รูปแบบของโครงการ ของ สถานีคลองบางไผ่

ที่นั่งภายในขบวนรถไฟฟ้า
  • เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit)
  • ทางวิ่ง ช่วงคลองบางไผ่-เตาปูน และดาวคะนอง-ราษฎร์บูรณะ เป็นแบบยกระดับ สูงประมาณ 17-19 เมตรจากผิวถนน เพื่อให้สามารถข้ามผ่านสะพานลอยคนข้ามถนน, สะพานลอยรถยนต์ และสะพานลอยกลับรถได้ มีตอม่ออยู่กลางถนน ระยะห่างตอม่อสูงสุด 40 เมตร เพื่อลดผลกระทบต่อการจราจรทั้งในระหว่างก่อสร้างและเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ตอม่อมีลักษณะโปร่งบาง, สวยงาม, ไม่เทอะทะ และไม่ปิดบังอาคารบริเวณริมถนน[8] ส่วนช่วงรัฐสภา - สำเหร่ เป็นแบบใต้ดิน ส่วนใหญ่เป็นอุโมงค์คู่ตีขนานตลอดทาง ยกเว้นช่วงที่มีเนื้อที่จำกัดและมีประชาชนอาศัยหนาแน่นจะเป็นอุโมงค์เดี่ยวซ้อนกัน
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (standard guage) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ[7]
  • ตัวรถใช้ระบบรถไฟฟ้าที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพได้เซ็นต์สัญญาว่าจ้าง มารุเบนิ และ โตชิบา เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาขบวนรถไฟฟ้า โดยได้ทำการผลิตจากโรงงาน J-TREC ในโยโกฮามะ ประเทศญี่ปุ่น [9] มีทั้งหมด 63 ตู้ 21 ขบวน ต่อพ่วงแบบ 3 ตู้ ต่อ 1 ขบวนและสามารถเพิ่มได้สูงสุด 6 ตู้ ต่อ 1 ขบวนในอนาคต[10] โดยมีความจุประมาณ 320 คนต่อตู้[8] สามารถรองรับผู้โดยสารได้ไม่น้อยกว่า 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง[7]
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ โดยรองรับการเดินรถทั้งแบบกึ่งอัตโนมัติโดยมีผู้ควบคุมประจำการ (Semi-automated Operation: STO) และแบบอัตโนมัติโดยไม่มีผู้ควบคุมประจำการ (Unattended Train Operation :UTO) และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ เช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน[7]

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงทั้งหมดสองแห่ง ได้แก่ศูนย์ซ่อมบำรุงคลองบางไผ่ ตั้งอยู่บริเวณถนนกาญจนาภิเษก ในพื้นที่ตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ใกล้กับสถานีคลองบางไผ่ และศูนย์ซ่อมบำรุงครุใน ตั้งอยู่บริเวณถนนสุขสวัสดิ์ ในพื้นที่ตำบลบางพึง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ระบบเดินรถทั้งระบบมีศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางอยู่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงคลองบางไผ่

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีอาคารจอดแล้วจร (Park and Ride) ทั้งหมด 6 แห่ง ประกอบด้วยอาคารที่เปิดให้บริการแล้ว 4 แห่ง ได้แก่สถานีคลองบางไผ่ (ภายในบริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงคลองบางไผ่) สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีบางรักน้อย-ท่าอิฐ และสถานีแยกนนทบุรี 1 (ด้านหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์) [7] และอีกสองแห่งในอนาคต ได้แก่สถานีบางปะกอก และสถานีราษฎร์บูรณะ

สถานี

มีทั้งหมด 33 สถานี แบ่งเป็นสถานียกระดับ 23 สถานี (คลองบางไผ่ - เตาปูน/ดาวคะนอง - ครุใน) มีความยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 18 เมตร รูปแบบชานชาลากลางมีประตูกั้นชานชาลาความสูงแบบ Half-Height ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด สถานีโดยรวมมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน และสถานีใต้ดิน 10 สถานี (รัฐสภา - สำเหร่) มีความยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 20 เมตร มีประตูกั้นชานชาลาแบบเต็มความสูงทุกสถานี ออกแบบให้มีความคงทนแข็งแรงรองรับต่อการทรุดตัวของผิวดิน และรองรับต่อแรงสั่นสะเทือนหากเกิดเหตุแผ่นดินไหวโดยไม่เกิดความเสียหายต่อโครงสร้าง ทางเข้าสถานีถูกออกแบบให้มีความสูงจากผิวดินประมาณ 1 เมตรเพื่อรองรับต่อเหตุการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยวัดจากสถิติความสูงที่สูงที่สุดของเหตุการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร สถานีทั้งหมดของโครงการได้รับการออกแบบตามมาตรฐาน NFPA 101 และ NFPA 130 ที่เน้นในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ความสะดวกสบายของผู้โดยสาร ผู้สัญจรไปมา ผู้อยู่อาศัยบริเวณสถานี รวมถึงการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไว้คอยให้บริการ อาทิ ลิฟต์, บันไดเลื่อน และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีกรุงเทพ สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่