การผลิต ของ สตาร์_วอร์ส:_เทลส์

การพัฒนา

ในขณะเดินทางไปทำงานในซีรีส์ สตาร์ วอร์ส เรื่อง เดอะแมนดาลอเรียน เดฟ ฟิโลนี เริ่มเขียนเรื่องสั้นเกี่ยวกับตัวละคร เจได ต่าง ๆ จาก ยุคไตรภาคต้น ของแฟรนไชส์ คาร์รี เบ็ค รองประธานอาวุโสฝ่ายพัฒนาและการผลิตของ ลูคัสฟิล์ม ถามว่าฟิโลนีต้องการเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้เป็นซีรีส์หรือไม่ ซึ่งเขาเปรียบเทียบว่าเธอ "หาเงิน" เพื่อนำซีรีส์แอนิเมชันของเขาสตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส กลับมาฉายใหม่บนบริการสตรีมมิง ดิสนีย์+[6]

ในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2021 โลโก้ของ เทลส์ออฟเดอะเจได ได้รวมอยู่ในของขวัญวันหยุดสำหรับพนักงานของลูคัสฟิล์ม ควบคู่ไปกับโลโก้สำหรับโปรเจ็คภาพยนตร์และภาพยนตร์โทรทัศน์ที่กำลังจะมีขึ้นที่สตูดิโอ[7] นอกจากนี้ ชื่อนี้ยังเป็นชื่อของ หนังสือการ์ตูนชุดที่ไม่เกี่ยวข้องกัน โดย ดาร์กฮอสคอมิกส์ ในปี ค.ศ. 1990[6] โดยในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022 ลูคัสฟิล์มยืนยันโปรเจ็คนี้เมื่อประกาศกำหนดการสำหรับ Star Wars Celebration Anaheim[8] ฟิโลนีพูดคุยถึง ซีรีส์รวบรวมเนื้อเรื่อง หรือที่รู้จักในชื่อ สตาร์ วอร์ส: เทลส์ออฟเดอะเจได[9] ในช่วงเวลาที่กำหนดให้โดยเฉพาะ โดยเผยให้เห็นว่าซีรีส์นี้ประกอบด้วยเรื่องสั้น 6 เรื่อง[3] ห้าเรื่องเขียนโดยฟิโลนี และอีกเรื่องโดย ชาร์ลส์ เมอร์เรย์ นักเขียน เรื่อง เดอะ โคลน วอร์ส และเอลาน เมอร์เรย์[9][3] เรื่องสั้นแต่ละเรื่องมีความยาวประมาณ 15 นาที[10][11] ฟิโลนียังรับหน้าที่ผู้สร้าง ผู้กำกับควบคุม และผู้อำนวยการสร้าง โดยมีอะทีนา อีเว็ตต์ พอร์ทิลโอ และเบ็คเป็นผู้อำนวยการสร้างอีกด้วย[9]

ใน งาน Star Wars Celebration London ในเดือนเมษายนปี ค.ศ. 2023 ฟิโลนีประกาศว่าซีรีส์นี้จะได้รับการสร้างซีซันที่สอง[12] สิ่งนี้ถูกเปิดเผยว่ามีชื่อว่า อินควิซิเตอร์ หรือ สตาร์ วอร์ส: เทลส์ออฟดิเอมไพร์ ในปีต่อไป[5] ลูคัสฟิล์มอธิบายว่ามันเป็นภาคที่สองของ "แฟรนไชส์ เทลส์ "[1][5][13]

การเขียน

ฟิโลนีกล่าวว่าเรื่องสั้นดำเนินเรื่องช้ากว่าตอนของ เดอะ โคลน วอร์ส และเรียกตอนเหล่านี้ว่า "ชุดบทกวีที่มีโทนเสียง" โดยมีบทสนทนาน้อยกว่าและมีการเล่าเรื่องด้วยภาพมากกว่า สิ่งนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานของ ฮายาโอะ มิยาซากิ เช่นเดียวกับที่ปรึกษาของฟิโลนี ผู้สร้าง สตาร์ วอร์ส์ จอร์จ ลูคัส[2][4] โดยแต่ละภาคของซีรีส์จะสำรวจ "สองเส้นทางและสองทางเลือก" สำหรับ เทลส์ออฟเดอะเจได เส้นทางหนึ่งติดตามตัวละคร อาโซกา ทาโน และอีกเส้นทางหนึ่งมุ่งเน้นไปที่ เคานต์ดูกู ตัวละครแต่ละตัวได้รับการสำรวจในสามยุคของชีวิตที่แตกต่างกัน[4] เทลส์ออฟดิเอมไพร์ มุ่งเน้นไปที่ตัวละคร มอร์แกน เอลส์เบ็ธ และ แบริส ออฟฟี[5]

