การแถลงข่าวและปฏิกิริยาตอบรับ ของ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

กรณีการวางเพลิง

ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เผยแพร่คลิปวิดีโอ ที่แกนนำ นปช.ปราศรัยบนเวที โดยให้เหตุผลว่า มีเนื้อหาสั่งการให้ผู้ชุมนุม วางเพลิงตามสถานที่ต่างๆ[48]

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงเหตุการณ์เผาสถานที่สำคัญต่าง ๆ ใจกลางกรุงเทพมหานคร ว่าอาคารต่างๆที่ถูกเผา ทั้งเซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นเตอร์วัน อาคารมาลีนนท์ หรือธนาคารกรุงเทพ หลายสาขา หากรัฐบาลอ้างว่ากลุ่ม นปช. เผาจริง ทำไมไม่มีการจับกุมได้เลยแม้แต่คนเดียว ทั้งที่การเผาศาลากลางมีการจับกุมผู้ก่อเหตุได้หลายคน อีกทั้งห้างเกษรพลาซ่า ก็เป็นของลูกสาวและลูกเขยคนในพรรคประชาธิปัตย์ ทำไมพวกตนถึงไปเผาเซ็นทรัลเวิลด์ อีกทั้งเรื่องอาวุธที่ ศอฉ. นำมาแถลงนั้น ก็คือการยัดเยียดอาวุธ และทำไมไม่มีการชันสูตรพลิกศพทุกศพ จะได้รู้ว่าทั้งสองฝ่ายเสียชีวิตเพราะอะไร[49]

กรณีขบวนการล้มเจ้า

รูปแสดงแผนผังขบวนการล้มเจ้า ที่ ศอฉ. จัดทำขึ้น

ศอฉ. ได้ออกมาระบุถึง "ขบวนการล้มเจ้า" คือกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการเพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ จากการเปิดเผยของสำนักข่าวทีนิวส์ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยเป็นหลัก พร้อมทั้งอ้างว่า มีการเคลื่อนไหวโดยใช้สื่อสารมวลชน เช่น อินเทอร์เน็ต และสื่อสิ่งพิมพ์[50] ทั้งนี้ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. ชี้แจงว่าแผนผัง ดังกล่าว ศอฉ. สร้างโครงข่ายที่เชื่อมโยงกับบุคคลจำนวนมากขึ้นเอง โดยอาศัยข้อมูลที่ไม่มีการตรวจสอบ ทางกลุ่มได้มอบให้ฝ่ายกฎหมายรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดเพื่อดำเนินการฟ้องร้องกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง และ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป[51][52]

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาผู้บัญชาการทหารบก ได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนและเด็ดขาดในการที่จะจัดการกับขบวนการที่คิดล้มเจ้าจาบจ้วงต่อสถาบันเบื้องสูง และทำลายสถาบันหลักต่างๆ ของชาติโดยเฉพาะสถาบันองคมนตรี และสถาบันศาล ด้วยวลี ที่แข็งกร้าวว่า "ที่บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวายก็เพราะยังมีคนชั่วเยอะ"[ต้องการอ้างอิง] ในขณะที่ พล.ท.วรรณทิพย์ ว่องไว แม่ทัพภาคที่ 3 ย้ำความมีอยู่จริงของขบวนการคิดล้มเจ้า ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากพฤติกรรมอย่างกรณีนายจักรภพ เพ็ญแข และนายใจ อึ๊งภากรณ์ สองแกนนำคนเสื้อแดง ที่หลบหนีหมายจับไปใช้ชีวิตอยู่ในต่างแดน จากท่าทีดังกล่าวก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้จากแกนนำคนเสื้อแดง โดย นายจตุพร พรหมพันธุ์ ตอบโต้ว่า อย่านำสถาบันเบื้องสูงมาเป็นเครื่องมือทำลายฝ่ายตรงข้าม และสิ่งสำคัญ พล.อ.ประยุทธ์ ควรหันไปจัดการพวกที่แอบอ้างสถาบันและนักการเมืองที่ทุจริตคอร์รัปชั่นกันอย่างมโหฬารในรัฐบาลชุดนี้มากกว่า [53]

จากการเปิดเผยของนาย นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษระบุว่ามีการเคลื่อนไหว 2 ช่องทางคือ

