่าของคุณสมบัติภายใน (ธรรมชาติของวิญญาณและจิตวิญญาณ)แฟนตาซีเป็นส่วนสำคัญของการสร้างงานศิลปะมาตั้งแต่ก่อตัวขึ้น[2] แต่มาเพิ่มความสำคัญยิ่งขึ้นอีกในการเขียนจิตรกรรมแมนเนอริสม์, สัจนิยมแนวมายา, จินตนิยม, สัญลักษณ์นิยม, เหนือจริง, สัญลักษณ์นิยม และ ศิลปะใต้ดิน (Lowbrow) ฝรั่งเศสเรียกศิลปะในกลุ่มนี้ว่า “ศิลปะแฟนทาสทีค” (Fantastique) ในภาษาอังกฤษบางครั้งก็จะเรียกว่า “ศิลปะมโนทัศน์” (Visionary art) หรือ “ศิลปะวิลักษณ์” (Grotesque art) หรือ “ศิลปะแมนเนอริสม์” ศิลปะอัศจรรย์มีความสัมพันธ์อย่างเกี่ยวดองกับวรรณกรรมแฟนตาซี