แนวคิดแรกของฟิโลนีสำหรับซีรีส์นี้คือการแสดงให้เห็นว่า โพลคูน นำอาโซกามาที่นิกายเจไดได้อย่างไร แต่เขาเปลี่ยนเรื่องนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางล่าสัตว์ครั้งแรกของอาโซกากับแม่ของเธอ เนื่องจากยังไม่มีเรื่องราวมากเท่าไหร่เกี่ยวกับ "แม่ที่เป็นแม่" ใน สตาร์ วอร์ส[2][14] เขารู้สึกว่าสิ่งสำคัญคือ "การที่อาโซกามีประสบการณ์ครั้งแรกในการที่มีคนบอกเธอว่า 'อย่ากลัวเลย' ซึ่งก็คือแม่ของเธอนั่นเอง"[4] นอกเหนือจากตอนแรกซึ่งมีตอนจบที่ดีและนำเสนอ "เด็กน้อยอาโซกาที่น่ารัก"[4] ฟิโลนีเตือนว่า "นี่ไม่ใช่แค่เรื่องสนุกและมีความสุขเท่านั้น บางครั้งมันก็มีเรื่องที่ยากลำบาก" เขารู้สึกเป็นพิเศษว่าชีวิตของดูกูนั้น "น่าหดหู่ใจ" และเล่าว่าซีรีส์นี้บางตอนที่มืดมนกว่านั้น ถูกเขียนขึ้นในช่วง การแพร่ระบาดของโควิด-19[2] แง่มุมหนึ่งของดูกูที่ฟิโลนีต้องการสำรวจคือความสัมพันธ์กับ ไควกอน จอนน์ ผู้เป็นพาดาวันของเขา ซึ่งฟิโลนีอธิบายว่าเป็น "หนึ่งในเจไดที่ดีที่สุดและในบางแง่นั้น น่าสนใจที่สุด เนื่องจากปรัชญาของเขา ซึ่งแตกต่างจากสภาเจได และเขาไปเรียนรู้เรื่องนั้นมาจากไหนถ้าไม่ใช่จากที่ปรึกษาของเขา เคานต์ดูกู?”[4]

ตอนสุดท้ายของ เทลส์ออฟเดอะเจได ที่มีชื่อว่า "Resolve" เป็นการดัดแปลงเหตุการณ์ในนวนิยาย อาโซกา ปี ค.ศ. 2016 โดย อีเค จอห์นสตัน อย่างหลวม ๆ ฟิโลนีอธิบายว่าเขาใช้ "Resolve" บนโครงร่างเดียวกันกับที่เขาให้ลูคัสฟิล์มนำไปจัดพิมพ์นวนิยายเรื่องนี้ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมผลงานทั้งสองจึงบอกเล่าเรื่องราวเดียวกัน[15] แอชลีย์ เอกสไตน์ นักแสดงที่ให้เสียงอาโซกา กล่าวว่านวนิยายเรื่องนี้ไม่ได้ถูกนำมาพูดคุยกันในขณะที่ "Resolve" อยู่ในระหว่างการผลิต และเธอไม่เคยถามฟิโลนี ว่าตอนนี้เกี่ยวข้องกับนวนิยายเรื่องใด เธอมองว่าตอนนี้เป็น "ส่วนขยายของนวนิยาย" และเป็นจุดเริ่มต้นของ "บทนั้น" ในชีวิตของอาโซกา[16]