  1. การเผยแพร่สื่อสารไปยังประชาชนโดยตรง โดยการพูดหรือปราศรัยในที่สาธารณะ การเผยแพร่บทความใบปลิว การให้ข่าวหรือให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศ การจัดรายการวิทยุ การจัดรายการโทรทัศน์ ช่องทางที่
  2. การเผยแพร่บนระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การจัดทำเว็บไซด์ หรือเว็บบอร์ดที่มีข้อความแสดงความอาฆาตมาดร้าย การเผยแพร่ภาพที่ไม่บังควร การเผยแพร่บทความ หนังสือ คลิปวิดีโอ อีเมลล์ การจัดรายการวิทยุ ออนไลน์ รายการโทรทัศน์ออนไลน์[54]

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้อำนวยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ละเมิด ใส่ชื่อ 'สุธาชัย' ในผังเครือข่ายล้มเจ้า ต่อมาศาลแพ่งตัดสินจำเลยมีอำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กระทำในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐ พิพากษายกฟ้อง[55]

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ให้สัมภาษณ์ในทำนองว่า การโจมตีและเคลื่อนไหวกดดันบุคคลที่ปฏิบัติงานใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ถือเป็นการบั่นทอนและกัดกร่อนสถาบัน ว่า เป็นการกล่าวหาอย่างร้ายแรง ฉกาจฉกรรจ์ต่อกลุ่มคนเสื้อแดง ขอยืนยันว่า กลุ่มคนเสื้อแดงจงรักภักดีต่อสถาบันและไม่เคยแม้แต่จะคิดดำเนินการใดๆ ที่จะเป็นการกระทบกระเทือนสถาบันเลยแม้แต่น้อย เป้าหมายสูงสุดของกลุ่มคนเสื้อแดง คือการโค่นล้มระบอบอำมาตยธิปไตยที่เรืองอำนาจอย่างสูงสุดในระยะ 3-4 ปีที่ผ่านมานี้ จนกระทั่งปัจจุบัน[56]

พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีต้องแก้ไขความขัดแย้งของคนในชาติ ทุกวันนี้สิ่งที่เจ็บปวดที่สุดคือการกล่าวหาคนเสื้อแดงว่าไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมตัดสินใจมาทำงานในพรรค ภารกิจเรื่องแรกที่ตั้งเป้าคือการพิสูจน์ว่าพรรคนี้มีความจงรักภักดีหรือไม่ ซึ่งผมได้พิสูจน์แล้วว่าทุกคนมีความจงรักภักดี พรรคนี้มีอดีตนายกรัฐมนตรีที่ยังมีชีวิตอยู่ 3 คน อดีต ผบ.ทบ. 3 คน อีกไม่นานเกินรอพรรคจะมีเครื่องหมายความจงรักภักดี เข้ามาอยู่กับเรา แม้กระทั่งหม่อมเจ้า รุ่นสุดท้ายยังจะมาอยู่กับเรา

ข้อกล่าวหาเรื่องงบประมาณ

ศอฉ.ถูกกล่าวหาจากฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามว่าใช้งบประมาณสิ้นเปลืองกว่าหมื่นล้านบาท ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แถลงตอบโต้กรณีดังกล่าวอย่างเกรี้ยวกราดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 ว่าไม่เป็นความจริง และงบประมาณของศอฉ.มีเฉพาะเบี้ยเลี้ยงของทหารเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]

กรณีการออกหมายเรียก ตามพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

หมายเรียก ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน มีทั้งหมด สอง ชุด 106 รายชื่อ ส่วนใหญ่เป็น กลุ่มวิทยุชุมชน แท็กซี่ จักรยานยนต์ และการ์ดนปช. รายชื่อเช่น [57]บุคคล

  1. นาย อนุธีร์ เดชเทวพร
  2. น.ส.สุลักษณ์ หลำสกุล
  3. นาย สุณหณัฐ นกเล็ก
  4. นาย วสันต์ สายรัศมี
  5. นาย พรชัย ก่อวัฒนมงคล
  6. นาย ชานุ ไชยะ
  7. นาย พงษ์อัมพร บรรดาศักดิ์
  8. นาย พันธุ์ศักดิ์ ซาบุ
  1. นาย สุรศักดิ์ เหลือประไพกิจ
  2. นาย พีระ พริ้งกลาง
  3. นาย ชัยวุฒิ จริยวิโรจน์สกุล
  4. นาย สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์
  5. นาย พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์
  6. นาย พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
  7. นาย กิตติพงษ์ นาตะเกศ
  8. นาย นิติ เมธพนฎ์

