การวิจัยไวรัสโคโรนา ของ สถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่น

ในปี พ.ศ. 2548 กลุ่มวิจัยซึ่งนักวิจัยจากสถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่นมีส่วนร่วม ได้ตีพิมพ์งานวิจัยเกี่ยวกับต้นกำเนิดของไวรัสโคโรนาโรคซาร์ส ซึ่งค้นพบว่าค้างคาวสกุล ค้างคาวมงกุฎ ในจีนนั้นเป็นแหล่งรังโรคตามธรรมชาติของไวรัสโคโรนาที่คล้ายคลึงกับโรคซาร์ส (SARS-like)[9] งานวิจัยได้ทำต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี โดยนักวิจัยจากสถาบันได้เก็บตัวอย่างค้างคาวมงกุฎ นับพันตัวอย่างในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศจีน โดยแยกลำดับของสารพันธุกรรมของไวรัสจากค้างคาวได้มากกว่า 300 ลำดับ[10]

ในปี พ.ศ. 2558 ทีมงานนานาชาติซึ่งรวมถึงนักวิทยาศาสตร์สองคนจากสถาบันได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยว่า ประสบความสำเร็จสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสโคโรนาจากค้างคาว (SHC014-CoV) ในเซลล์เฮลา (HeLa) ได้ ทีมวิจัยอ้างว่าได้สร้างไวรัสลูกผสม ซึ่งประกอบไปด้วยไวรัสโคโรนาจากค้างคาวกับไวรัสโรคซาร์ส ซึ่งได้รับการดัดแปลงให้ก่อโรคที่เกิดในมนุษย์ ขึ้นในหนูและเซลล์เลียนแบบระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ (MIMIC) และไวรัสไฮบริดนั้นสามารถติดเชื้อในเซลล์ของมนุษย์ได้[11][12]

ในปี พ.ศ. 2560 ทีมจากสถาบันประกาศว่าไวรัสโคโรนาที่พบในค้างคาวมงกุฎในถ้ำในมณฑลยูนนานนั้น มีชิ้นส่วนทั้งหมดของรหัสพันธุกรรมของไวรัสโรคซาร์ส ทีมที่ใช้เวลาห้าปีเก็บตัวอย่างค้างคาวในถ้ำได้สังเกตเห็น การตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้านแห่งหนึ่งห่างออกไปเพียงหนึ่งกิโลเมตร และได้เตือนว่า "มีความเสี่ยงของการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไปสู่ผู้คนและอุบัติการณ์ของโรคที่คล้ายกับโรคซาร์ส"[10][13]

ในปี พ.ศ. 2561 เอกสารจากทีมสถาบันรายงานผลการศึกษาทางวิทยาเซรุ่มของตัวอย่างจากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้ถ้ำที่อาศัยของค้างคาวเหล่านี้ (ใกล้กับตำบลซีหยาง (夕阳乡) ในเขตจินหนิง เมืองคุนหมิง ยูนนาน) จากรายงานนี้พบว่าจากผู้อาศัยในพื้นที่ทั้งหมด 218 คน มี 6 คนที่มีแอนติบอดีต่อไวรัสโคโรนาจากค้างคาวในตัวอย่างเลือดของพวกเขา ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นไปได้ในการแพร่เชื้อจากค้างคาวสู่คน[14]

ใกล้เคียง

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ สถาบันการบินพลเรือน สถาบันวิทยาลัยชุมชน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย สถาบันพระบรมราชชนก สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: สถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่น http://www.whiov.ac.cn/jggk_105204/xrld/201312/t20... http://www.whiov.ac.cn/tzgg_105342/202002/t2020021... http://english.whiov.cas.cn/ http://english.whiov.cas.cn/About_Us2016/Administr... http://english.whiov.cas.cn/About_Us2016/History20... http://english.whiov.cas.cn/Home2016/ http://english.whiov.cas.cn/News/Events/201502/t20... http://pr.whiov.cas.cn/ //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16195424 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26552008