การคัดเลือกนักแสดง

จากการประกาศซีรีส์นี้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022 เลียม นีสัน ได้รับการเปิดเผยว่าจะกลับมารับบทบาทเป็น ไควกอน จินน์ จากภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส ในขณะที่ มิเชล ริชาร์ดสัน ลูกชายของเขา จะพากย์เสียงตัวละครในเวอร์ชันที่เด็กกว่า[17] แมตต์ แลนเทอร์ กลับมารับบทเป็น อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ จาก เดอะ โคลน วอร์ส[3] และ จานินา กาวานคาร์ รับบทเป็น พาฟ-ที แม่ของอาโซกา ทาโน ก่อนหน้านี้กาวานคาร์ พากย์เสียง อีเดน เวอร์ซีโอ ในวิดีโอเกม สตาร์วอร์ส แบตเทิลฟรอนต์ 2[4] ในเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 2022 แอชลีย์ เอกสไตน์เปิดเผยว่าเธอจะกลับมารับบทอาโซกา ทาโน จาก เดอะ โคลน วอร์ส[18] หนึ่งวันก่อนที่ซีรีส์จะออกฉาย ไบรส์ ดาลลาส ฮาเวิร์ด เปิดเผยว่าเธอพากย์เสียง แยดเดิล;[19] ฟิโลนีติดต่อฮาเวิร์ด ซึ่งเป็นแฟนของโปรเจ็คแอนิเมชันของ สตาร์ วอร์ส เพื่อพากย์เสียงตัวละครนี้หลังจากประสบการณ์การทำงานร่วมกันใน เดอะ แมนดาลอเรียน[20] การกลับมารับบทเป็นตัวละคร สตาร์ วอร์ส ใน เทลส์ออฟเดอะเจได ได้แก่ โครีย์ เบอร์ทัน ในบท เคานต์ดูกู, ทีซ๊ คาร์สัน ในบท เมซ วินดู, เอียน แม็คเดียร์มิด ในบท ดาร์ธ ซีเดียส, เจมส์ อาร์โนลด์ เทเลอร์ ในบท โอบีวัน เคโนบี, ฟีล ลามาร์ ในบท เบล ออร์กานา,[21] และ ดี แบรดลีย์ เบเกอร์ รับบทเป็น กัปตันเร็กซ์, เจสซี และ เหล่าทหารโคลน[22] แคลนซี บราวน์ ให้เสียงเป็น อินควิซิเตอร์[9]

เมื่อมีการเปิดเผยรายละเอียดของ เทลส์ออฟดิเอมไพร์ มีการเปิดเผยว่านักพากย์หลายคนที่กลับมารับบทบาทเดิมจากสื่อ สตาร์ วอร์ส ก่อนหน้านี้ ได้แก่ เดียนา ลี อีโนแซนโท ในบท มอร์แกน เอลส์เบ็ธ, เมเรดิธ ซาเลนเจอร์ ในบท แบริส ออฟฟี, ไรอา คิลสเด็ท ในบท ภคินีที่ 4, วิง ที. เชา ในตำแหน่ง ผู้ว่าราชการ วิง, ลารส์ มิกเคลเซน รับบทเป็น จอมพลธรอว์น, เจสัน ไอแซ็กซ์ รับบทเป็น แกรนด์อินควิซิเตอร์ และ แมทธิว วูด รับบทเป็น นายพลกรีวัส[5] นอกจากนี้ ยังมีการปรากฏตัวของตัวละคร ดาร์ธ เวเดอร์[23]: 17  มาร์ร็อค[13] และอินควิซิเตอร์ที่ไม่มีชื่อ ซึ่งให้เสียงโดยบราวน์ จาก เทลส์ออฟเดอะเจได[23]: 18 

แอนิเมชัน

ซีรีส์นี้ใช้รูปแบบแอนิเมชันเดียวกันกับ สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส และ สตาร์ วอร์ส: ทีมโคตรโคลนมหากาฬ[2] ชาร์ลส์ เมอร์เรย์, นาธาเนียล วิลลานูเอวา และซอล รูอิส กำกับเรื่องสั้นใน เทลส์ออฟเดอะเจได[9][24]

ดนตรี

เควิน ไคเนอร์ แต่งเพลงให้กับ เทลส์ออฟเดอะเจได หลังจากเคยแต่งเพลงให้กับ เดอะ โคลน วอร์ส, สตาร์ วอร์ส เรเบลส์ และ ทีมโคตรโคลนมหากาฬ[9] เช่นเดียวกับซีรีส์แอนิเมชันเรื่องอื่น ๆ ของ สตาร์ วอร์ส นั้น ไคเนอร์ร่วมมือกับลูก ๆ ของเขา ฌอน และเดียนา[25] เดวิด เกลน รัสเซล ยังจัดแต่งเพลงเพิ่มเติมสำหรับซีรีส์นี้ด้วย[26] ฌอน และเดียนา ไคเนอร์ ได้รับเครดิตในฐานะผู้ประพันธ์เพลงร่วมกับ เควิน ไคเนอร์ สำหรับ เทลส์ออฟดิเอมไพร์[27]