กรณีจับกุมฐานฝ่าฝืน พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

การจับกุมฐานฝ่าฝืน พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 9 และมาตรา 11 กล่าวคือ การฝ่าฝืนข้อกำหนดในการออกนอกเคหะสถาน ในระยะเวลาที่กำหนด หรือ กระทำการเข้าไปในสถานที่ ๆ ห้ามเข้า การเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การทำร้ายร่างกายและทรัพย์สิน การออกมาชุมนุมมากว่า 5 คนขึ้นไป การมีอาวุธในครอบครอง การมีวัตถุยั่วยุเพื่อการขาย การแพร่สื่อสิ่งพิมพ์ที่อาจกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มีโทษจำคุกสองปี ปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ รายนามที่น่าสนใจมีดังต่อไปนี้[58]

จำนวนผู้ถูกกุมขังทั้งหมด 417[59]คนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติบุคคล

  1. นาย สุรชัย เพ็ชรพลอย อายุ 29 ปี
  2. นาย วิษณุ กมลแมน อายุ 19 ปี
  3. นาย ศรชัย คงทอง อายุ 26 ปี
  4. นาย กิตติพงษ์ นาตะเกศ อายุ 24 ปี
  5. นาย นิติ เมธพนฎ์ อายุ 23 ปี
  6. นาย เอกพันธ์ ทาบรรหาร อายุ 19 ปี
  7. นาย สาทิตย์ เสนสกุล อายุ 19 ปี

คำสั่งจากศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ 78/2553 ณ วันที่ 21 มิถุนายน 2553 ให้บุคคลหรือนิติบุคคลตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งนี้มารายงานตัวต่อคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษเพื่อให้ถ้อยคำและส่งมอบเอกสาร หรือหลักฐานใดที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรม อันต้องสงสัยของตนภายในวันที่ 31 กรกฎาคม2553 ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งนี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548[60]

นิติบุคคล

  1. บริษัทเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน
  2. บริษัท เวิร์ธซัพพลายส์ จำกัด
  3. บริษัทบี.บี.ดีดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
  4. บริษัท บี.บี.ดี.พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด
  5. บริษัทบี.พี.พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด
  6. บริษัทประไหมสุหรี พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด
  7. บริษัท พี.ที.คอร์ปอเรชั่น จำกัด
  1. บริษัท เอสซีเค เอสเทต จำกัด
  2. บริษัทเอสซี ออฟฟิซปาร์ค จำกัด
  3. บริษัทเอสซีออฟฟิซพล่าซ่า จำกัด
  4. บริษัทโอเอไอ คอนซัลแต้นท์แอนด์แมนเนจเม้นท์จำกัด
  5. บริษัทโอเอไอแมนเนจเม้นต์ จำกัด
  6. บริษัทโอเอไอลีสซิ่ง จำกัด
  7. บริษัทโอเอไอ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด


บุคคล

  1. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
  2. คุณหญิง พจมาน ณ ป้อมเพชร
  3. นาย พานทองแท้ ชินวัตร
  4. น.ส.พิณทองทา ชินวัตร
  5. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
  6. นาย บรรณพจน์ ดามาพงศ์
  7. นาง กาญจนาภา หงส์เหิน
  8. นาย สาโรจน์ หงส์ชูเวช
  9. นาย การุณ โหสกุล
  10. นาย วิชาญ มีนชัยนันท์
  11. คุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธ์
  12. นาย สันติ พร้อมพัฒน์
  13. นาย ประชา ประสพดี
  14. นาย ไชยา สะสมทรัพย์
  15. นาย วุฒิชัย กิตติธเนศวร
  16. นาย สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
  17. นาย เจริญ จรรย์โกมล
  18. นาย เรืองยุทธ ประสาทสวัสดิ์ศิริ
  19. นาง มยุรี เศวตาศัย
  20. นาย อุดมเดช รัตนเสถียร
  21. นาง วิยดี สุตะวงศ์
  22. นาย ทัศ เชาวนเสถียร
  23. พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก
  1. นาย อนุสรณ์ ปั้นทอง
  2. นาย สงคราม กิจเลิศไพโรจน์
  3. นาย พันธ์เลิศ ใบหยก
  4. นาย สมหวัง อัสราศี
  5. น.ส.จุฑารัตน์ เมนะเสวต
  6. นาย สมชายไพบูลย์
  7. นาย สงวน พงษ์มณี
  8. พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร
  9. นาย ไพโรจน์ ตันบรรจง
  10. นาย ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ
  11. พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ
  12. นาย สุชาติ ลายน้ำเงิน
  13. นาย นิยม วรปัญญา
  14. นาย เหวง โตจิราการ
  15. นาย วีระ มุสิกพงศ์
  16. นาย ขวัญชัย สาราคำ
  17. นาย นิสิต สินธุไพร
  18. นาย ก่อแก้ว พิกุลทอง
  19. นาย ชินวัฒน์ หาบุญพาด
  20. นาย อดิศร เพียงเกษ
  21. นาย สำเริง ประจำเรือ
  22. นาย สุภรณ์ อัตถาวงศ์
  23. พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์
  1. นาย ธนกิจ ชะเอมน้อย หรือ นายวันชนะ เกิดดี
  2. นาย อารี ไกรนรา
  3. นาย เมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์
  4. พล.ท.มนัส เปาริก
  5. พล.ท.พฤณฑ์ สุวรรณทัต
  6. พล.ต.อ.สร้าง บุนนาค
  7. นาง เยาว์วเรศ ชินวัตร
  8. นาย สุธรรม แสงประทุม
  9. นาย พศิน หอกลาง
  10. นาง สุกัญญา ประจวบเหมาะ
  11. นาย อัสนี เชิดชัย
  12. นาง ดวงแข อรรณนพพร
  13. นาย เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช
  14. นาย จักริน พัฒน์ดำรงจิตร
  15. นาย จตุพร เจริญเชื้อ
  16. นาย วิเชียรชนินทร์ สินธุไพร
  17. นาง สุพิชฌาย์ พัฒนะพันธุ์
  18. นาย สมยศ พฤกษาเกษมสุข
  19. นาย ไพรวงษ์ เตชะณรงค์
  20. นาย ปลอดประสพ สุรัสวดี
  21. นาย ประยุทธ มหากิจศิริ
  22. นาย เมธี อมรวุฒิกุล
  23. นาย ภักดี ธนะปุระ

คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ 141/2553 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เรื่อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ ออกคำสั่งยึด หรือ อายัด สินค้าหรือวัตถุอื่นใดที่ก่อให้เกิดความแตกแยกผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548[61]บุคคล

  1. นาง กรกมล พรหิทธ์ ผู้ฝ่าฝืนข้อกำหนด[62]
  2. น.ส.อมรวัลย์ เจริญกิจ ผู้ฝ่าฝืนข้อกำหนด[63]

"ขบวนการล้มเจ้า"

ประเด็นการเมือง "ขบวนการล้มเจ้า" เริ่มจากในปี 2553 รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะให้สัมภาษณ์ทำนองว่าคู่แข่งทางการเมืองเป็นผู้ไม่จงรักภักดี คิดล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์[64] นอกจากนี้ รัฐบาลยังปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต และได้สั่งปิดเว็บไซต์กว่า 43,000 เว็บไซต์[65] ภายหลังแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาตอบโต้ว่าไม่รู้เรื่อง และจะฟ้องร้องดำเนินคดี ในข้อหาหมิ่นประมาทกับรัฐบาลและศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)[66]

วันที่ 22 มีนาคม 2554 พันเอก สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. ให้การต่อศาลระบุว่า เป็นเพียงการให้ข้อมูลความเชื่อมโยง ไม่ได้บอกว่าใครล้มเจ้า ชี้ประชาชน-สื่อเอาไปขยายความต้องรับผิดชอบเอง[67]

อ้างอิง

ใกล้เคียง

ศูนย์ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกในประเทศไทย ศูนย์การค้า ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์การบินทหารบก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน http://www.ohbar.com.au/main/view-content.php?id_c... http://www.posttoday.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%... http://www.prachatai.com/journal/2010/05/29381 http://www.ryt9.com/s/nnd/1016660 http://news.sanook.com/611261-%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E... http://news.sanook.com/982830/ http://sport.sanook.com/927742/%E0%B8%99%E0%B8%9B%... http://thairecent.com/Crime/2010/677434/ http://ronakorn.wordpress.com/2010/04/26/%E0%B8%A8... http://www.youtube.com/watch?v=gDilc5PrrPI