ไคเนอร์เริ่มต้นด้วยตอนสั้นของอาโซกาสามตอน สำหรับอาโซกาที่ยังเยาว์วัยในหนังสั้นสองตอนแรก เควินต้องการย้อนกลับไปดูผลงานในช่วงแรก ๆ ของเขาสำหรับตัวละครในภาพยนตร์ เดอะ โคลน วอร์ส และตอนแรกของเวอร์ชันซีรีส์ เขาต้องกลับไปทบทวนการประพันธ์ดั้งเดิมเพราะเป็นเวลาเกือบ 16 ปีแล้วนับตั้งแต่เขาเริ่มทำงานกับตัวละครนี้ และให้ความสำคัญกับเครื่องเป่าลมไม้เป็นพิเศษ[28][29] สำหรับเรื่องสั้นที่สามของอาโซกานั้น ฌอน และเดียนาได้ดัดแปลงธีมอาโซกาของไคเนอร์เป็นรูปแบบใหม่ เพื่อแสดงถึงสถานะใหม่ของเธอในฐานะโรนิง เนื่องจากฟิโลนีได้รับอิทธิพลจากผลงานของสตูดิโอจิบลิและภาพยนตร์ญี่ปุ่นอื่น ๆ พวกเขาจึงศึกษาดนตรีของภาพยนตร์ซามูไรในตอนที่พวกเข้าสร้างเพลงนี้ในรูปแบบใหม่[25][30] ต่อมาพวกเขาได้ขยายแนวคิดโรนิงนี้และอิทธิพลของญี่ปุ่นในเพลงของ อาโซกา[31][32] ผู้แต่งไม่ได้พยายามที่จะนำอิทธิพลของญี่ปุ่นมาใช้ซ้ำสำหรับเพลงสั้นของดูกู แต่เควินรู้สึกว่าความรู้สึกอ่อนไหวเหล่านั้นบางส่วนถูกส่งต่อ เนื่องจาก จอห์น วิลเลียมส์ ผู้แต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส ไม่ได้สร้างธีมสำหรับดูกู ครอบครัวไคเนอร์จึงสร้างธีมใหม่ที่แสดงถึงการตกสู่ด้านมืดของพลัง เพลงจะค่อย ๆ มืดมืนขึ้นในตลอดสั้นทั้งสามตอน เมื่อ แยดเดิลติดตามดูกูในตอนสั้นตอนสุดท้ายของเขา พวกเขาได้นำเพลงสังเคราะห์บางส่วนที่พวกเขาใช้ในซีซันสุดท้ายของ เดอะ โคลน วอร์ส พร้อมกับงานร้อง "แบบทดลอง" บางส่วนกลับมาใช้อีกครั้ง[28][29]

วอร์ต ดิสนีย์ รีคอร์ดส์ ปล่อยอัลบั้มเพลงประกอบ เทลส์ออฟเดอะเจได แบบดิจิทัลเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2022 พร้อมกับการฉายซีรีส์รอบปฐมทัศน์ทาง ดิสนีย์+ เพลงทั้งหมดประพันธ์โดย เควิน ไคเนอร์:[33]

Tales of the Jedi (Original Soundtrack)
ลำดับชื่อเพลงยาว
1."Birth of Ahsoka"1:33
2."Ahsoka's Village"2:47
3."Sanctity of Life"2:45
4."Tiger"2:19
5."The Bond"2:33
6."Ahsoka Returns"2:59
7."A Real Test"3:28
8."Let's Go Again"2:19
9."Training Pays Off"1:36
10."Secret Mourner"2:10
11."No One Is Safe"4:13
12."The Inquisitor"3:45
13."Ahsoka Is Ready"1:13
14."Dooku Arrives"2:44
15."The Kidnappers"2:34
16."Soldiers Are Here"4:52
17."No More Suffering"2:24
18."Murder Case"2:25
19."Mystery in Raxus"2:09
20."Dooku Investigates"3:10
21."Dooku Contemplates"2:33
22."Qui-Gon and the Sith Lord"4:59
23."Flight Into Darkness"4:04
24."Dooku vs. Yaddle"3:16
25."Dooku's Fall"2:45
ความยาวทั้งหมด:1:11:14

ใกล้เคียง

สตาร์บัคส์ สตาร์ วอร์ส สตาร์ เทรค สตาร์อัลไลแอนซ์ สตาร์ วอร์ส (ภาพยนตร์) สตาร์ทอัพ (ละครโทรทัศน์) สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ พ.ศ. 2551) สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง สตาร์ วอร์ส: ทีมโคตรโคลนมหากาฬ สตาร์ชิปเอนเตอร์เทนเมนต์

แหล่งที่มา

WikiPedia: สตาร์_วอร์ส:_เทลส์ https://www.mediaplaynews.com/stranger-things-stil... https://www.mediaplaynews.com/barbarian-andor-top-... https://web.archive.org/web/20221107225731/https:/... https://web.archive.org/web/20221101232921/https:/... https://web.archive.org/web/20221101114439/https:/... https://web.archive.org/web/20221109035829/https:/... https://web.archive.org/web/20221104193146/https:/... https://web.archive.org/web/20230109170102/https:/... https://web.archive.org/web/20230226043325/https:/... https://www.slashfilm.com/1068014/star-wars-tales-...